การประยุกต์ใช้หลักพละธรรม 4 ในการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงพระพุทธศาสนาของวัดหัวถนน อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา

Main Article Content

พระลิขิต สุเขฐิโต (สอนมา)
พระครูวิจิตรศีลาจาร
พระครูวิจิตรสาธุรส
สืบพงศ์ ธรรมชาติ
ธีรเดช สายเส็น

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์  3 ประการ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาแนวคิดเกี่ยวกับการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงพระพุทธศาสนาของวัดหัวถนน อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา 2) เพื่อศึกษาหลักพละธรรม 4 ที่ปรากฏในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาท และ3) เพื่อประยุกต์ใช้หลักพละธรรม 4 ในการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงพระพุทธศาสนาของวัดหัวถนน อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา ดำเนินการวิจัยโดยใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-Depth-interview) ผลการวิจัยพบว่า :


แนวคิดเกี่ยวกับการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงพระพุทธศาสนา พบว่าวัดหัวถนนเป็นวัดที่มีการจัดการท่องเที่ยวเชิงพระพุทธศาสนา เพื่อเยี่ยมชมหรือสักการบูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ อันได้แก่ พระบรมสารีริกธาตุ รูปเหมือนหลวงปู่ทวดเหยียบน้ำทะเลจืด เพื่อขอพรในสิ่งที่เป็นสิริมงคลแก่ชีวิตครอบครัว การงาน และอาชีพ ตามความเชื่อของนักท่องเที่ยว นอกจากนี้ในมุมมองของนักท่องเที่ยวบางกลุ่ม บางคณะ อาจจะต้องเยี่ยมชมในแง่ของศิลปะสถาปัตยกรรม ประติมากรรม งานบุญประเพณีวัฒนธรรมที่ทางวัดได้จัดขึ้นอีกประการหนึ่งวัดหัวถนนสามารถดึงนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทย ชาวต่างชาติเป็นประจำทุกวัน ที่มาพักผ่อนหย่อนใจในรูปแบบที่หลากหลาย ภายใต้การบริหารจัดการของเจ้าอาวาสรูปปัจจุบัน นอกจากจะเป็นเรื่องพระพุทธศาสนา ยังมีศาสนาอื่นเข้ามาเกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว อันได้แก่ ประติมากรรมนารายณ์เกษียณสมุทร ซึ่งเป็นโบราณสถานที่ทางวัดได้จัดสร้างอย่างงดงามเสริมคุณค่าทางจิตวิญญาณต่อผู้พบเห็น ดังนั้นวัดหัวถนนจึงจัดว่าเป็นวัดที่ทรงคุณค่าและยังประโยชน์ให้แก่นักท่องเที่ยวได้อย่างแท้จริง หลักพละธรรม 4 ที่ปรากฏในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาท พบว่า หลักพละธรรม 4 ได้แก่ 1) ปัญญาพละ ช่วยให้พระพุทธศาสนาสร้างโอกาสในการดำเนินชีวิต การดำรงตนด้วยความรู้ ความสามารถ ความคิดสร้างสรรค์ ผ่านกระบวนการคิดอย่างรอบคอบถูกต้อง 2) วิริยะพละ ก่อให้เกิดแนวปฏิบัติในการแสวงหาความรัก ความพอใจที่เกิดจากการใคร่ครวญ ตริตรอง ตรวจสอบอย่างถูกต้องอยู่เสมอ 3) ด้านอนวัชชพละ ช่วยส่งเสริมความสุจริตปรับตัวให้เกิดความเที่ยงธรรม ลดความเลื่อมล้ำทางสังคมปฏิบัติหน้าที่อย่างมีระเบียบวินัยอย่างเคร่งครัด โดยมีสุจริต 3 เป็นตัวกำหนดในการกระทำด้วยกาย วาจา และใจที่ซื่อตรง และ4) สังคหพละ เป็นการสงเคราะห์ช่วยเหลือ ร่วมมือ ให้เข้ากันอย่างกลมกลืนเสียสละปรารถนาดี ละโลภ โกรธ และหลง มีกาย วาจา ใจที่สุจริตสะอาด โปร่งใส ช่วยเหลือเกื้อกูลผู้อื่นตามกำลังอย่างสม่ำเสมอ

Article Details

บท
Research Articles
Author Biographies

พระครูวิจิตรศีลาจาร, อาจารย์ ดร., สาขาวิชาพระพุทธศาสนา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตนครศรีธรรมราช

Mahachulalongkornrajavidyalaya University

พระครูวิจิตรสาธุรส, อาจารย์,ดร. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตนครศรีธรรมราช

Mahachulalongkornrajavidyalaya University

สืบพงศ์ ธรรมชาติ , รองศาสตราจารย์ ดร., มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา

Songkhla Rajabhat University

ธีรเดช สายเส็น, อาจารย์,ดร. สาขาวิชาพระพุทธศาสนา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตนครศรีธรรมราช

Mahachulalongkornrajavidyalaya University

References

พระมหาสุทิตย์อาภากโร (อบอุ่น). การท่องเที่ยวแนวพุทธ. จุลสารการท่องเที่ยว. ปีที่ 18 เล่มที่ 1 2542.

ภัทร์สุภา ลีลานภาพรรณ์. (2551). “การท่องเที่ยวเชิงพุทธ : ศึกษาเฉพาะกรณีแหล่งวัฒนธรรมในกรุงเทพมหานคร”. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย,

วีรณัฐ โรจนประภา. (2559). “การนำหลักพุทธธรรมมาประยุกต์ใช้ในการสร้างสังคมแห่งสัมมาปัญญาในประเทศไทย”. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศรีปทุม,

ภวัต นิตย์โชติ. (2560) “การพัฒนาสมรรถนะตามหลักพละ 4 ของบุคลากรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดสงขลา”. บัณฑิตวิทยาลัย:: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย,

พระอลงกรณ์ ฐานสิริ (แก้ววิเศษ). (2561) “ศึกษาแนวทางส่งเสริมการท่องเทียวเชิงพุทธของวัดพระพุทธรูป 9 ส. ในจังหวัดหนองคาย”. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539) พระไตรปิฏกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, กรุงเทพฯ :โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.