ผลการใช้แนวการสอนภาษาธรรมชาติเพื่อเสริมสร้างการพัฒนาทางด้านการฟังและการพูดของเด็กปฐมวัย

Main Article Content

วราภรณ์ สุทธิวงศ์
นนทชนนปภพ ปาลินทร
เจริญวิชญ์ สมพงษ์ธรรม

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) ศึกษาผลการใช้การสอนภาษาธรรมชาติเพื่อเสริมสร้างพัฒนาการทางด้านการฟังและการพูดของเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปที่ 2 และ 2) เพื่อเปรียบเทียบพัฒนาการของเด็กปฐมวัยก่อนและหลัง การสอนภาษาธรรมชาติเพื่อเสริมสร้างพัฒนาการทางด้านการฟังและการพูดของเด็กปฐมวัย  กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ เด็กปฐมวัย ชาย-หญิง อายุระหว่าง 4-5 ปี ที่กำลังศึกษาอยู่ในชั้นอนุบาลปีที่ 2 ภาคเรียน  ที่ 2 ปีการศึกษา 2563 โรงเรียนบ้านนาเรือง อำเภอนาเยีย จังหวัดอุบลราชธานี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานีเขต 4 จำนวน 16 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) ใช้เวลาในการทดลองรวม 4 สัปดาห์ ในวันจันทร์ - วันศุกร์ วันละ 40 นาที  เวลา 09.20-10.00 น. เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนจัดประสบการณ์การเรียนรู้ตามแนวทางการสอนภาษาธรรมชาติ จำนวน 20 แผน และแบบทดสอบวัดความสามารถทางภาษาของเด็กปฐมวัย สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบความแตกต่างด้วยค่าทีแบบกลุ่มตัวอย่างไม่อิสระ ต่อกัน (dependent-samples t-test analysis) ผลการวิจัย พบว่า 1) พัฒนาการทางด้านฟังและการพูดของเด็กปฐมวัย หลังการจัดประสบการณ์โดยใช้แนวการสอนภาษาธรรมชาติสูงกว่าก่อนการจัดกิจกรรม 2) หลังการจัดประสบการณ์โดยใช้แนวการสอนภาษาธรรมชาติ เด็กปฐมวัยมีพัฒนาการทางด้านฟังและการพูดของเด็กปฐมวัยสูงขึ้นกว่าก่อนการจัดกิจกรรม อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05

Article Details

บท
Research Articles

References

กระทรวงศึกษาธิการ .(2560).หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ : คุรุสภาลาดพร้าว.

กุลยา ตันติผลาชีวะ.(2545). รูปแบบการเรียนการสอนปฐมวัย. กรุงเทพฯ : เอดิสันเพรสโปรดักส์

รติรัตน์ คล่องแคล่ว. (2551). ผลการจัดประสบการณ์ตามแนวทางภาษาแบบธรรมชาติที่มีต่อ ทักษะการพูดภาษาไทยของเด็กปฐมวัยไทย. บัณฑิตวิทยาลั : มหาวิทยาลัย ศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร.

วาโร เพ็งสวัสดิ์. (2551). วิธีวิทยาการวิจัย. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส น.

หรรษา นิลวิเชียร. (2535). ปฐมวัยศึกษาหลักสูตรและแนวปฏิบัติ. กรุงเทพฯ :โอเดียนสโตร์

อรุณี หรดาล, (2555). การศึกษาปฐมวัยกับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน : วิกฤตหรือโอกาส. วารสารศึกษาศาสตร์ มสธ. 5(2).54-62.

Bandura, Albert. (1997). Social Learning Theory. Engle woods Cliffs, N.J.:

Prentice -Hall.