การจัดการระบบนิเวศวิถีพุทธแบบบูรณาการเชิงระบบ

Main Article Content

พระครูสันติบุญญาทร กตปุญฺโญ
พระครูจิรธรรมธัช

บทคัดย่อ

บทความวิชาการนี้เป็นการนำเสนอ การจัดการระบบนิเวศวิถีพุทธแบบบูรณาการเชิงระบบ พบว่า ระบบนิเวศ หมายถึง ระบบความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มสิ่งมีชีวิตและสิ่งไม่มีชีวิตที่อยู่ร่วมกันในอาณาบริเวณเดียวกัน โดยมีความสัมพันธ์กันอย่างเป็นระบบ  ท่ามกลางความหลากหลายทางชีวภาพและทางกายภาพ จำแนกระบบนิเวศตามลักษณะของการเกิดออกเป็น 2 ประเภท คือ ระบบนิเวศที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติและระบบนิเวศที่มนุษย์สร้างขึ้น หากจำแนกตามสภาพแบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ ระบบนิเวศทางด้านชีวภาพและระบบนิเวศทางด้านกายภาพ โดยองค์ประกอบของระบบนิเวศแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ 1) องค์ประกอบที่ไม่มีชีวิตประกอบด้วย กลุ่มอนินทรีย์วัตถุกลุ่มอินทรีย์วัตถุและสภาพแวดล้อมทางกายภาพ 2) องค์ประกอบที่มีชีวิต ประกอบด้วย ผู้ผลิต ผู้บริโภค ผู้ย่อยสลาย ปัญหาของระบบนิเวศเกิดจากกระบวนการทางธรรมชาติ และปัญหาที่เกิดจากการกระทำของมนุษย์ทั้งทางตรงและทางอ้อม ทำให้เกิดมลภาวะและความเสื่อมโทรมต่อระบบนิเวศ การจัดการระบบนิเวศแบบวิถีพุทธเชิงระบบ เป็นการบูรณาการจัดการความสัมพันธ์กับระบบนิเวศหลายรูปแบบ คือ ความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับมนุษย์ด้วยกัน ความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับสังคม ความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับสิ่งแวดล้อม ความสัมพันธ์ระหว่างความเชื่อวัฒนธรรม ประเพณี ค่านิยมและวิถีชีวิตกับระบบนิเวศ โดยมีกฎเกณฑ์และกติกาทางสังคมเป็นตัวควบคุม ทั้งในรูปของกฎหมายและศีลธรรม โดยสิ่งแวดล้อมทางสังคมก็จะเป็นตัวกำหนดลักษณะของการดำเนินชีวิตของสมาชิกในแต่ละสังคม โดยสมาชิกเป็นส่วนหนึ่งของสังคม มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์อันเป็นไปตามความต้องการของแต่ละสังคม และยังเป็นสิ่งแวดล้อมทางสังคมในระบบนิเวศทางสังคมเดียวกัน


 

Article Details

บท
Articles

References

กลุ่มเสขิยธรรม. (2535). พระกับป่าไม้ความจริงที่หายไป. กรุงเทพฯ : เม็ดทราย,

เกษม จันทร์แก้ว. (2545). การจัดการสิ่งแวดล้อมแบบผสมผสาน. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัย

เกษตรศาสตร์,

ณรงค์ เส็งประชา. (2541). มนุษย์กับสังคม. กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์,

เทพพร มังธานี, (2548).“การวิเคราะห์พุทธจริยศาสตร์เถรวาทในมหาสุบินชาดก”,

บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหิดล,

ดอกรัก มารอด. (2555). นิเวศวิทยาป่าไม้. กรุงเทพฯ : พิมพ์ที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์,

ประพันธ์ ศุภษร. (2542). พระวินัยกับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัย

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย,

สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ประยุทธ์ ปยุตฺโต). (2548). การพัฒนาที่ยังยืน. พิมพ์ครั้งที่ 82.

กรุงเทพฯ : มูลนิธิโกมลคีมทอง,

พระอินถนอม ศรีหาตา. (2557). “การสังเคราะห์กระบวนการการจัดการระบบนิเวศเพื่อ

การอนุรักษ์ป่าและสัตว์ป่าในภาคอีสาน”.บัณฑิตวิทยาลัย:มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

ประยูร วงศ์จันทรา. (2553). วิทยาการสิ่งแวดล้อม. บัณฑิตวิทยาลัย : สำนักพิมพ์

มหาวิทยาลัยมหาสารคาม,

มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทยฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย,

ราชบัณฑิตยสถาน. (2546). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542. กรุงเทพฯ :

นานมีบุ๊คส์พับลิเคชั่นส์,

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม

แห่งชาติฉบับที่ ฉบับที่ 12 พ.ศ.2559-2564.

Harper R., (2002). The Measurement of Social in The United Kingdom. London

: Office for National Statistics,