ความสัมพันธ์ระหว่างวัฒนธรรมองค์การกับประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 4

Main Article Content

ปิยวรรณ ด้วงใส
อรรครา ธรรมาธิกุล
สรัญญา แสงอัมพร

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) วัฒนธรรมองค์การของสถานศึกษา 2)ประสิทธิผลของสถานศึกษา 3)ความสัมพันธ์ของวัฒนธรรมองค์การที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 4 กลุ่มตัวอย่าง คือ ครูในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 4 จำนวน 313 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล เป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และการวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า 1. วัฒนธรรมองค์การของสถานศึกษา โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก 2. ประสิทธิผลของสถานศึกษา โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก 3. ความสัมพันธ์ของวัฒนธรรมองค์การที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 4 มีความสัมพันธ์เชิงบวก อยู่ในระดับค่อนข้างสูง ซึ่งวัฒนธรรมองค์การ ทั้ง 6 ด้าน ร่วมกันพยากรณ์ประสิทธิผลของสถานศึกษาได้ร้อยละ 66.20 และตัวแปรพยากรณ์ของวัฒนธรรมองค์การที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 4 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05  คือ ด้านความมุ่งประสงค์ของสถานศึกษา (PS) ด้านความรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของสถานศึกษา (GP) ด้านความเอื้ออาทร (FP) และด้านความตระหนักถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล (ID) ส่วนวัฒนธรรมองค์การด้านการตัดสินใจ (DP) และด้านความมีคุณภาพ (QP) มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษาอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ เมื่อเรียงตัวแปรในการพยากรณ์จากมากไปหาน้อย คือ ความมุ่งประสงค์ของสถานศึกษา(PS) ความเอื้ออาทร (GP) ความรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของสถานศึกษา (FP) ความตระหนักถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล (ID) ด้านความมีคุณภาพ (QP) และการตัดสินใจ (DP) ตามลำดับ โดยสร้างเป็น สมการพยากรณ์ในรูปแบบคะแนนดิบ คือ  = 1.172(Constant)+.246(PS)+.169(GP)+ .149(FP)+ .107(ID) +.044(QP) +.034(DP) และรูปแบบคะแนนมาตรฐาน คือ =.291(PS) + .220(GP) + .191(FP) + .156(ID) + .060(QP) + .044(DP)

Article Details

บท
Research Articles
Author Biographies

อรรครา ธรรมาธิกุล , มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช

Nakhon Si Thammarat Rajabhat University

สรัญญา แสงอัมพร, มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช

Nakhon Si Thammarat Rajabhat University

References

กัญญ์ภัคญา ภัทรไชยอนันท์. (2557).วัฒนธรรมองค์กรกับองค์กรแห่งการเรียนรู้ของคณะ

ศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยศิลปากร. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยศิลปากร.

กรรณิการ์ นันทะเทศ. (2558).ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารเชิงคุณภาพ กับประสิทธิผล

ของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระแก้ว เขต 2. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยบูรพา.

เกษร คงเมือง .(2558).ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารกับ

ประสิทธิผลของ โรงเรียนชลกันยานุกูล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 18 .บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยบูรพา.

เขมวิภา ตันศิริ. (2557). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารกับ

ประสิทธิผลของ โรงเรียนมัธยมศึกษา จังหวัดจันทบุรี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่

การศึกษา มัธยมศึกษา เขต 17. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยบูรพา. จตุพงษ ลี้ประเสริฐ. (2558). ความสัมพันธระหวางภาวะผูนําการเปลี่ยนแปลงของผูบริหาร

กับประสิทธิผลของโรงเรียนสังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 18

จังหวัดชลบุรี. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยบูรพา. ชุติมา รอดประทับ. (2558).วัฒนธรรมองค์การของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัด

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 3. บัณฑิตวิทยาลัย :

มหาวิทยาลัยบูรพา. เชาวนี อยู่รอด. (2557). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารกับ

ประสิทธิผลของโรงเรียนมาตรฐานสากล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี เขต 1. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยบูรพา.

ดวงใจ เจริญทรัพย์. (2557). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหาร

กับประสิทธิผลของโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดสระแก้ว. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยบูรพา

บัญชา ภัทรกุลวิศาล. (2555). ปัจจัยทางวัฒนธรรมองค์การที่ส่งผลต่อการบริหารจัดการ

สถานศึกษาพอเพียง ของโรงเรียนมัธยมศึกษาในกลุ่มจังหวัดภาตะวันออกเฉียงเหนือ

ตอนบน 2. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยขอนแก่น

ปัทมาพร ศรีกำพล. (2557). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำแบบผู้รับใช้ของผู้บริหาร

สถานศึกษาวัฒนธรรมองค์การกับประสิทธิผลของโรงเรียนสังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่

การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 2. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยบูรพา. เพ็ชรี รูปะวิเชตร์. (2554). การเรียนรู้ลักษณะการจัดการ : การจัดการข้ามวัฒนธรรม .

กรุงเทพฯ : ดวงกมลพับลิชชิ่ง. วิรัช สงวนวงศ์วาน. (2547). การจัดการและพฤติกรรมองค์กร. กรุงเทพฯ: เพียร์สัน

เอ็ดดูเคชั่น อินโดไซน่า.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2555). แนวทางการจัดกระบวนการเรียนรู้

ตามจุดเน้นการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนทักษะการคิด. กลุ่มพัฒนากระบวนการเรียนรู้

สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2560). ยุทธศาสตร์ของ

แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ.2560-พ.ศ. 2564).

กรุงเทพฯ: สหมิตรพริ้นติ้งแอนด์ พับลิสซิ่ง.

Denison, D.R. (1990). Corporate Culture and Organizational Effectiveness. New

York : Wiley.

Krejcie, R. V., & Morgan,D. W. (1970). Determining sample size for research

activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.

Mott, P. W. (1972). The characteristic of effective organization. New York:

Harper & Row.