โปรแกรมปฏิจจสมุปบาทแบบจำลองลักษณ์จิตวิทยาร่วมสมัยสร้างสุขด้วยสติของสตรีวัยทำงานในสังคมไทย

Main Article Content

แม่ชีโมลี เขียวสะอาด
สิริวัฒน์ ศรีเครือดง
นภัทร์ แก้วนาค
อรณัฐ นครศรี
พระอนันตชัย อภินนฺโท

บทคัดย่อ

 


          งานวิจัยมีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อวิเคราะห์คุณลักษณะในจิตวิทยาร่วมสมัยสร้างสุขด้วยสติของสตรีในวัยทำงานสังคมไทย 2) สังเคราะห์โปรแกรมปฏิจสมุปบาทและแบบจำลองนพลักษณ์ในจิตวิทยาร่วมสมัยสร้างสุขด้วยสติของสตรีวัยทำงานในสังคมไทย และ 3) เพื่อนำเสนอผลโปรแกรมปฏิจสมุปบาทและแบบจำลองนพลักษณ์ในจิตวิทยาร่วมสมัยสร้างสุขด้วยสติของสตรีวัยทำงานในสังคมไทย เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง สัมภาษณ์เชิงลึกผู้ทรงคุณวุฒิ 15 ท่าน และสังเคราะห์ข้อมูลด้วยเทคนิค 6’C และกลุ่มตัวอย่างในการทดลอง คือ สตรีวัยทำงาน 40 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง และควบคุม กลุ่มละ 20 คน เครื่องมือวิจัย คือ โปรแกรมปฏิจสมุปบาทและแบบจำลองนพลักษณ์ในจิตวิทยาร่วมสมัยสร้างสุขด้วยสติของสตรีวัยทำงานในสังคมไทย และแบบสอบถาม 3 ด้าน คือ ด้านปฏิจจสมุปบาท, ด้านบุคลิกภาพที่พัฒนา, และด้านสุขด้วยสติ ค่าความเชื่อมั่น 0.941 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา เปรียบเทียบภายในกลุ่มโดยใช้สถิติ Paired t- test และ เปรียบเทียบระหว่างกลุ่ม โดยใช้สถิติ Independent t- test ผลการวิจัยพบว่า : 1) สตรีวัยทำงานมีสติรู้ทันเมื่อเกิดผัสสะไม่เกิดเวทนา ตัณหา อุปาทานดับ มีการพัฒนาตนรู้ถึงแก่นของกิเลสที่มีรากฐานมาจาก ราคะ โทสะ โมหะ เข้าใจกลไกป้องกันตนเอง และมีสุขง่ายทุกข์ยาก สุขมากทุกข์น้อย และมีความสุขทางโลกเกิดปัญญาทางธรรม 2) คุณลักษณะของโปรแกรม คือ การนำหลักธรรมปฏิจจสมุปบาทและแบบจำลองนพลักษณ์มาผสานกันโดยใช้นพลักษณ์เป็นเครื่องมือในการค้นหาบุคลิกภาพของ คนทั้ง 9 แบบ และใช้หลักพุทธธรรมปฏิจจสมุปบาท เป็นเครื่องมือในการจัดการความทุกข์ 3) กลุ่มทดลองก่อนการทดลองมีระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก หลังการทดลองกลุ่มทดลองมีระดับความคิดเห็นมากที่สุด หลังการทดลองกับระยะ ติดตามของกลุ่มทดลองไม่แตกต่างกัน, ระยะติดตามผลระหว่างกลุ่มทดลองกับกลุ่มควบคุมแตกต่าง กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01

Article Details

บท
Research Articles
Author Biographies

สิริวัฒน์ ศรีเครือดง, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณาชวิทยาลัย

Mahachulalongkornrajavidyalaya University

นภัทร์ แก้วนาค, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณาชวิทยาลัย

Mahachulalongkornrajavidyalaya University

อรณัฐ นครศรี , มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณาชวิทยาลัย

Mahachulalongkornrajavidyalaya University

พระอนันตชัย อภินนฺโท, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณาชวิทยาลัย

Mahachulalongkornrajavidyalaya University

References

กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. (2561, 28 กันยายน). กรุงเทพธุรกิจ. หน้า 8.

กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. (2562, 12 กรกฎาคม). โพสต์ทูเดย์. หน้า 12.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป. อ. ปยุตโต). (2553). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลศัพท์.

กรุงเทพฯ: ธนธัช.

พระธรรมปิฎก (ป. อ. ปยุตโต). (2541). พุทธธรรม ฉบับขยายความ. กรุงเทพฯ: มหาจุฬาลง

กรณราชวิทยาลัย.

พุทธทาส อินฺทปฺญโญ. (2557). ปฏิจจสมุปบาทจากพระโอษฐ์. กรุงเทพฯ: ธรรมสภา

พระครูภาวนาสังวรกิจ. (2562). การพัฒนาสุขภาวะองค์รวมสำหรับผู้สูงวัยตามแนวพุทธ

จิตวิทยา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระสาทิพย์ อนาลโย. (2562). การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างปฏิจจสมุปบาทกับการ

บรรลุธรรม. วารสาร มจร พุทธปัญญาปริทรรศน์. 4 (2), 225.

สนิท สัตโยภาส. (2561). การใช้ทฤษฎีศาสตร์แห่งนพลักษณ์ศึกษาเหตุปัจจัยที่ส่งผลให้บุคคล

มีลักษณะนิสัยต่างกัน: กรณีศึกษานักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏ

เชียงใหม่. วารสารบัณฑิตวิจัย. 9 (2), 118.

สุภัค วงศ์ดี. (2559). การพัฒนาแบบสัมภาษณ์เบื้องต้น เพื่อประเมินศักยภาพความเป็นผู้นำ

โดยใช้แนวคิดนพลักษณ์. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.