การศึกษาความสัมพันธ์ของอาหาร 4 ในสัมมาทิฏฐิสูตร ต่อพัฒนาการของมนุษย์

Main Article Content

พระธงชัย โกวิโท
บุญส่ง สินธุ์นอก

บทคัดย่อ

บทความวิชาการนี้เป็นการนำเสนอแนวคิดอาหาร 4 ในสัมมาทิฏฐิสูตรนั้นประกอบด้วย 1. กวฬิงการาหาร อาหาร คือ คำข้าวและสิ่งที่มนุษย์ต้องดื่มกินหรือรับประทานเพื่อประโยชน์ต่อการเจริญเติบโตของร่างกาย 2. ผัสสาหาร อาหาร คือ ผัสสะ ได้แก่ การกระทบกันของอายตนะภายนอกและอายตนะภายใน 3. มโนสัญเจตนาหาร อาหาร คือ มโนเจตนา ได้แก่ ความจงใจ และ 4. วิญญาณหาร คือ วิญญาณ ได้แก่ การรับรู้ ทั้ง 3 ข้อหลังที่กล่าวมานี้ เป็นอาหารที่เกิดขึ้นจากการสัมผัสเรียนรู้ผ่าน ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ซึ่งสัมพันธ์ต่อพัฒนาการทางสติปัญญา ด้านอารมณ์ ด้านพันธุกรรม และด้านสังคม และอาหาร 4 ในสัมมาทิฏฐิสูตรเมื่อเรียนรู้และเข้าใจในหลักการเหล่านี้ก็จะทำให้มนุษย์เข้าใจหลักการปฏิบัติตัวและเข้าใจในบริบทของตัวเองและสังคมนั่นหมายถึงพัฒนาการด้านสติปัญญาทางสังคม ในการอยู่ร่วมกันต่อกฎเกณฑ์ วัฒนธรรม ประเพณี กฎหมาย เพื่อให้ชีวิตมีความสุข เกิดความรัก ความสามัคคี และความสงบสุขในสังคมขึ้น ดังนั้น อาหาร 4 ในสัมมาทิฏฐิสูตรจึงครอบคลุมชีวิตมนุษย์ทั้งระบบ การศึกษาและทำความเข้าใจต่อการบริโภคจะทำให้มนุษย์รู้จักในการจัดระบบระเบียบในการดำรงชีวิต อาหาร 4 ในสัมมาทิฏฐิสูตรจึงมีความสัมพันธ์อย่างยิ่งโดยเฉพาะต่อพัฒนาการของมนุษย์


 

Article Details

บท
Articles

References

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย. ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ : มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต), (2551). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ฉบับประมวลศัพท์. พิมพ์ครั้งที่ 11. กรุงเทพฯ: บริษัท เอส อาร์ พริ้นติ้ง แมสโปรดักส์ จำกัด.

,(2551). ธรรมกับการพัฒนาชีวิต, พิมพ์ครั้งที่ 3, กรุงเทพฯ : มูลนิธิพุทธธรรม

พระโมคคัลลานะเถระ, (2512). คัมภีร์อภิธานัปปทีปิกา, แปลโดยพระมหาสมปอง มุทิโต,

กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ธรรมสภา

พระสัทธัมมโชติกะ ธัมมาจริยะ, (2530).ปรมัตถโชติกะ, พิมพ์ครั้งที่ 6,กรุงเทพฯ :มูลนิธิสัท

ธมมโชติกะ

พระครูภาวนาโพธิคุณ, (2557). ศีล 5 ที่ท่านยังไม่รู้จัก, ขอนแก่น: โรงพิมพ์คลังนานาวิทยา.

สมัคร บุราวาศ, (2552). พุทธปรัชญามองพุทธศาสนาด้วยทรรศนะทางวิทยาศาสตร์, พิมพ์

ครั้งที่ 4, กรุงเทพฯ : ศยาม

อัจฉรา ดลวิทยาคุณ, (2550). พื้นฐานโภชนาการ, กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์.

Frankenburg WK, (1994). Preventing Development Delay: is developmental

screen sufficient? Pediatrics.

H. Wagner & K.Silber, (2004). Instant Notes Physiological Psychology, 2ed, (BIOS

Scientific Publishers : New York.