การท่องเที่ยวเชิงนวัตวิถีพุทธ

Main Article Content

ณัฐปภัสญ์ นวลสีทอง
กมลรัตน์ ทองสว่าง
ธนาวิทย์ กางการ

บทคัดย่อ

การศึกษาการท่องเที่ยวเชิงนวัตวิถีพุทธ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการขับเคลื่อนของชุมชนนวัตวิถีเชิงพุทธ จังหวัดชัยภูมิ และชุมชนนวัตวิถีเชิงพุทธของศูนย์ปฏิบัติธรรม สวนธรรมบ้านหนองหญ้าปล้อง ตำบลนาฝาย อำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ โดยการเก็บข้อมูลจากการสัมภาษณ์ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการบริหารจัดการแหล่งท่องเที่ยวนวัตวิถีพุทธ และประชาชน ซึ่งได้มาจากการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงจำนวน 18 ราย และจากแบบสอบถามนักท่องเที่ยวที่เดินทางมาท่องเที่ยวนวัตวิถีพุทธ จำนวน 230 ราย ผลการศึกษา พบว่าความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก 3 ด้าน ดังนี้ 1) การจัดการด้านทรัพยากรการท่องเที่ยวนวัตวิถีพุทธ 2) การจัดการด้านสิ่งอำนวยความสะดวก 3) การจัดการด้านการส่งเสริม/สนับสนุนการท่องเที่ยวนวัตวิถีพุทธ และพบว่าความพึงพอใจอยู่ในระดับน้อย 2 ด้าน ดังนี้ 1) การจัดการด้านคมนาคมขนส่ง 2) การจัดการด้านธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวเชิงนวัตวิถีพุทธ แนวทางการขับเคลื่อนชุมชนนวัตวิถีพุทธของศูนย์ปฏิบัติธรรม สวนธรรมบ้านหนองหญ้าปล้องมีองค์ประกอบหลายด้าน และต้องได้รับความร่วมมือจากทุกฝ่าย ซึ่งมีผู้นำชุมชน ประชาชน เป็นต้น โดยการน้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ ก่อให้เกิดการจ้างงานสามารถสร้างรายได้ให้กับคนในชุมชน จากผลจากการวิจัยครั้งนี้สามารถพัฒนาการท่องเที่ยวนวัตวิถีพุทธ และเป็นแนวทางการจัดทำกลยุทธ์ในการวางแผนการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนสืบไป


 

Article Details

บท
Research Articles
Author Biographies

กมลรัตน์ ทองสว่าง , อาจารย์ ดร., สาขาสุขภาพจิตและจิตเวช คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎชัยภูมิ

Rajabhat Chaiyaphum University

ธนาวิทย์ กางการ, อาจารย์ คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎชัยภูมิ

Rajabhat Chaiyaphum University

References

กมลชนก จันทร์เกตุ.(2561). การจัดการการท่องเที่ยวชุมชนอย่างยั่งยืน กรณีศึกษา : ชุมชน

เกาะยอ จังหวัดสงขลา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย. (2563). แนวทางการดำเนินงานโครงการชุมชน

ทองเที่ยว OTOP นวัตวิถี. กรุงเทพฯ: ม.ป.พ.

ธิปฏพณร์ ยิ้มประเสริฐ.(2563).การประยุกต์ ใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและจิตวิทยาการ

ท่องเที่ยว:แนวทางขับเคลื่อนและฟื้นฟูการท่องเที่ยวโดยชุมชน หลังวิกฤตกาลโรคติด

เชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธ์ใหม่ 2019 (โควิด-19).วารสารศิลปะศาสตรมหาวิทยาลัย

ธรรมศาสตร์,20(2),402-420.

ปฏิมาศ นิตยาชิต และธนาภรณ์ ทัศนภักดิ์.(2560). การจัดการองค์ประกอบการท่องเที่ยววิถี

พุทธอย่างยั่งยืนจังหวัดกาฬสินธุ์.วารสารวิชาการ คณะวิทยาการจัดการมหาวิทยาลัย

ราชภัฏมหาสารคาม,2(4),7-24.

มนตรี สหชัยรุ่งเรือง.(2563). การส่งเสริมการมีส่วนร่วมของคนรุ่นใหม่ในการจัดกิจกรรมทาง

พระพุทธศาสนา.วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์,8(7),28-39.

สมชาย ชมภูน้อย.(2560). แนวทางการเพิ่มมูลค่าการท่องเที่ยวชุมชน กรณีศึกษาชุมชนบ้าน

เชียง จังหวัดอุดรธานี.การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย กระทรวงการท่องเที่ยวและ

กีฬา.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.(2563). แผนพัฒนาเศรษฐกิจ

และสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ.2560-2564).กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ไทยปริ้นติ้ง เซ็นเตอร์.

Best, J. W. (1997). Research in Education (3rd ed.). Englewood Cliffs N.J.:

Prentice-Hall