แนวคิดตามหลักพุทธธรรมของพระพรหมคุณาภรณ์และพุทธทาสภิกขุ นำสันติสุขในพื้นที่ชายแดนใต้

Main Article Content

พระธวัช จังหวัดมุณี
ไพบูลย์ ดวงจันทร์
อุทัย เอกสะพัง
สมิทธ์ชาต์ พุมมา

บทคัดย่อ

งานวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวคิดการประยุกต์ใช้หลักธรรมทางพระพุทธศาสนาของพระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตโต) และพุทธทาสภิกขุที่เกี่ยวกับสร้างสันติสุขในพื้นที่ชายแดนใต้เป็นแนวปฏิบัติ โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพและการเก็บข้อมูลภาคสนามโดยใช้แบบสอบถามแบบสัมภาษณ์ และสรุปอภิปรายผลแบบพรรณนาเชิงวิเคราะห์ คุณค่าและความรู้แบบหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาของพระพรหมคุณาภรณ์และพุทธทาสภิกขุสามารถมีส่วนนำสันติสุขมาสู่พื้นที่ชายแดนใต้ได้โดยสอดคล้องและสามารถประยุกต์ให้เข้ากับแนวคิดการเข้าใจ เข้าถึงและพัฒนา อันประกอบด้วยพยายามเข้าใจและอธิบายระหว่างหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาที่เป็นคำสั่งสอนเดิมที่มีมาในเรื่องเกี่ยวกับสันติสุขเช่น พรหมวิหาร4 อริยสัจ4 สังคหวัตถุ4 และคำสอนที่พระพรหมคุณาภรณ์และพุทธทาสภิกขุได้เคยรจนาเป็นข้อเขียนและเทศนาอบรมสั่งสอนในประเด็นเกี่ยวกับการอยู่ร่วมกันท่ามกลางความหลากหลายทางวัฒนธรรมและการเสริมสร้างสันติสุขในพื้นที่ชุมชนที่มีความขัดแข้งซึ่งสอดคล้องกับหลักการอยู่ร่วมกันอย่างสันติคำสอนของศาสนาอิสลาม ซึ่งหลักพุทธธรรมของพระพรหมคุณาภรณ์เข้าใจหลักธรรมพรหมวิหาร 4 เมตตา, กรุณา, มุทิตา, อุเบกขา, เข้าถึงพรหมวิหาร 4 พัฒนาพรหมวิหาร 4 และ พุทธธรรมของพุทธทาสภิกขุเข้าใจอริยสัจสี่ 4 ทุกข์, สมุทัย, นิโรธน์, มรรค เข้าถึงอริยสัจสี่ 4 พัฒนาอริยสัจสี่ ในพื้นที่ชายแดนใต้ ปรากฏได้ว่าหลักธรรมดังกล่าวสามารถเข้าใจเข้าถึง พัฒนาและประยุกต์ใช้ให้เกิดการยอมรับในกลุ่มคนที่มีความแตกต่างทางวัฒนธรรมและความเชื่อได้เป็นอย่างดีเพราะเป็นหลักธรรมพื้นฐานในการดำเนินชีวิตที่มิได้ขัดแย้งต่อหลักธรรมคำสอนของศาสนาใดแต่เป็นการใช้แนวทางการพัฒนาและการใช้ชีวิตอยู่ร่วมกันอย่างสันติโดยมุ่งหวังให้ชนทุกกลุ่มมีระดับวิถีการดำเนินชีวิตที่ดีขึ้นโดยปราศจากความขัดแย้งหรือสามารถแก้ไขปัญหาความขัดแย้งทุกรูปแบบโดยใช้สันติสุข

Article Details

บท
Research Articles

References

พุทธทาสภิกขุ. (2537 ก). ประณิธาน 3 ประการของท่านพุทธทาส. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์สุขภาพใจ.

พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต). (2546). พุทธธรรม. กรุงเทพมหานคร: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

มาริสา พึ่งบุญพระ, ชัยณรงค์ กิตินารถอินทราณี. (2563). ความจริงจากเด็ก 3 จังหวัดชายแดนใต้.แหล่งอ้างอิง: https://www.bangkokbiznews.com/social/862469 สืบค้นเมื่อวันที่ 8/3/65

สมบูรณ์ บุญฤทธิ์, พระมหาวิเชียร วชิรธมฺโม. (2549) การศึกษาผลกระทบต่อการปฏิบัติศาสนกิจของพระภิกษุ สามเณรในจังหวัดยะลา ปัตตานี และนราธิวาส จากเหตุการณ์ความไม่สงบใน ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้. ทุนอุดหนุนการวิจัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

อมรา พงศาพิชญ์. (2545). ความหลากหลายทางวัฒนธรรม (กระบวนทัศน์และบทบาทในประชาสังคม). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. พิมพ์ครั้งที่ 3.