การส่งเสริมการมีส่วนร่วมของสมาชิกกลุ่มอาชีพในอำเภอนาจะหลวย จังหวัดอุบลราชธานี

Main Article Content

จันทร์ชนก คุชิตา
ประสิทธิ์ กุลบุญญา
ไพศาล พากเพียร

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการมีส่วนร่วมของสมาชิกกลุ่มอาชีพ ในอำเภอนาจะหลวย  จังหวัดอุบลราชธานี และเพื่อศึกษาการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของสมาชิกกลุ่มอาชีพ ในอำเภอนาจะหลวย  จังหวัดอุบลราชธานี  ที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ สมาชิกกลุ่มอาชีพ ในอำเภอนาจะหลวย  จังหวัดอุบลราชธานี จากกลุ่มอาชีพ 68 กลุ่ม  กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่าง โดยใช้ตารางของ Krejcie and Morgan ได้กลุ่มตัวอย่าง 227 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า การมีส่วนร่วมของสมาชิกกลุ่มอาชีพในอำเภอนาจะหลวย จังหวัดอุบลราชธานี โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง คือ ด้านงบประมาณ ผู้มีอำนาจถอนเงินฝากหรือผู้มีหน้าที่เกี่ยวกับการเบิกจ่ายมีการแต่งตั้งในรูปคณะกรรมการ ด้านการรวมกลุ่ม มีการจัดตั้งกลุ่มอาชีพเป็นไปตามความต้องการของสมาชิกที่จัดตั้ง  ด้านการบริหารจัดการ มีการแต่งตั้งคณะกรรมการชุดต่างๆ ตามที่สมาชิกเห็นชอบ ด้านการฝึกอบรม มีการแจ้งให้สมาชิกทราบถึงโครงการฝึกอบรมทุกครั้งที่มีการอบรม และด้านการประเมินผล  มีกรรมการประเมินผลได้รับการเลือกโดยสมาชิกกลุ่ม การส่งเสริมการมีส่วนร่วมของสมาชิกกลุ่มอาชีพ ในอำเภอนาจะหลวย จังหวัดอุบลราชธานี พบว่าการจัดตั้งกลุ่มในชุมชนขึ้นให้มีคณะกรรมการในการบริหารจัดการกลุ่มอาชีพ หน่วยงานของรัฐบาลหรืออำเภอนาจะหลวยช่วยสนับสนุนโครงการที่มีประโยชน์เพื่อเสริมรายได้ในชุมชน ด้านการบริหารจัดการควรดำเนินการส่งเสริมให้มีโครงการเลี้ยงวัวหรือโครงการเลี้ยงไก่ ด้านงบประมาณ ควรดำเนินงานให้ประชาชนได้กู้เงินในการจัดทำหรือก่อตั้งกลุ่มอาชีพในชุมชน ด้านการฝึกอบรม ควรดำเนินการโดยจัดให้มีวิทยากรมาให้ความรู้ในกลุ่มอาชีพในชุมชน ด้านการประเมินผล ควรดำเนินการโดยมีการประเมินผลที่ชัดเจนจัดให้มีการประเมินผลในรอบ 3 เดือน/ครั้ง และหน่วยงานภาครัฐและองค์กรที่เกี่ยวข้องต้องให้ความสำคัญในการประเมินผลของโครงการของกลุ่มสมาชิกอาชีพ


 

Article Details

บท
Research Articles
Author Biographies

ประสิทธิ์ กุลบุญญา , ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี

Ubon Ratchathani Rajabhat University

ไพศาล พากเพียร, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี

Ubon Ratchathani Rajabhat University

References

กรรณิการ์ ทํามา. (2557), แนวทางการพัฒนากลุ่มอาชีพ : กรณีศึกษากลุ่มแปรรูปผลิตภัณฑ์

จักสานจากต้นกกบ้านหว้า ตำบลบ้านหว้า อำเมืองขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น. บัณฑิตวิทยาลัย :มหาวิทยาลัยขอนแก่น,

การปกครอง, กรม. (2553), คู่มือพนักงานส่วนตำบล. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ส่วนท้องถิ่นกรมการปกครอง.

ซุไรดา เจะแว. (2555), การพัฒนาการส่งเสริมกลุ่มอาชีพขององค์การบริหารส่วนตำบลสาบัน

อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

นฤมล พึ่งกิจ และคณะ. (2559), การพัฒนากลุ่มอาชีพสู่การเป็นวิสาหกิจชุมชนในเขต

เทศบาลตำบลพุเตย จังหวัดเพชรบูรณ์. บัณฑิตวิทยาลัย :มหาวิทยาลัยราชภัฏ พระนคร.

บุญใจ ศรีสถิตนรากูร. (2555), การพัฒนาและตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย : คุณสมบัติ

การวัดเชิงจิตวิทยา = Development and Validation of Research

Instruments : Psychometric Properties. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์แห่ง

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

บุญชม ศรีสะอาด. (2554), การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

ผการัตน์ พินิจวัฒน์. (2561), การส่งเสริมอาชีพให้ชุมชน : กรณีศึกษา บ้านโพนไทร ตำบล

เมืองอำเภอเมือง จังหวัดเลย. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย, 2561.

รัฐพล ภุมรินทร์พงศ์ และคณะ. (2562), การพัฒนาอาชีพกลุ่มผู้นำสตรีชุมชนบ้านสันติสุข

ตำบลน้ำรึม อำเภอเมือง จังหวัดตาก. วารสารวิชาการรับใช้สังคม มทร.ล้านนา, 3, 2

(พฤศภาคม-สิงหาคม 2562, 55-63.

สุชานาถ พัฒนวงศ์งาม. (2554), รูปแบบการจัดการความรู้เพื่อเสริมความเข้มแข็งของชุมชน

: กรณีศึกษากลุ่มทองเหลืองสาน อำเภอเมือง จังหวัดฉะเชิงเทรา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์.

ฮามีเสาะ เจ๊ะเด็ง. (2558), แนวทางการพัฒนากลุ่มอาชีพสตรีเครื่องแกงขององค์การบริหาร

ส่วนตำบล บ้านโหนด อำเภอสะบ้าย้อย จังหวัดสงขลา. บัณฑิตวิทยาลัย :

มหาวิทยาลัยขอนแก่น.