การศึกษาการบริหารความเสี่ยงของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาอุบลราชธานี อำนาจเจริญ
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการบริหารความเสี่ยงของผู้บริหารสถานศึกษา 2) เปรียบเทียบการบริหารความเสี่ยงของผู้บริหารสถานศึกษา จำแนกตามวุฒิการศึกษา ประสบการณ์ทำงาน และขนาดของโรงเรียน 3) ศึกษาปัญหาและแนวทางการบริหารความเสี่ยงของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาอุบลราชธานี อำนาจเจริญ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้บริหารสถานศึกษาและข้าราชการครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาอุบลราชธานี อำนาจเจริญ จำนวน 432 คน ด้วยวิธีการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 40 ข้อ และ แบบสัมภาษณ์ผู้บริหารดีเด่น มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ .99 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่า t การทดสอบค่า F และการตรวจสอบความแตกต่างค่าเฉลี่ยรายคู่ด้วยวิธีของ Scheffe´
ผลการวิจัยพบว่า 1) การบริหารความเสี่ยงของผู้บริหารสถานศึกษา ในภาพรวมและรายด้านมีการบริหารความเสี่ยงอยู่ในระดับมาก โดยมีการบริหารความเสี่ยงในด้านความเสี่ยงด้านบริหารทั่วไปมากที่สุด รองลงมา คือ ด้านความเสี่ยงด้านบริหารบุคคล 2) ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นต่อการบริหารความเสี่ยงของผู้บริหารสถานศึกษา พบว่า ผู้บริหารสถานศึกษาและข้าราชการครูที่มีวุฒิการศึกษาต่างกัน มีประสบการณ์ทำงานต่างกัน โดยภาพรวมมีความคิดเห็นไม่แตกต่างกัน และมีขนาดของโรงเรียนต่างกัน โดยภาพรวมมีความคิดเห็นแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) ปัญหาและแนวทางการบริหารความเสี่ยงของผู้บริหารสถานศึกษา ปัญหาที่พบ คือ การจัดการเรียนการสอน งบประมาณไม่พอ บุคลากรขาดความรู้ด้านการเงินและพัสดุ ขาดบุคลากรที่สอนตรงเอก การส่งเสริมค่าตอบแทนและสวัสดิการ และด้านอาคารสถานที่ โดยแนวทางพัฒนา คือ ควรมีการบริหารหลักสูตรสถานศึกษา การส่งเสริมให้บุคลากรได้รับการอบรมพัฒนาความรู้ด้านต่างๆเพื่อสนับสนุนการปฏิบัติงาน ควรมีการสร้างขวัญและกำลังใจให้กับบุคลกรผู้ปฏิบัติงาน ให้ทุกฝ่ายมีส่วนร่วมในการบริหาร มีการวางแผนร่วมกันในพัฒนาสถานศึกษา และควรดำเนินการอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ
Article Details
References
กระทรวงศึกษาธิการ .( 2545). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติพุทธศักราช 2542 แก้ไข
เพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พุทธศักราช 2545. กรุงเทพมหานคร : บริษัทสยามสปอรต์
ซินดิเค จำกัด.
กรรณิการ์ ศิริรัตน์. (2563). การบริหารความเสี่ยงของโรงเรียนอนุบาลเอกชน จังหวัดน่าน
สังกัด สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดน่าน. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยพะเยา.
ขวัญแก้ว จันทรัตน์. (2562). การบริหารความเสี่ยงทางการศึกษาของผู้บริหารสถานศึกษา
สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายะลา เขต 3. บัณฑิตวิทยาลัย :
มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.
ณัฐธิญา ปัทมทัตตานนท์. (2553). การจัดการความเสี่ยงที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของ
สถานศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
ณัฐชา กลิ้งทะเล. (2561). การบริหารความเสี่ยงของโรงเรียนในกลุ่มตากสิน สังกัดสำนักงาน
เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 1. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัย
บูรพา.
นฤมล สอาดโฉม. (2550). งานบริหารความเสี่ยงกับเศรษฐกิจพอเพียง. วารสารบริหารธุรกิจ
นิด้า. (2). 50- 54.
ประกอบ กุลเกลี้ยง. (2550). รูปแบบการบริหารความเสี่ยงเพื่อป้องกันคอรัปชั่นใน
สถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยนเรศวร, พิษณุโลก.
พระเจษฎา ญาณิสฺสโร (บุญมาทัศ). (2561). แนวทางการบริหารความเสี่ยงของโรงเรียนพระ
ปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษา กลุ่ม 3. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัย
มหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย.
มงคล นันยา. (2558). การศึกษาความเสี่ยงด้านการบริหารงานวิชาการโรงเรียนมัธยมศึกษา
จังหวัดราชบุรี. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง.
ศิริรัตน์ พิมณาคุณ. (2560). การบริหารความเสี่ยงด้านการบริหารทั่วไปของโรงเรียนสังกัด
สำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษามัธยมศึกษา เขต 30. วารสารวิจัยมหาวิทยาลัย
ขอนแก่น (ฉบับบัณฑิตศึกษา), 5(3), 39.
สมชิต บรรทิต. (2556). การบริหารความเสี่ยงของผู้บริหารสถานศึกษา ในจังหวัดกระบี่
สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 13. บัณฑิตวิทยาลัย :
มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต.
เอกลักษณ์ ป้องกัน. (2560). การบริหารความเสี่ยงของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงาน
เขตราชภัฏอุบลราชธานี.
อนุสรณ์ แสงนิ่มนวล. (2550). การบริหารความเสี่ยง (risk Management). วารสาร
นักบริหาร, 27(3): 39 – 47.
Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research
Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.