บทบาทพรรคการเมืองที่มีผลต่อการตัดสินใจในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งในเขตเทศบาล เมืองอำนาจเจริญ จังหวัดอำนาจเจริญ

Main Article Content

ธนชาภา จันทวารา
ประสิทธิ์ กุลบุญญา
ไพศาล พากเพียร

บทคัดย่อ

 การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับการตัดสินใจของประชาชนต่อการดำเนินกิจกรรมของพรรคการเมืองที่มีผลต่อการตัดสินใจในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งในเขตเทศบาลเมืองอำนาจเจริญ จังหวัดอำนาจเจริญ และเพื่อหาแนวทางการพัฒนาบทบาทพรรคการเมืองที่มีผลต่อการตัดสินใจในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งในเขตเทศบาลเมืองอำนาจเจริญ จังหวัดอำนาจเจริญ  กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ประชาชนในเขตเทศบาลเมืองอำนาจเจริญ จังหวัดอำนาจเจริญ ที่มีอายุ 18 ปี บริบูรณ์ขึ้นไป จำนวน 392 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่า (t-Test) การทดสอบการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) และใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า ความคิดเห็นเกี่ยวกับบทบาทพรรคการเมืองที่มีผลต่อการตัดสินใจในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งในเขตเทศบาลเมืองอำนาจเจริญ จังหวัดอำนาจเจริญ โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง (= 3.41) เมื่อพิจารณาด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดตามลำดับ คือ ด้านการสร้างผู้นำและอุดมการณ์ทางการเมือง (= 3.54) ด้านการรวบรวมข้อมูลข่าวสารและการประชาสัมพันธ์และคุณลักษณะของผู้สมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (= 3.45) ด้านสนับสนุนการเลือกตั้ง (= 3.32) และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านการเผยแพร่ความรู้และส่งเสริมการมีส่วนร่วมทางการเมือง (= 3.26) ผลการทดสอบสมมติฐานการวิจัย สถานภาพและรายได้ ไม่ พบความแตกต่างกันซึ่งเป็นการปฏิเสธสมมติฐานที่ตั้งไว สวนเพศ อายุ  การศึกษาและอาชีพ พบความแตกต่างกันเป็นการยอมรับสมมติฐานที่ตั้งไว้


          แนวทางการพัฒนาบทบาทพรรคการเมืองที่มีผลต่อการตัดสินใจในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งในเขตเทศบาลเมืองอำนาจเจริญ จังหวัดอำนาจเจริญ  พบว่า ด้านการสร้างผู้นำและอุดมการณ์ทางการเมือง ควรมีการปรับปรุงนโยบายให้สามารถปฏิบัติและเห็นผลสำเร็จได้จริง ด้านการเผยแพร่ความรู้และส่งเสริมการมีส่วนร่วมทางการเมือง ควรให้พรรคการเมืองนำเสนอนโยบายเกี่ยวกับพรรคการเมืองนั้น ๆ เพื่อให้ประชาชนทราบข้อมูลด้านสนับสนุนการเลือกตั้ง ควรมีการส่งเสริมบทบาทพรรคการเมืองโดยมีการประกาศ และมีขั้นตอนโปร่งใสในการสรรหาสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่มีความรู้ ความสามารถ มีความตั้งใจในการทำงานเพื่อประชาชนอย่างแท้จริง และด้านการรวบรวมข้อมูลข่าวสารและการประชาสัมพันธ์และคุณลักษณะของผู้สมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ควรมีการเผยแพร่นโยบายและกิจกรรมของพรรคการเมืองเพื่อให้ประชาชนได้ทราบข้อมูลเพื่อเป็นประโยชน์ทั้งสองฝ่าย และไม่ควรตั้งนโยบายไวสูงจนเกิดความเป็นจริงที่จะสามารถทำได้ ควรให้พรรคการเมืองให้ข้อมูลข่าวสารหรือเผยแพร่ข่าวสารเกี่ยวกับการเลือกตั้งในแต่ละเขตของการเลือกตั้งให้ชัดเจน

Article Details

บท
Research Articles

References

คมกริช เจริญพัฒนสมบัติ. (2541). บทบาทที่เป็นจริงและบทบาทที่คาดหวังของสาขาพรรคการเมืองไทย ศึกษากรณีพรรคประชาธิปัตย์. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยรามคำแหง,

เชาวน์วัศ สุดลาภา. (2551). พรรคการเมือง. กรุงเทพฯ : สยามพัฒนา.

ณิชาภา เหมะธุลิน. (2556). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ศึกษากรณี : ผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตเลือกตั้งที่ 1 จังหวัดบึงกาฬ. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยเกริก.

นุชปภาดา ธนวโรดม (2557). พฤติกรรมการเลือกตั้งของผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ในเขตเทศบาลนครนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

บัณฑิต ภู่กิ่งหิน. (2558). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฏรจังหวัดชลบุรี:ศึกษาในห้วงเวลาปี พ.ศ.2558. บัณฑิตวิทยาลัย :มหาวิทยาลัยเกริก.

เบญจพร อาจวิชัย. (2558). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกตั้ง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดมหาสารคาม : ศึกษากรณีการเลือกตั้งทั่วไป วันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2557. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยเกริก.

ปิยะรัตน์ สนแจ้ง. (2561). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร : ศึกษากรณีประชาชนกรุงเทพมหานคร ปี พ.ศ. 2562. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยเกริก.

ยงยุทธ พงษ์ศรี. (2561). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดปทุมธานี : ศึกษาในห้วงเวลา ปี พ.ศ.2562. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยเกริก.

วีระชัย ขันรุ่ง. (2552). การมีส่วนทางการเมืองของประชาชน ในระดับท้องถิ่นเทศบาลในจังหวัดนนทบุรี. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยปทุมธานี.

ศิวกร สิงเรือง. (2555). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกผู้นำระดับท้องถิ่น กรณีศึกษาการเลือกนายกเทศมนตรีเทศบาลนครอุบลราชธานี อำเภอเมืองอุบลราชธานี จังหวัดอุบลราชธานี. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.

สมบัติ ธำรงธัญวงศ์. (2550). การเมืองไทย. กรุงเทพฯ : เสมาธรรม.

สุรโชค เจษฎาเดช.(2559). บทบาทพรรคการเมืองและคุณลักษณะของผู้สมัครสมาชิกสภา

ผู้แทนราษฎรกับการเลือกตั้งของประชาชนในเขตเทศบาลนคร นครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏจอมบึง.