ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษากับความเป็นนวัตกรการศึกษาของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 13

Main Article Content

ธัญญวรรณ บุญมณี
วีระยุทธ ชาตะกาญจน์
ชูศักดิ์ เอกเพชร

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหาร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 13 2) เพื่อศึกษาความเป็นนวัตกรการศึกษาของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 13 และ 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษากับความเป็นนวัตกรการศึกษาของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 13 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ ข้าราชการครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 13 จำนวน 327 คน ที่ได้จากการกำหนดขนาดตัวอย่างโดยใช้ตารางสำเร็จรูปของเครจซี่และมอร์แกน เครื่องมือ ที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.99 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความ สัมพันธ์แบบเพียร์สันและการวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุคูณ โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปสถิติทางสังคมศาสตร์ ผลการวิจัยพบว่า 1) ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 13 โดยรวมอยู่ในระดับมาก (=3.81, S.D.=1.05) พบว่า ด้านการมีวิสัยทัศน์ การเปลี่ยนแปลงมีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมา คือ ด้านการทำงานเป็นทีมและมีส่วนร่วมและการสร้างบรรยากาศองค์กรนวัตกรรมมีค่าเฉลี่ยเท่ากันและด้านการคิดสร้างสรรค์ มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด 2) ความเป็นนวัตกรการศึกษาของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 13 โดยรวมอยู่ในระดับมาก (=3.77, S.D.=0.92) พบว่า ด้านการทำงานร่วมกับผู้อื่นมีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมา คือ ด้านการเชื่อมโยงสู่การปฏิบัติ ด้านการเปิดกว้างทางความคิดและด้านการวิเคราะห์/วางแผนมีค่าเฉลี่ยเท่ากันและด้านการคิดริเริ่มสร้างสรรค์ มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด 3) ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษากับความเป็นนวัตกรการศึกษาของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 13 พบว่า มีความสัมพันธ์กันทางบวกในระดับสูงที่สุด (r=0.853) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา   4 ด้าน ได้แก่  การทำงานเป็นทีมและมีส่วนร่วม () การมีวิสัยทัศน์การเปลี่ยนแปลง () การสร้างบรรยากาศองค์กรนวัตกรรม () และการคิดสร้างสรรค์ () สามารถพยากรณ์ความเป็น นวัตกรรมการศึกษาของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 13 ได้ร้อยละ 74.2 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 สามารถสร้างสมการถดถอยในรูปแบบดิบและคะแนนมาตรฐาน ดังนี้ สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนดิบ=1.145+0.033 ()+0.101 ()+0.292()+0.295() สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนมาตรฐาน =0.041 () +0.123()+0.368()+0.372()


 

Article Details

บท
Research Articles

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2559). คู่มือการประชุมเชิงปฏิบัติการชี้แจงแนวทางการดำเนินงานโครงการโรงเรียนประชารัฐ โครงการสานพลังประชารัฐด้านการศึกษาพื้นฐานและการพัฒนาผู้นำ. กรุงเทพฯ: สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.

เกรียงกานต์ กาญจนะโภคิน. (2563). ผู้นำด้านนวัตกรรมในกรุงเทพธุรกิจ. [Online]. Available: http://www.bangkokbiz news.com/blog/detail/466874, [2563, กุมภาพันธ์ 20].

จรุณี เก้าเอี้ยน. (2556). คุณลักษณะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษาในบริบทสังคมพหุวัฒนธรรม. รายงานวิจัย :มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา.

จีราภา ประพันธ์พัฒน์. (2560). การศึกษาภาวะผู้นําเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษาตามความคิดเห็นของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

ปวีณา กันถิน. (2560). ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนประชารัฐเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 5. บัณฑิตวิทยาลัย :มหาวิทยาลัย

เชียงใหม่.

พยัต วุฒิรงค์. (2555). การจัดการนวัตกรรม: จากแนวคิดสู่การปฏิบัติที่เป็นเลิศ. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พรรณี ลีกิจวัฒนะ. (2554). วิธีการวิจัยทางการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ: มีนเซอร์วิส ซัพพลาย.

วชิน อ่อนอ้าย. (2558). รูปแบบการพัฒนาโรงเรียนเอกชนสู่ความเป็นองค์การแห่งนวัตกรรม. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 17(2), 74-84.

วสันต์ สุทธาวาศ. (2558). การพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างศักยภาพความเป็นนวัตกรการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย :มหาวิทยาลัยศิลปากร.

วิจารณ์ พานิช. (2555). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสดสรี-สฤษดิ์วงศ์.

เวียงวิวรรธน์ ทำทูล. (2557). ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารที่ส่งต่อองค์การขีดสมรรถนะสูง ของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 21. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2559). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่สิบสอง พ.ศ.2560-2564. สำนักนายกรัฐมนตรี.

______. (2561). ยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ.2561-2580. สำนักเลขานุการของคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ.

อนุพงษ์ ชุมแวงวาปี. (2560). การพัฒนารูปแบบองค์การแห่งนวัตกรรมของโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยบูรพา.

อรพิน อิ่มรัตน์. (2561). ปัจจัยที่ส่งผลต่อภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 3. บัณฑิตวิทยาลัย :มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

Krejcie, R. V. & Morgan, D.W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measuremen, 30, 607-610.

Likert, R. (1967). The Method of Constructing and Attitude Scale: Reading in Attitude Theory and Measurement. New York: Wiley & Son.

Rogers, Everett M. & F. Floyd Shoemaker. (1995). Communication of Innovations: A Cross Cultural Approach. New York: The Free Press.

Tepic, Mersiha & et al. (2013). Complexities in Innovation Management in Companies from the European Industry: A Path Model of Innovation Project Performance Determinants. European Journal of Innovation Management, 16, 517–550.

Volk, K., Yip, W. M., & Lo, T. K. (2012). Hong Kong pupils' attitudes toward technology: The impact of design and technology programs. [Online]. Available: http://scholar.lib.vt.edu/ejournals/JTE/v15n1/volk.html. [2563, February 20].

Williamson, Doug. (2011). Mining for Hidden Human Potential. Human Resource Management International Digest, 19(7), 3–8.

Yuduo, Lu & et al. (2011). Implications of I Ching on Innovation Management. Chinese Management Studies, 5, 394–402.