การฝึกสติเพื่อแก้ปัญหาความเครียดในสังคมปัจจุบัน

Main Article Content

พระสุรเชษฐ์ อิทธิเตโช
พระครูพิศาลสารบัณฑิต

บทคัดย่อ

บทความวิชาการนี้เป็นการนำเสนอ การฝึกสติเพื่อแก้ปัญหาความเครียดในสังคมปัจจุบัน  ความเครียดเป็นสภาวะที่กดดันบีบคั้นทางร่างกายและจิตใจก่อให้เกิดความเป็นทุกข์   ความเครียดจำแนกออกเป็น 2 ประเภท คือ ความเครียดทางร่างกายและความเครียดทางจิตใจ โดยมีสาเหตุมาจากภายใน คือ จิตใจและสาเหตุภายนอก คือ สังคม สิ่งแวดล้อม ปัจจัย 4 การทำงาน ภาระหน้าที่ ครอบครัว การปรับตัว และความสัมพันธ์ที่ไม่ดี เป็นต้น สภาพความเครียดของคนในสังคมมาจากสภาพแวดล้อมภายนอก ได้แก่ สิ่งที่เป็นผลกระทบภายนอก และสภาพภายใน คือ จิตใจ จริตนิสัย  ส่วนปัญหาที่เกิดจากความเครียดจำแนกออกเป็น 4  ส่วน คือ  1) ปัญหาความเครียดทางร่างกาย คือ ความเครียดที่มีผลต่อร่างกาย เช่น ประสาท หัวใจ หลอดเลือด  กระเพาะอาหาร และระบบหายใจ เป็นต้น  2) ปัญหาความเครียดทางอารมณ์ เช่น ความวิตกกังวล  ซึมเศร้า ท้อแท้ ก้าวร้าว เกลี้ยวกราด  นอนไม่หลับ เป็นต้น  3) ปัญหาความเครียดทางจิตใจ เช่น คิดในทางร้าย  คิดกังวลล่วงหน้า โกรธง่าย เป็นต้น  4) ปัญหาความเครียดทางพฤติกรรม เช่น มีพฤติกรรมก้าวร้าว พฤติกรรมสุ่มเสี่ยง เช่น กินยาระงับประสาทเป็นประจำ สูบบุหรี่ ดื่มเหล้า และก่ออาชญากรรม เป็นต้นแนวทางการแก้ปัญหาความเครียดนั้น แก้ด้วยการฝึกสติตามหลักสติปัฏฐาน 4 ได้แก่           1) กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน การฝึกสติในรูปของการฝึกลมหายใจ ฝึกสติกับอิริยาบถหลักอิริยาบถย่อย ฝึกสติด้วยการพิจารณาสิ่งปฏิกูล พิจารณาธาตุในร่างกาย  2) เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน คือ การฝึกสติกำหนดความรู้สึกว่าความเครียดเป็นเพียงอาการที่ปรากฏ ไม่ใช่เราเป็นผู้เครียด 3) จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน คือ การฝึกสติกำหนดรู้ลักษณะของจิต เมื่อความเครียดเกิดในจิตก็กำหนดรู้ลักษณะของความเครียด ไม่ใช่จิตหรือเราเป็นผู้เครียด 4) ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน คือ การฝึกให้จิตใคร่ครวญความเครียดในฐานะที่เป็นสภาวธรรมที่เกิดขึ้น มีความไม่เที่ยง เป็นทุกข์และเป็นอนัตตา,  ความเครียดก็เป็นเพียงสภาวธรรม ไม่ใช่เราเป็นผู้เครียด เมื่อฝึกสติตามแนวทางสติปัฏฐาน 4 แล้ว จะสามารถแก้ปัญหาความเครียดได้ ทั้งความเครียดที่เกิดขึ้นเฉพาะหน้าและความเครียดที่เกิดขึ้นระยะยาวได้ 


 

Article Details

บท
Articles

References

กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. (2546). ความเครียดของคนไทย. กรุงเทพฯ: บียอนด์ พับลิสซิ่ง,

______. (2541). คู่มือคลายเครียดด้วยตนเอง. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

______. (2548).ความเครียดของคนไทยการศึกษาระดับชาติปี 2546. กรุงเทพฯ : บียอนด์ พับลิสซิ่ง,

______. (2540). คู่มือคลายเครียด. กรุงเทพฯ: กรมสุขภาพจิต,

กลุ่มสถิติแรงงาน สำนักสถิติเศรษฐกิจและสังคม สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2558). การสำรวจสุขภาพจิต (ความสุข) คนไทย สิงหาคม พ.ศ. 2558. กรุงเทพฯ: สำนักงานสถิติแห่งชาติ,

เกษม ตันติผลาชีวะ. (2544). การบริหารความเครียดและสุขภาพจิต. นนทบุรี : สนุกอ่าน,

เจษฎา คูงามมาก. (2555). “ความเครียดในการทางานของอาจารย์มหาวิทยาลัยรัฐ”. บัณฑิตวิทยาลัย : สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์,

เทพวัลย์ สุชาติ. (2530). “ปัจจัยที่สัมพันธ์กับความเครียดของนักสังคมสงเคราะห์ทางการแพทย์”. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหิดล,

นุชรัตน์ สิริประภาวรรณ. (2552).“ปัจจัยที่มีผลต่อความเครียดในการทางานของผู้พิพากษา ในเขตกรุงเทพมหานคร”.บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์,

พระธรรมปฎก [ป.อ.ปยุตฺโต]. (2542). สัมมาสมาธิ สมาธิแบบพุทธ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ธรรมสภา,

วิภาพร สิทธิสาตร์และสุชาดา สวนนุ่ม. (2550). “พฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุในชุมชนเขตความรับผิดชอบของสถานีอนามัยบ้านเสาหิน ตำบลวัดพริก อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก” วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีพุทธชินราช สถาบันพระบรมราชชนก : สานักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข,

ศศิณี ศรีชานิ. (2547). “ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความเครียดในการปฏิบัติงานของพนักงานบริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจีเนี่ยริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จากัด [มหาชน]”.บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยศรีปทุม,

สวามินี ศรีโพธิ์. (2549). “ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อความเครียดในการปฎิบัติงานของพนักงาน : ศึกษากรณี บริษัทหลักทรัพย์ ไซรัส จากัด [มหาชน]”. บัณฑิตวิทยาลัย : วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา,

สมฤดี ราษฎร์อนุกูล. (2547). “ปัจจัยที่มีผลต่อความเครียดในการปฏิบัติงานของพนักงาน ธนาคารทหารไทยจำกัด [มหาชน]”. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์,

อุษา จารุสวัสดิ์. (2541). จิตวิทยาครอบครัว. เชียงใหม่ : สันติภาพการพิมพ์,