การพัฒนาทักษะการอ่านทำนองเสนาะบน แอพพลิเคชั่นคาราโอเกะ สำหรับนักศึกษาวิชาชีพครู สาขาวิชาภาษาไทย มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ

Main Article Content

อรอนุตร ธรรมจักร

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบทักษะความสามารถทางการอ่านทำนองเสนาะก่อนและหลังการจัดกิจกรรมการพัฒนาทักษะการอ่านทำนองเสนาะบนแอพพลิเคชั่นคาราโอเกะ ของนักศึกษาวิชาชีพครูสาขาวิชาภาษาไทย และ 2) ศึกษาความพึงพอใจต่อกิจกรรมการพัฒนาทักษะการอ่านทำนองเสนาะบนแอพพลิเคชั่นคาราโอเกะของนักศึกษาวิชาชีพครูสาขาวิชาภาษาไทย  กลุ่มตัวอย่าง เป็นนักศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาวิชาภาษาไทย มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ ที่ลงทะเบียนเรียนในรายวิชา ศิลปะการอ่านออกเสียง ในปีการศึกษาที่ 2564 จำนวน 55 คน ได้มาโดยใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling)   เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) เครื่องมือในการพัฒนาทักษะการอ่านทำนองเสนาะ ได้แก่ 1.1) สื่อแอพพลิเคชั่นคาราโอเกะ“การอ่านทำนองเสนาะ” ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น 1.2) แอพพลิเคชั่น WeSing คาราโอเกะ  2) เครื่องมือในการวัดและประเมินผล ได้แก่ 1) แบบประเมินความสามารถการอ่านทำนองเสนาะ และ 2) แบบประเมินความพึงพอใจต่อการจัดการพัฒนาทักษะการอ่านทำนองเสนาะ ดําเนินการพัฒนาทักษะการอ่านทำนองเสนาะ เป็นเวลา 4 สัปดาห์ โดยการบรรยายและสาธิตจากสื่อแอพพลิเคชั่น 4 ชั่วโมงและฝึกปฏิบัติจากแอพพลิเคชั่นด้วยตนเองเพิ่มเติมสัปดาห์ละ 4 ชั่วโมง รวมทั้งหมด 32 ชั่วโมง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วย ร้อยละ  ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและสถิตที่ใช้ทดสอบสมมติฐาน t-test ผลการวิจัย พบว่า 1) ผู้เรียนที่ได้รับการพัฒนาทักษะการอ่านทำนองเสนาะบนแอพพลิเคชั่นคาราโอเกะ มีทักษะความสามารถทางการอ่านทำนองเสนาะหลังจัดกิจกรรมสูงกว่าก่อนการจัดกิจกรรม ตามนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) นักศึกษาที่มีความพึงพอใจต่อกิจกรรมการพัฒนาทักษะการอ่านทำนองเสนาะ บนแอพพลิเคชั่น คาราโอเกะ ในระดับมากที่สุด โดยมีค่าคะแนนความพึงพอใจในภาพรวมเฉลี่ยอยู่ที่ 4.68 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.52


 

Article Details

บท
Research Articles

References

ครรชิต จุฑาพรมณี. (2559). รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะของครูภาษาไทยสำหรับโรงเรียนนานาชาติ. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. ปีที่ 7(2) : 126 -135.

จิรภา โนนทิง. (2550). การพัฒนาทักษะการอ่านออกเสียงคำควลกล้ำโดยใช้เพลงคาราโอเกะเป็นสื่อของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนโคกม่วงทองวิทยา จังหวัดหนองบัวลำภู. วิทยานิพนธ์ แขนงวิชาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ชัยยงค์ พรหมวงศ์. (2537). “การทดสอบประสิทธิภาพชุดการสอน”. เอกสารการสอนชุดวิชา. เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา หน่วยที่1- 5. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัย

สุโขทัยธรรมาธิราช.

ธเนศ ขำเกิด. (2555). สมรรถนะเฉพาะ ของครูภาษาไทย และตัวบ่งชี้, [Online]. สืบค้นจาก https://www.gotoknow.org/posts/74704. (วันที่สืบค้นข้อมูล: 4 ตุลาคม 2563).

นฤมล ศิระวงษ์. (2548). การพัฒนารูปแบบบทเรียนออนไลน์วิชาการเขียนหนังสือเพื่อการพิมพ์ในระดับอุดมศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

บรรพต ศิริชัย. (2557). “การสอนอ่านทำนองเสนาะในโรงเรียนมัธยมศึกษาเขตกรุงเทพมหานคร”, วารสารสถาบันวัฒนธรรมและศิลปะ. มหาวิทยาลัยศรีนครินทร วิโรฒ.ปีที่ 16 (1) : 93-104.

บุญชม ศรีสะอาด. (2553). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น.

บุรินทร์ รุจจนพันธุ์. 2548. การศึกษาพฤติกรรมการใช้บริการจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ของบุคลากรวิทยาลัยโยนก, (ออนไลน์).วันที่สืบค้น : 15 มีนาคม 2563

http://www.thaiall.com/research/burinresearch.doc.

ปิ่นทอง ทองเฟื่องและธวัชชัย สหพงษ์. (2558). การพัฒนาแอพพลิเคชั่นบนแอดนดรอยด์ เรื่องรักสุขภาพ. ใน เอกสารการประชุมวิชาการและการนำเสนอผลงานนระดับชาติ ครั้งที่ 1 เรื่อง การจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม”, (Proceedings). วันที่ 12-13 พฤษภาคม 2558 ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม จังหวัดมหาสารคาม, (เดือนพฤษภาคม) หน้า 12-19.

พิณพนธ์ คงวิจิตต์. (2564). สืบสายเสียงเสนาะปัญหาและแนวทางการจัดกิจกรรมการเรียนรู้การอ่านทำนองเสนาะในระดับอุดมศึกษา. วารสารภาษาศาสนาและวัฒนธรรม. ปีที่ 10(2) : 201-221.

สุธามาศ คชรัตน์ และ พุทธชาด ลิ้มศิริเรืองไร. (2557). การพัฒนาทักษะการออกเสียงภาษาอังกฤษโดยใช้แบบฝึกสัทอักษรภาษาอังกฤษ. สาขาภาษาอังกฤษ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.

มนตรี แย้มกสิกร. (2551). การเลือกใช้เกณฑ์ประสิทธิภาพในการวิจัยและพัฒนาสื่อการสอนครู : E1/E2 และ 90/90 standard. วารสารศึกษาศาสตร์. 19(1).

รมณียา สุรธรรมจรรยา. (2558). ผลการใช้แอพพลิเคชั่นสาหรับสอนคาศัพท์ภาษาอังกฤษบนแท็บเล็ตวิชาภาษาอังกฤษสาหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 สังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาราชบุรี เขต 2. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยศิลปากร.

รัฐกรณ์ คิดการ. (2551). การพัฒนารูปแบบการสอนบนเว็บโดยใช้กลยุทธ์การจัดการความรู้รายวิชาเทคโนโลยีการศึกษา ในระดับอุดมศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัย ศรีนครินทร์วิโรฒ.

วิวัฒน์ มีสุวรรณ์. (2551). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนผ่านเครือข่ายไร้สายบนเครื่องช่วยงานส่วนบุคคลแบบดิจิทัล. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

วิลัยพร ไชยสิทธิ์. (2555). การพัฒนาแอพพลิเคชั่นฝึกทักษะทางคณิตศาสตร์บนเครื่องคอมพิวเตอร์แท็บเล็ต สำหรับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1. บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง.

ศิริมาส ชีวะบุตร . (2545). แนวทางการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนการอ่านทำนองเสนาะ สำหรับระดับมัธยมศึกษาตอนต้นในโรงเรียนสังกัดกรมสามัญศึกษากรุงเทพมหานคร. เชียงใหม่ : มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ .

อนุศร หงส์ขุนทด. (2563). หลักสูตรฐานสมรรถนะ, (ออนไลน์). สืบค้นจาก http://krukob.com/web/1-159/. (วันที่สืบค้นข้อมูล: 4 ตุลาคม 2563).