ความรู้ ทัศนคติและพฤติกรรมการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างสมเหตุผล ของนักศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต วิทยาลัยพยาบาล บรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์

Main Article Content

นภัทร บุญเทียม

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงแบบสำรวจ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความรู้ ทัศนะคติ และพฤติกรรมในการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างสมเหตุผลของนักศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์ ประชากรที่ศึกษาคือนักศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต ชั้นปีที่ 3-4 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์ ปีการศึกษา 2563 จำนวน 191 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในวิเคราะห์ข้อมูลกรวิจัยคือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า  1) ด้านความรู้เกี่ยวกับการใช้ยาปฏิชีวนะ นักศึกษามีความรู้เรื่องอันตรายจากแพ้ยาปฏิชีวนะมากที่สุด และมีความรู้เรื่องวิธีการเก็บยาปฏิชีวนะสำหรับเด็กที่เป็นผงแห้งหลังการผสมยาน้อยที่สุด นักศึกษาส่วนใหญ่ ร้อยละ 49.74 มีความรู้การใช้ยาปฏิชีวนะอย่างสมเหตุผลในระดับปานกลาง 2) ด้านทัศนคติเกี่ยวกับการใช้ยาปฏิชีวนะ นักศึกษามีทัศนคติว่ายาปฏิชีวนะที่มีราคาแพงมีประสิทธิภาพดีกว่ายาปฏิชีวนะที่มีราคาถูก และมีทัศนคติว่าเมื่อรับประทานยาปฏิชีวนะแล้วอาการไม่ทุเลาควรเปลี่ยนชนิดของยาปฏิชีวนะน้อยที่สุด นักศึกษาส่วนใหญ่ ร้อยละ 58.64 มีทัศนคติเกี่ยวกับการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างสมเหตุผลในระดับปานกลาง 3) ด้านพฤติกรรมในการใช้ยาปฏิชีวนะ นักศึกษามีพฤติกรรมเมื่อได้รับยาปฏิชีวนะ จะรับประทานยาสม่ำเสมอ และครบตามกำหนดที่แพทย์สั่งเพื่อป้องกันการดื้อยามากที่สุดและมีพฤติกรรมดื่มน้ำอุ่นและพักผ่อนอย่างเพียงพอเมื่อเริ่มเจ็บคอและสังเกตว่าตนเองมีคอแดงน้อยที่สุด นักศึกษาส่วนใหญ่ ร้อยละ73.82 มีพฤติกรรมการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างสมเหตุผลในระดับปานกลาง

Article Details

บท
Research Articles

References

กระทรวงสาธารณสุข. (2559). กระทรวงสาธารณสุข กำหนดให้นโยบาย “การใช้ ยาอย่างสม

เหตุผล”เป็นแผนพัฒนาระบบบริการสุขภาพ สาขาที่ 15. สืบค้นออนไลน์ วันที่ 24

ธันวาคม 2563, เข้าถึงได้จาก pr.moph.go.th/iprg/include/admin_hotnew/

show_hotnew.php?idHot_new=8484120

คณะอนุกรรมการพัฒนาบัญชียาหลักแห่งชาติ. (2553). คู่มือการใช้ยาอย่างสมเหตุผล ตาม

บัญชียาหลักแห่งชาติ ยาระบบประสาทส่วนกลางเล่ม 1. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุม

สหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

คณะอนุกรรมการการพัฒนาบัญชียาหลักแห่งชาติ. (2553). คู่มือการใช้ยาอย่างสมเหตุผล

ตามบัญชียาหลักแห่งชาติ เล่ม 1 ยาระบบทางเดินอาหาร. สำนักงานประสานการ

พัฒนาบัญชียาหลักแห่งชาติ.

งานปกครอง สวัสดิการ และการปรึกษา วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์.

(2564). ข้อมูลงานงานปกครอง สวัสดิการ และการปรึกษา วิทยาลัยพยาบาลบรม

ราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์ ไตรมาสที่ 4 ปีงบประมาณ 2563 – ไตรมาสที่ 1

ปีงบประมาณ 2564. เอกสารอัดสำเนา.

ทิพวรรณ วงเวียน. (2557). ความรู้เกี่ยวกับการใช้ยาปฏิชีวนะในโรคติดเชื้อเฉียบพลันของ

ระบบทางเดินหายใจส่วนบนของผู้ป่วยนอกที่เป็นโรคดังกล่าวในโรงพยาบาลสมเด็จ

พระบรมราชเทวี ณ ศรีราชา. วารสารเภสัชกรรมไทย ปีที่ 6 ฉบับที่ 2 : 106-114.

นัชชา ยันติ. (2560). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการใช้ยาปฏิชีวนะของนักศึกษา

หลักสูตรสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง จังหวัดปทุมธานี. วารสารวลัย

อลงกรณ์ปริทัศน์ ปีที่ 7 ฉบับที่ 2 : 1-10.

บุญใจ ศรีสถิตย์นรากูร. (2553). ระเบียบวิธี การวิจัยทางพยาบาลศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 5.

กรุงเทพมหานคร: ยูแอนด์ไอ อินเตอร์ มีเดีย.

เรณุกา จรัสพงศ์พิสุทธิ์ และเกษวดี ลาภพระ. (2563). การใช้ยาปฏิชีวนะอย่างเหมาะสม

สำหรับประชาชน.สืบค้นออนไลน์ วันที่ 14 มกราคม 2564, เข้าถึงได้จาก

https://www.pidst.or.th/A743.html

ศุภลักษณ์ สุขไพบูลย์, ชุภาศิริ อภินันท์เดชา, กวี ไชยศิริ. (2559). พฤติกรรมการใช้ยา

ปฏิชีวนะของผู้รับบริการ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสร้างโศก อำเภอบ้าน

หมอ จังหวัดสระบุรี. สืบค้นออนไลน์ วันที่ 24 ธันวาคม 2563, เข้าถึงได้จาก

: http://journal.nmc.ac.th/th/admin/Journal/2559Vol4No1_53.pdf

สรัญญ์รักษ์ บุญมุสิก และคณะ. (2562). ความรู้ เจตคติ และพฤติกรรมการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างสมเหตุผลของนักศึกษาพยาบาล เครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและสาธารณสุขภาคใต้. วารสารวิจัยและนวัตกรรมทางสุขภาพ ปีที่ 2 ฉบับที่ 1 (มกราคม – มิถุนายน 2562) : 25-36.

สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข. (2559). ใช้ยาสมเหตุผล” ปลอดภัย คุ้มค่า ด้วย 6 กุญแจ

สำคัญ. สืบค้นออนไลน์ วันที่ 24 ธันวาคม 2563, เข้าถึงได้จาก

http://www.isranews. org/isranews/item/49489%E0%B9%87hsir

Html

สุวัฒน์ ปริสุทธิวุฒิพร และมัณฑนา เหมชะญาติ. (2557). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการใช้ยา

ปฏิชีวนะของผู้รับบริการในโรงพยาบาลขลุงจังหวัดจันทบุรี. วารสารศูนย์การศึกษา

แพทย์ศาสตร์คลินิก โรงพยาบาลพระปกเกล้า ปีที่ 31 ฉบับที่ 2 : 114-127.

สุธาสินี ทรัพย์สังข์, วธู พรหมพิทยารัตน์, วุฒิชัย จริยา ,ปิยะรัตน์ นิ่มพิทักษ์พงศ์. (2016).

ผลของนวัตกรรมการให้ข้อมูลร่วมกับการใช้ฉลากช่วยยาปฏิชีวนะชนิดผงแห้งต่อ

ความเข้าใจของผู้ปกครองในกลุ่มผู้ป่วยเด็กโรคติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนบน

โรงพยาบาลกงไกรลาศ อำเภอกงไกรลาศ จังหวัดสุโขทัย. วารสารมหาวิทยาลัย

ขอนแก่น. 587-593.

ฝ่ายวิชาการวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์. (2564). หลักสูตร

พยาบาลศาสตรบัณฑิต(ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2560). เอกสารอัดสำเนา.

วิรัตน์ แก้วภูมิแห่. (2560). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการใช้ยาอย่างเหมาะสมและ

ปลอดภัยของอาสาสมัครสาธารณสุข. วารสารวิชาการแพทย์เขต 11 ปีที่ 31 ฉบับที่

(มกราคม – มีนาคม 2560) : 61-71.

อติญาณ์ ศรเกษตริน และคณะ. (2562). ปัจจัยทำนายการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างสมเหตุสมผลของนักศึกษาพยาบาล. วารสาร The Journal of Baromarajonani College of Nusing, Nakhonratchasima, 25(1) ; 43-59.

Brahma, D., Marak, M., & Wahlang. J. (2012). Rationaluse of drugs andirrational

drug combinations. Retrieved December 24, 2020, from The Internet

Journal of Pharmacology 10(1) http://ispub.com/

IJPHARM/10/1/14081#

Jongsirilerd, P., & Prapaso, N., (2017). Achievement Assessment Class 1 of The

Development for Rational Drugs Use of Hospitals Under the Office of

The Permanent Secretary for Public Health. Journal of Pharmaceutical

Clinic. 23 (1), 221-232. (in Thai)

Kshirsagar N.A. (2016). Rational use of medicines: Cost consideration & way

forward. Indian J Med Res. 144(4): 502-505.doi:10.4103/0971-

200901

O’Neill, J., (2014). Review on antimicrobial Resistance: Tackling a crisis for the

health and wealth of nations. Retrieved December 24, 2020, from,

https://amr-review.org/sites/default/files/AMR%20Review%

Paper%20%20Tackling%20a%20crisis%20for%20the%20health

%20and%20wealth%20of%20nations_1.pdf

Singh, I.N. and Malaviya, A.N., (1994). Long distance truck drivers in India: HIV

infection and their possible role in disseminating HIV into rural areas.

International Journal of STD and AIDS5 : 137–138.

World Health Organization. (1985). The rational use of drugs. Report of the

conference of experts. Geneva: World Health Organization. Retrieved

December 24, 2020, fromhttp://www.apps.who.int/

medicinedocs/en/m/abstract/Js17054e/

World Health Organization. (2002). Promoting rational use of medicines: core

components. WHO Policy Perspectives on Medicines. No.5. Document

WHO/EDM/2002.3. Geneva, Retrieved January 14, 2021, from

http://apps.who.int/medicinedocs/pdf/h3011e/h3011e.pdf