ธรรมาภิบาลกับการเมืองการปกครองภายใต้ยุทธศาสตร์ ประเทศไทย 4.0
Main Article Content
บทคัดย่อ
กรอบธรรมาภิบาลการเมืองการปกครองประกอบด้วยตัวชี้วัดหลายด้านตั้งแต่ระดับท้องถิ่น ระดับชาติและระดับสากล ที่สามารถนำมาบูรณาการเข้าด้วยกันเพื่อดำเนินการให้เกิดประโยชน์สุขแก่ประชาชน ตัวชี้วัดเหล่านี้บ่งบอกถึงประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการดำเนินงานของรัฐบาลทั้งในระดับท้องถิ่นและระดับชาติให้เป็นไปโดยสันติ รับฟังเสียงของประชาชน มีความรับผิดชอบ มีความโปร่งใสและเป็นประชาธิปไตย กล่าวอีกนัยหนึ่งได้ว่า ธรรมาภิบาลการเมืองการปกครองเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้มีส่วนได้เสียในการเมืองการปกครองโดยเฉพาะอย่างยิ่งภาครัฐ ภาคธุรกิจและภาคประชาชน ได้มีส่วนร่วมในการดำเนินนโยบายของรัฐ โดยให้ประชาชนได้มาซึ่งสิทธิและผลประโยชน์ในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารของภาครัฐตลอดทั้งร่วมแสดงความคิดเห็นและร่วมตัดสินใจกับภาครัฐ ขณะเดียวกันภาครัฐเองก็จะต้องสามารถเชื่อมโยงแลกเปลี่ยน บูรณาการระหว่างภาครัฐ ภาคธุรกิจ และภาคประชาชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ธรรมาภิบาลการเมืองการปกครองจะเป็นพลังผลักดันภาครัฐในการก้าวไปสู่ความทันสมัยสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ประเทศไทย 4.0 ได้แก่ ความสามารถในการรองรับบริบทการเปลี่ยนแปลงของประชาคมโลก การปรับเปลี่ยนแนวคิดให้ภาครัฐสามารถบูรณาการการทำงานร่วมกับภาคส่วนอื่นได้อย่างเป็นรูปธรรม ส่งเสริมให้มีการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชนและความมั่นคงปลอดภัยต่อสาธารณะโดยรวม การเสริมสร้างคุณธรรมและจริยธรรม มีสำนึกความรับผิดชอบและมีความซื่อสัตย์สุจริตโปร่งใส ปฏิบัติตามหลักการและหลักวิชาชีพด้วยความเป็นธรรมและเสมอภาค ยืนหยัดในการกระทำที่ถูกต้อง คำนึงถึงประโยชน์ของประชาชนเป็นหลัก เพื่อให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ดังกล่าว ผู้นำทางการเมืองและผู้บริหารภาครัฐจำเป็นจะต้องมีวิสัยทัศน์ มีความคิดเชิงกลยุทธ์ มีความเข้าใจสภาพเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมทั้งระดับท้องถิ่น ระดับประเทศ ระดับภูมิภาค และระดับโลก มีความสามารถในการประสาน เชื่อมโยง และระดมทรัพยากรซึ่งรวมถึงการระดมความคิดเห็นของทุกภาคส่วน ขณะเดียวกันจะต้องมีคุณธรรมจริยธรรมในการดำเนินนโยบายเพื่อสร้างคุณค่าและประโยชน์สุขต่อส่วนรวม ด้วยปัจจัยดังกล่าวข้างต้น ในท้ายที่สุด ธรรมาภิบาลการเมืองการปกครองจะนำไปสู่ประโยชน์สุขอย่างยั่งยืนของประชาชน ดังวาทกรรมของอดีตรัฐบุรุษคนหนึ่งที่ว่า “การเมืองการปกครองเป็นของประชาชน การเมืองการปกครองได้มาโดยประชาชน และการเมืองการปกครองเพื่อประโยชน์สุขของประชาชน”
Article Details
References
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.), (2548), คู่มือการปฏิบัติงานของ
องค์การมหาชนตามแนวทางการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี. กรุงเทพฯ: สหพัฒนการพิมพ์, 12-13.
จำเนียร จวงตระกูล. (2560). การปฏิรูปค่านิยมของสังคมไทยเพื่อนนำประเทศไทยสู่สังคม
ประชาธิปไตย. Journal of HR Intelligence, 12(2), 96-119.
ถวิลวดี บุรีกุล. (2558). ธรรมาภิบาล: กลไกสำคัญในการปฏิรูปเพื่อพัฒนาประเทศ. นนทบุรี:
สถาบันพระปกเกล้า.
สุดจิต นิมิตกุล. (2543). กระทรวงมหาดไทยกับการบริหารจัดการที่ดี.กรุงเทพฯ :บพิธการ
เจริญ เจษฎาวัลย์. (2546) การตรวจสอบธรรมาภิบาล. กรุงเทพฯ: พอดี.
ธีรยุทธ บุญมี. (2541). ธรรมรฐัแหงชาติยุทธศาสตรกูหายนะประเทศไทย. กรุงเทพฯ:
โรงพิมพเดือนตุลาคม 2541.
Agere, Sam. (2000). Promoting Good Governance : Principles, Practices and
Perspective. London : Commonwealth Secretariat, 2000.
Bevir, Mark, Governance: Politics and Power, Britannica,
https://www.britannica.com/topic/governance/Networks-partnerships-and-inclusion (Retrieved on November 12, 2021)
ธรรมาภิบาล: หลักการเพื่อการบริหารรัฐกิจแนวใหม่, (2546). หมวดหมู่: แนวทางเสริมสร้าง
ธรรมาภิบาลในองค์กร, วารสารปีที่ 1 ฉบับที่ 2 เดือนพฤษภาคม - สิงหาคม
โมเดล “ประเทศไทย 4.0”. (2564). ขับเคลื่อนประเทศไทยด้วยนวัตกรรม. สืบค้นเมื่อ 2
กุมภาพันธ์ 2564, จากhttps://www.mmthailand.com/โมเดล-ประเทศไทย 4.0
สุวิทย์ เมษินทรีย์. (2564). ประเทศไทย 4.0 สร้างเศรษฐกิจใหม่. สืบค้นเมื่อ 2 กุมภาพันธ์
สุวิทย์ เมษินทรีย์. 2560. ระบบราชการ 4.0 http://www.facebook.com/drsuvitpage/photos/pc 247252048667/144924721538.