ภาพลักษณ์วิทยาลัยสารพัดช่างอุบลราชธานีที่มีผลต่อ การตัดสินใจศึกษาต่อของนักศึกษา

Main Article Content

พรจันทร์ โขมพัฒน์
ประสิทธิ์ กุลบุญญา
ไพศาล พากเพียร

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพการตัดสินใจในการเข้าศึกษาต่อในวิทยาลัยสารพัดช่างอุบลราชธานีที่มีผลต่อการตัดสินใจศึกษาต่อของนักศึกษา และเพื่อหาแนวทางการส่งเสริมภาพลักษณ์วิทยาลัยสารพัดช่างอุบลราชธานีที่มีผลต่อการตัดสินใจศึกษาต่อของนักศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้  คือ  บุคลากรในวิทยาลัยสารพัดช่างอุบลราชธานี  นักศึกษาที่เข้าศึกษาต่อในประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.)  และนักศึกษาที่เข้าศึกษาต่อในประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ของวิทยาลัยสารพัดช่าง จำนวน 298 คน และกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 16 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นแบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์  สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ความถี่  ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และและใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1. สภาพการตัดสินใจในการเข้าศึกษาต่อในวิทยาลัยสารพัดช่างอุบลราชธานีที่มีผลต่อการตัดสินใจศึกษาต่อของนักศึกษา  โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก  (= 3.56) เมื่อพิจารณาด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดตามลำดับ คือ ด้านความเชื่อถือ (= 3.61) ด้านเลื่อมใสศรัทธา (= 3.56) และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านการยอมรับ (= 3.52)   ในด้านความเชื่อถือ พบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ผู้ที่จบการศึกษาจากวิทยาลัยสารพัดช่างอุบลราชธานีเป็นบัณฑิตที่มี ประสิทธิภาพเป็นที่ยอมรับของสังคม (= 3.60)   ด้านเลื่อมใสศรัทธา พบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ผู้ปกครองมีความภาคภูมิใจที่ส่งบุตรหลาน เข้ามาศึกษาในวิทยาลัยแห่งนี้ (= 3.74)  และด้านการยอมรับ พบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ นักศึกษาวิทยาลัยสารพัดช่างอุบลราชธานีมีการ ปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีแก่เยาวชน (= 3.70) 2. แนวทางการส่งเสริมภาพลักษณ์วิทยาลัยสารพัดช่างอุบลราชธานีที่มีผลต่อการตัดสินใจศึกษาต่อของนักศึกษา ด้านความเชื่อถือ พบว่า ควรส่งเสริมการจัดกรรมส่งเสริมพัฒนาผู้เรียนได้ให้ผู้เรียนมีบทบาทในการเรียนการสอน ควรส่งเสริมด้านบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถที่ถ่ายทอดความรู้และทักษะได้อย่างจริงจังด้านการยอมรับ ควรส่งเสริมการทำกิจกรรมร่วมกับชุมชนอย่างต่อเนื่อง ควรส่งเสริมการจัดการศึกษาให้มีประสิทธิภาพสอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงาน และด้านเลื่อมใสศรัทธา ควรสร้างความมั่นใจให้กับนักศึกษาเมื่อสำเร็จการศึกษาจะมีงานรองรับ  ควรส่งเสริมให้วิทยาลัยฯเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้และให้บริการแก่ชุมชนและบุคคลอื่นโดยทั่วไป ควรปลูกจิตสำนึกให้กับนักศึกษาถึงบทบาทการปฏิบัติตนและเป็นแบบอย่างที่ดีต่อสังคม


 

Article Details

บท
Research Articles

References

ตราจิตต์ เมืองคล้าย. (2556). ภาพลักษณ์ของมหาวิทยาลัยบูรพาตามทัศนะของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนสาธิต “พิบูลบำเพ็ญ” มหาวิทยาลัยบูรพา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยบูรพา,

เติมศักดิ คทวนิช. (2548). จิตวิทยาทั่วไป. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคซีน.

บุญใจ ศรีสถิตย์นรากูร. (2555). การพัฒนาและตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย : คุณสมบัติการวัดเชิงจิตวิทยา. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

บุญชม ศรีสะอาด. (2554). หลักการวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพฯ : สุวิริยาสาส์น,

ศุภาพิชญ์ ปังกระโทก. (2559). ภาพลักษณ์ของโรงเรียนพลูตาหลวงวิทยา สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดชลบุรี. บัณฑิตวิทยาลัย :มหาวิทยาลัยบูรพา.

มยุรา จันทวงศ์. (2553). ภาพลักษณ์: กรณีศึกษาโรงเรียนเทศบาลแหลมฉบัง 1 อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี. บัณฑิตวิทยาลัย :มหาวิทยาลัยบูรพา.

วราภรณ์ ชวพงษ์. (2552). รายงานการวิจัยเรื่อง ภาพลักษณ์ของมหาวิทยาลัยสงขลา

นครินทร์ ตามการรับรู้ ของชุมชนท้องถิ่นอําเภอหาดใหญ่. บัณฑิตวิทยาลัย :มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

สัมฤทธิ์ จำนงค์. (2557). ภาพลักษณ์องค์กรและนวัตกรรมที่ส่งผลต่อความภักดีของผู้ใช้บริการไปรษณีย์ด่วนพิเศษในประเทศในเขตกรุงเทพมหานคร. บัณฑิตวิทยาลัย :มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

Gregory, J.R., & Wiechmann, J.G. (1991). Marketing corporate image (3nd ed). U.S.a: Lincoln Wood, 1991.