การบริหารสถานศึกษาตามหลักสังคหวัตถุ 4 ของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 2

Main Article Content

นภา ชาลี
พระครูปลัดสมชัย นิสฺสโภ
พระมหาสุภวิชญ์ ปภสฺสโร

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาการบริหารงานของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน (2) เพื่อศึกษาระดับการบริหารสถานศึกษาตามหลักสังคหวัตถุ 4 ของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และ    (3) เพื่อเสนอแนวทางการบริหารสถานศึกษาตามหลักสังคหวัตถุ 4 ของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 2 เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี กลุ่มตัวอย่าง ที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้าครั้งนี้ ได้แก่ ครูในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 2 กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่าง โดยใช้ตาราง R.V.Krejcie และ D.W.Morgan  ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 313 คน ทำสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิ และการสุ่มอย่างง่ายด้วยการจับสลาก เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถามประมาณค่า 5 ระดับ และผู้วิจัยได้ทำการสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ได้แก่ ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง จำนวน 7 รูป/คนเครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสัมภาษณ์ สำหรับการศึกษาเชิงคุณภาพ


              ผลการวิจัยพบว่า


  1. การบริหารงานของผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 2 โดยภาพรวม อยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าอยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้าน สามารถเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อยได้ ดังนี้ ด้านการบริหารงานบุคคล ด้านการบริหารงานทั่วไป ด้านการบริหารงานวิชาการ และ ด้านการบริหารงานงบประมาณ

  2. การบริหารสถานศึกษาตามหลักสังคหวัตถุ 4 ของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 2 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด สามารถเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อยได้ดังนี้ ด้านการบริหารตามหลักปิยวาจา การบริหารตามหลักทาน การบริหารตามหลักมอัตถจริยา และการบริหารตามหลักสมานัตตตา ตามลำดับ

  3. แนวทางการบริหารสถานศึกษาตามหลักสังคหวัตถุ 4 ของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 2 มีดังนี้ 1) ด้านการบริหารตามหลักทาน ส่งเสริมบุคลากร โดยจัดให้มีสวัสดิการด้านต่าง ๆ มอบหมายงานที่สำคัญและให้เครดิตในการทำงานให้กับบุคลากร 2) ด้านการบริหารตามหลักปิยวาจา นิเทศงาน ให้คำแนะนำด้วยน้ำเสียงกัลยณมิตร ใช้คำพูดที่เหมาะสมตักเตือนบุคคลอื่น 3) ด้านการบริหารตามหลักอัตถจริยา การนำกิจกรรมจิตอาสาบูรณาการกับกิจกรรมการเรียนการสอน และ 4) ด้านการบริหารตามหลักสมานัตตตา กำหนดแนวทางการพัฒนาโรงเรียนระยะยาวที่ชัดเจน การบริหารโรงเรียนโดยยึดการศึกษาเพื่อความยั่งยืน กำหนดจุดเน้นคือการพัฒนางานวิชาการ

คำสำคัญ : การบริหารสถานศึกษา, หลักสังคหวัตถุ 4

Article Details

บท
รูปเล่มฉบับเต็ม
Author Biographies

นภา ชาลี, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณาชวิทยาลัย

Mahachulalongkornrajavidyalaya University

พระครูปลัดสมชัย นิสฺสโภ , มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณาชวิทยาลัย

Mahachulalongkornrajavidyalaya University

พระมหาสุภวิชญ์ ปภสฺสโร, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณาชวิทยาลัย

Mahachulalongkornrajavidyalaya University

References

จักรกฤษณ์ โพดาพล และสุพรรณี บุญหนัก.(2563). สถิติเพื่อการวิจัย และการใช้โปรแกรม SPSS ในการวิจัย. เลย: สำรวย ก๊อปปี้บ้านใหม่.

ปิยะบุตร รักษ์วงษ์. (2556). ศึกษาภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาตามหลักสังคหวัตถุ 4 วิทยาลัยอาชีวศึกษาสระบุรี อำเภอเมือง จังหวัดสระบุรี. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระครูประภัศร์ธรรมาภิรักษ์ (จันเขียด). (2562). การบริหารสถานศึกษาตามหลักสังคหวัตถุ 4 ในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยถูมิ เขต 1. วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระครูวินัยธรยิ่งยง ธมฺมวโร (โหมดศิริ), (2556). ความพึงพอใจของประชาชนต่อการบริหารงานตามหลักสังคหวัตถุ 4 ขององค์การบริหารส่วนตำบลบางกะไห อำเภอเมือง จังหวัดฉะเชิงเทรา. วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

มณีนุช ไพรดี. (2562). การนำหลักสังคหวัตถุ 4 ไปประยุกต์ใช้เพื่อสร้างความผูกพันต่อองค์กรของพนักงานบริษัท พรอพเพอร์ตี้ แคร์ เซอร์วิสเซส (ประเทศไทย) จำกัด. วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 2. (2563). รายงานผลการดำเนินงานประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563. เลย: กลุ่มนโยบายและแผน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 2.

สำนักงานปฏิรูปการศึกษา. (2545). แนวทางการบริหารและการจัดการศึกษาในเขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษา. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานปฏิรูปการศึกษา.