การประเมินโครงการพัฒนาคุณภาพการศึกษา สำหรับนักเรียนเรียนรวม โรงเรียนทุ่งสังพิทยาคม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 12

Main Article Content

แทนไท ขาวทอง
สุจินต์ หนูแก้ว

บทคัดย่อ

 


             การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินโครงการพัฒนาคุณภาพการศึกษาสำหรับนักเรียนเรียนรวม โรงเรียนทุงสังพิทยาคม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 12 โดยใช้รูปแบบการประเมินแบบซิปป์ (CIPP Model) ในด้านบริบท ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการและด้านผลผลิต กลุ่มประชากรผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้อำนวยการสถานศึกษา จำนวน 1 คน ครูผู้สอนนักเรียนเรียนรวม จำนวน 4 คน และผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 26 คน เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินเป็นแบบสอบถามจำนวน 5 ฉบับ มีลักษณะเป็นมาตราส่วนประมาณค่า สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ()และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ผลการวิจัยพบว่า 1) ด้านบริบท โดยรวมอยู่ในระดับเหมาะสมมากที่สุด ข้อที่มีความเหมาะสมมากที่สุดคือ วัตถุประสงค์ของโครงการสอดคล้องกับนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ ข้อที่มีความเหมาะสมน้อยที่สุดคือ โครงการสอดคล้องกับความต้องการของผู้ปกครองและผู้เกี่ยวข้อง 2) ด้านปัจจัยนำเข้า โดยรวมอยู่ในระดับเหมาะสมมากที่สุด ข้อที่มีความเหมาะสมมากที่สุด คือ การดำเนินโครงการเป็นระบบและขั้นตอน ตามวงจรคุณภาพของเดมมิ่ง ส่วนข้อที่มีความเหมาะสมน้อยที่สุดคือ หน่วยงานภายนอกให้ความช่วยเหลือสนับสนุนการดำเนินโครงการ  3) ด้านกระบวนการ โดยรวมอยู่ในระดับเหมาะสมมากที่สุด ด้านที่มีความเหมาะสมมากที่สุด คือ ด้านการติดตามและประเมินผล ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ ผู้บริหารมีส่วนร่วมในการประเมินผลโครงการ  ส่วนข้อที่มีคะแนนเฉลี่ยต่ำสุด คือ บุคลากรมีส่วนร่วมในการประเมินผลโครงการ 4) ด้านผลผลิต ตามความคิดเห็นของผู้อำนวยการสถานศึกษาและครูผู้สอนนักเรียนเรียนรวม โดยรวมอยู่ในระดับเหมาะสมมากที่สุด ข้อที่มีความเหมาะสมมากที่สุด คือ นักเรียนมีพัฒนาการทางการรับรู้ที่ดีขึ้นหลังจากการใช้สื่อในการจัดการเรียนการสอน ส่วนข้อที่มีความเหมาะสมน้อยที่สุดคือ ครูผู้สอนมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ในการจัดทำสื่อเพื่อพัฒนาคุณภาพนักเรียน ด้านผลผลิต ตามความคิดเห็นผู้ปกครองนักเรียนเรียนรวม โดยรวมอยู่ในระดับเหมาะสมมากที่สุด ข้อที่มีความเหมาะสมมากที่สุด คือ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนเรียนรวม สูงขึ้นภายหลังจากที่ใช้สื่อในการจัดการเรียนการสอน ส่วนข้อที่มีความเหมาะสมน้อยที่สุดคือ ผลการประเมินการอ่านคิดวิเคราะห์ และเขียนของนักเรียนเรียนรวมเพิ่มขึ้นภายหลังจากที่ใช้สื่อในการจัดการเรียนการสอน

Article Details

บท
Research Articles

References

กระทรวงศึกษาธิการ .(2542). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542.

กรุงเทพฯ: บริษัทสยามสปอรต์ ซินดิเคท จำกัด.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). พระราชบัญญัติการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ พ.ศ.2551.

กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภา

ฉวีวรรณ เหล่ารอด. (2553). การประเมินโครงการโรงเรียนแกนนำจัดการเรียนร่วม สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากำแพงเพชร เขต 2. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัย

ราชภัฏกำแพงเพชร.

บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

ผดุง อารยะวิญญู. (2542) การศึกษาสำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษ. กรุงเทพฯ:

รำไทยเพลส.

วิมล จันทราศรี. (2553). แนวทางการพัฒนาการบริหารโรงเรียนแกนนำเรียนร่วมโดยใช้

โครงการซีท (SEAT) สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากำแพงเพชรเขต 2. บัณฑิตวิทยาลัย :มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร.

ศรีทน ละม่อม. (2552). ผลการพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชนโดยใช้วงจร

PDCA ของโรงเรียนดอนทองวิทยา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาพิษณุโลก

เขต 1. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2550). รายงานการประเมินการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริม

คุณธรรมจริยธรรมของผู้เรียนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพฯ: พิมพ์ดีการพิมพ์

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2560-2579.

กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.

สุภาวิณี ลุสมบัติ. (2556). การประเมินโครงการโรงเรียนแกนนำจัดการเรียนร่วม สังกัด

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร เขต 1.

บัณฑิตวิทยาลัย :มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร.

โสภณ คำปาเชื้อ. (2550). การบริหารงานโรงเรียนต้นแบบการเรียนรวม ในสังกัดสำนักงาน

เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำพูนเขต 2. บัณฑิตวิทยาลัย :มหาวิทยาลัย

ราชภัฏเชียงใหม่.

อทิตา หมีวรรณ. (2556). แนวทางการจัดการเรียนการสอน สำหรับนักเรียนบกพร่อง

ทางการเรียนรู้. กรุงเทพฯ: สมาร์ทคิดส์