ศึกษาแนวทางการพัฒนากองทุนสวัสดิการชุมชนแบบมีส่วนร่วมของประชาชน ตำบลท่าอุแท อำเภอกาญจนดิษฐ์ จังหวัดสุราษฎร์ธานี

Main Article Content

จารึก โพธิรัตน์
ขวัญจิตร แป้นประจุน
ดิเรก นุ่นกล่ำ
ไพรัตน์ ฉิมหาด
พระครูวาทีธรรมวิภัช

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาการพัฒนากองทุนสวัสดิการชุมชนแบบมีส่วนร่วมของประชาชน ตำบลท่าอุแท อำเภอกาญจนดิษฐ์ จังหวัดสุราษฎร์ธานี 2) เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนากองทุนสวัสดิการชุมชนแบบมีส่วนร่วมของประชาชน ตำบลท่าอุแท อำเภอกาญจนดิษฐ์ จังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี (Mixed Methods Research) ทั้งเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) และเชิงปริมาณ (Quantitative Research) ประชากรที่ศึกษา ได้แก่ ประชาชนที่เป็นสมาชิกกองทุนสวัสดิการชุมชนจำนวน 3,499 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรคำนวณของ (Taro Yamane) ได้ขนาดกลุ่มตัวอย่างจากการคำนวณ 359 ราย และสัมภาษณ์กลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวน 23 คน เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์เชิงลึก สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย (Mean) และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) ผลการวิจัย พบว่า 1.การพัฒนางานกองทุนสวัสดิการชุมชนแบบมีส่วนร่วมของประชาชน ตำบลท่าอุแท อำเภอกาญจนดิษฐ์ จังหวัดสุราษฎร์ธานีโดยรวมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ (  = 3.99) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านโดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย พบว่า ด้านการมีภาวะผู้นำมีค่าเฉลี่ยมากที่สุด ( = 4.10) รองลงมา ได้แก่ ด้านการกำหนดกฎระเบียบ ข้อบังคับของกองทุนสวัสดิการชุมชน`(  = 3.96) และด้านการมีส่วนร่วมของประชาชน มีค่าเฉลี่ยเท่ากัน ( = 3.96) ส่วนด้านบริหาร จัดการ มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด ( = 3.95) 2. แนวทางการพัฒนากองทุนสวัสดิการชุมชนแบบมีส่วนร่วมของประชาชน ตำบลท่าอุแท อำเภอกาญจนดิษฐ์ จังหวัดสุราษฎร์ธานี พบว่า แนวทางการพัฒนากองทุนสวัสดิการชุมชนที่ประชาชนในชุมชนให้ข้อคิดเห็นส่วนใหญ่ คือ ประชาชนคิดว่า คณะกรรมการกองทุนสวัสดิการชุมชนต้องมีภาวะของผู้นำเพื่อสามารถดำเนินงานกองทุนสวัสดิการชุมชนให้ประสบความสำเร็จได้ การบริหาร จัดการกองทุนสวัสดิการชุมชนควรมีการดำเนินงานอย่างเป็นระบบ ควรมีการคัดเลือกคณะกรรมการให้มีความเหมาะสม ควรเปิดโอกาสให้ประชาชนในชุมชนได้มีโอกาสเข้าร่วมในการแสดงความคิดเห็นต่อการดำเนินงานของกองทุนสวัสดิการชุมชน และกองทุนสวัสดิการชุมชนไม่ควรมีการแก้ไข เปลี่ยนแปลงกฎระเบียบ ข้อบังคับหรือสวัสดิการต่างๆ บ่อยครั้ง ควรมีการประชาสัมพันธ์ผลการดำเนินงานของ กองทุนสวัสดิการชุมชน ให้ประชาชนได้รับทราบอย่างทั่วถึง ควรมีการจัดอบรมหรือศึกษาดูงานเพื่อเสริมความรู้ให้แก่คณะกรรมการกองทุนสวัสดิการชุมชนเป็นประจำ และควรมีการเพิ่มสวัสดิการด้านชดเชยค่ารักษาพยาบาลให้มากขึ้นกว่าในปัจจุบัน เพื่อจูงใจให้สมาชิกวัยทำงานสมัครเข้าเป็นสมาชิกของกองทุนสวัสดิการชุมชนเพิ่มขึ้น


 

Article Details

บท
Research Articles
Author Biographies

ขวัญจิตร แป้นประจุน, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณาชวิทยาลัย

Mahachulalongkornrajavidyalaya University

ดิเรก นุ่นกล่ำ, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณาชวิทยาลัย

Mahachulalongkornrajavidyalaya University

ไพรัตน์ ฉิมหาด , มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณาชวิทยาลัย

Mahachulalongkornrajavidyalaya University

พระครูวาทีธรรมวิภัช, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณาชวิทยาลัย

Mahachulalongkornrajavidyalaya University

References

กองทุนสวัสดิการชุมชน, (2562) “ฐานข้อมูลทะเบียนสมาชิก”, เอกสารกองทุนสวัสดิการชุมชน,

(ตำบลท่าอุแท อำเภอกาญจนดิษฐ์ จังหวัดสุราษฎร์ธานี (อัดสำเนา).

พระราชบัญญัติการส่งเสริมสวัสดิการสังคม พ.ศ.2550, ราชกิจจานุเบกษา (ธันวาคม 2550):

องค์การบริหารส่วนตำบลท่าอุแท,“ฐานข้อมูลประชากร”, แผนพัฒนาองค์การบริหารส่วนตำบลท่าอุแท 5 ปี พ.ศ.2561-2565, ตำบลท่าอุแท อำเภอกาญจนดิษฐ์ จังหวัดสุราษฎร์ธานี 2562). (อัดสำเนา).