การวิเคราะห์หลักธรรมาภิบาลที่ปรากฏในจักกวัตติสูตร

Main Article Content

พระครูสุวรรณรัตนสุนทร (ญาณวโร)
พระครูพิศาลสารบัณฑิต

บทคัดย่อ

บทความวิชาการนี้เป็นการนำเสนอ หลักธรรมาภิบาลในจักกวัตติสูตร และวิเคราะห์หลักธรรมาภิบาลที่ปรากฏในจักกวัตติสูตร ธรรมาภิบาลนั้นมีทั้งส่วนที่เป็นกระบวนการในการบริหารและส่วนที่เป็นพฤติกรรมส่วนบุคคล หลักธรรมาภิบาลที่ปรากฏในจักกวัตติสูตรเป็นธรรมาภิบาลในด้านพฤติกรรม สอดคล้องกับหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาที่มุ่งหมายในการใช้หลักธรรมในระดับปัจเจก โดยความประพฤติส่วนตัวของพระเจ้าจักรพรรดิ์มีผลต่อการปกครองอาณาจักร หากพระเจ้าจักรพรรดิปกครองโดยหลักธรรมแห่งจักรวรรดิวัตรนี้ บ้านเมืองก็สงบร่มเย็น แต่หากพระเจ้าจักรพรรดิไม่ประพฤติหรือไม่ตั้งอยู่ในหลักจักรวรรดิวัตร บ้านเมืองก็เสื่อมถอย การขาดจักรวรรดิวัตรซึ่งถือเป็นธรรมาภิบาลจึงส่งผลต่อบ้านเมือง การวิเคราะห์หลักธรรมาภิบาลที่ปรากฏในจักกวัตติสูตร พบว่า หากกล่าวถึงธรรมาภิบาลในแง่พฤติกรรมส่วนบุคคล ปรากฏธรรมาภิบาลในพระสูตรทั้ง 6 ข้อ ได้แก่ 1) หลักนิติธรรม 2) หลักคุณธรรม 3) หลักความโปร่งใส 4) หลักการมีส่วนร่วม 5) หลักความรับผิดชอบ 6) หลักความคุ้มค่า แต่หากกล่าวถึงธรรมาภิบาลในแง่กระบวนการหรือระบบการปกครอง  ธรรมาภิบาลที่ปรากฏในจักกวัตติสูตรมีความสอดคล้องในระดับน้อย มีเพียงธรรมาภิบาลด้านหลักคุณธรรมเท่านั้นที่เด่นชัดที่สุด

Article Details

บท
Articles

References

เกษม วัฒนชัย. (2546).ธรรมภิบาล กับบทบาทของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ,

บวรศักดิ์ อุวรรณโณ. (2542). การสร้างธรรมาภิบาล Good governanceในสังคมไทย. กรุงเทพฯ: วิญญูชน,

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต). (2556). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลศัพท์ (ชำระ-เพิ่มเติม- ช่วงที่ 1/ยุติ). พิมพ์ครั้งที่ 19. กรุงเทพฯ: ธรรมสภา,

______. (2546). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม. พิมพ์ครั้งที่ 12. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย,

พระมหาโพธิวงศาจารย์ (ทองดี สุรเตโช, ราชบัณฑิต). (2548). ศัพท์วิเคราะห์. กรุงเทพฯ: เลี่ยงเชียง,

พระมหายุทธนา นรเชฏฺโฐ. (2553). แนวคิดพระพุทธศาสนาเพื่อสังคมในจักกวัตติสูตร. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย,

พระราชกฤษฎีกา ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546. ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 120 ตอนที่ 100ก.

พิพัฒน์ พสุธารชาติ. (2553). รัฐ กับศาสนา. กรุงเทพฯ: ศยาม,