การประยุกต์ใช้หลักภาวนา 4 ในการส่งเสริมคุณธรรมของค่ายเยาวชน จิตอาสา วัดแก้วโกรวาราม พระอารามหลวง จังหวัดกระบี่

Main Article Content

พระสุพร คุณธมฺโม (หัสวาที)
พระครูโฆสิตวัฒนานุกูล
สิทธิโชค ปาณะศรี
พระครูจิตตสุนทร
พระครูวิจิตรสาธุรส

บทคัดย่อ

บทความวิจัยมีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาแนวคิดการส่งเสริมคุณธรรมของค่ายเยาวชนจิตอาสา (2) เพื่อศึกษาหลักภาวนา 4 ที่ปรากฏในคัมภีร์พระพุทธศาสนา (3) เพื่อประยุกต์ใช้หลักภาวนา 4 ในการส่งเสริมคุณธรรมของค่ายเยาวชนจิตอาสา วัดแก้วโกรวาราม พระอารามหลวง จังหวัดกระบี่ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพเน้นการศึกษาเอกสารและการสัมภาษณ์เชิงลึก นำเสนอผลการวิจัยแบบพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า 1) แนวคิดการส่งเสริมคุณธรรมของค่ายเยาวชนจิตอาสา “จิตอาสา” มีลักษณะที่มนุษย์ได้กระทำขึ้นเพื่อประโยชน์ส่วนรวม เมื่อพบปัญหาและความทุกข์เกิดขึ้นกับผู้อื่นและสังคมเป็นจิตที่พร้อมจะเสียสละเวลา กำลังทางกาย จิตใจ ทรัพย์สินหรือสติปัญญา เพื่อก่อให้เกิดสิ่งที่ดีแก่ผู้อื่นและเพื่อสาธารณประโยชน์รวมไปถึงการทำความดีเพื่อสังคมและสิ่งแวดล้อม การทำงานหรือทำกิจกรรมที่เป็นประโยชน์แก่ ผู้อื่นและสังคม โดยการเสียสละเวลา กำลังทางกาย จิตใจ ทรัพย์สินหรือสติปัญญา หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งคือ การทำงานด้วยจิตอาสาหรือการเป็นอาสาสมัคร 2) หลักภาวนา 4 ที่ปรากฎในคัมภีร์พระพุทธศาสนา ประกอบด้วย (1) กายภาวนา (การพัฒนากาย) การทำกายให้เจริญ (2) ศีลภาวนา (การพัฒนาศีล) ศีลเป็นเรื่องของความสัมพันธ์ในสังคมในด้านการมีชีวิตอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคม (3) จิตภาวนา (การพัฒนาจิต) หรือการทำจิตใจเจริญงอกงาม เป็นการฝึกอบรมด้านจิตใจ (4) ปัญญาภาวนา (การพัฒนาปัญญา) การทำปัญญาให้เจริญงอกงามในระดับต่างๆ 3) การประยุกต์ใช้หลักภาวนา 4 ในการส่งเสริมคุณธรรมของค่ายเยาวชนจิตอาสา คือ การดำเนินชีวิตที่มีหลักการ วิธีการ ผ่านกระบวนการอย่างเป็นขั้นเป็นตอน มีเป้าหมายที่ชัดเจนของการส่งเสริมคุณธรรม โดยผ่านกระบวนการฝึกฝนอบรมบ่มเพาะมาเป็นอย่างดี โดยการประยุกต์ใช้หลักภาวนา 4 ประกอบด้วย 1) ด้านกาย การพัฒนากาย มีการสำรวมกาย วาจาให้เป็นปกติ 2) ด้านศีล การพัฒนาศีล ประพฤติปฏิบัติตามศีล 5 กับการดำรงชีพ ประกอบอาชีพสุจริต รักษาระเบียบวินัยเป็นอย่างดี 3) ด้านจิต การพัฒนาจิต ได้อบรมวิปัสสนากรรมฐานมาบ้างพอสมควร สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันของตนเองได้ 4) ด้านปัญญา การพัฒนาปัญญา สามารถวิเคราะห์ได้และแยกว่าสิ่งไหนดีสิ่งไหนไม่ดี ดำเนินวิถีชีวิตประจำวันได้โดยไม่ประมาท มีสติในการครองตน ทำงาน  ต่าง ๆ ตามลำดับความสำคัญ ในการส่งเสริมคุณธรรมของค่ายเยาวชนจิตอาสาอย่างยั่งยืน


 

Article Details

บท
Research Articles
Author Biographies

พระครูโฆสิตวัฒนานุกูล, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณาชวิทยาลัย

Mahachulalongkornrajavidyalaya University

สิทธิโชค ปาณะศรี, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณาชวิทยาลัย

Mahachulalongkornrajavidyalaya University

พระครูจิตตสุนทร , มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณาชวิทยาลัย

Mahachulalongkornrajavidyalaya University

พระครูวิจิตรสาธุรส, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณาชวิทยาลัย

Mahachulalongkornrajavidyalaya University

References

จิราภรณ์ ศิริทวี, จิตอาสาพัฒนาความเป็นมนุษย์, ออนไลน์, แหล่งที่มา:

http://158.108.70.5/ kusresearch/researcher /jiraporn/jitarsa.pdf,

ไจตนย์ ศรีวังพล, (2552), “ศึกษาการประยุกต์หลักพุทธธรรมในการทางานจิตอาสาของ

อาสาสมัคร สวพ.91”, บัณฑิตวิทยาลัย: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ณัฐพร ภูทองเงิน, (2555), “การบริหารงานบุคลากรของผู้บริหารสถานศึกษาตามหลัก

พรหมวิหาร 4 ในกลุ่มสถานศึกษาเขตพื้นที่ที่ 1 - 4 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่

การศึกษา ประถมศึกษาขอนแก่น เขต 1, บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัย

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย,

พระธรรมปิฏก (ป.อ.ปยุตฺโต), (2540), พุทธธรรมกับการพัฒนาชีวิต. กรุงเทพฯ: ธรรมสภา.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต), (2545), พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลศัพท์,

พิมพ์ครั้งที่ 10, กรุงเทพฯ: บริษัท เอส.อาร์ พริ้นเตอร์ แมส โปรดักส์ จำกัด,