กระบวนการสร้างจิตสำนึกเชิงพุทธในการป้องกันและเฝ้าระวังปัญหายาเสพติดตามแนวชายแดนจังหวัดเลย

Main Article Content

พระมหาสุภวิชญ์ ปภสฺสโร (วิราม)
พัทธนันท์ นวลน้อย
เอกลักษณ์ คงทิพย์
จารุกิตติ์ พิริยสุวัฒน์

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนากระบวนการสร้างจิตสำนึกเชิงพุทธในการป้องกันและเฝ้าระวังปัญหายาเสพติดตามแนวชายแดนจังหวัดเลย เป็นการวิจัยและพัฒนา (Research and Development: R&D) โดยมีขั้นตอนการศึกษา 2 รูปแบบ คือ การวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative research) และการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (PAR: Participatory Action Research) ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ยังขาดความเข้าใจ และไม่สามารถบอกได้ว่า การสร้างจิตสำนึกเชิงพุทธในการป้องกันและเฝ้าระวังปัญหายาเสพติดมีส่วนช่วยลดปัญหาที่เกิดขึ้นได้อย่างไร ซึ่งสาเหตุที่ยาเสพติดแพร่ระบาดเข้าสู่หมู่บ้าน/ชุมชน ได้แก่ 1) คน อ่อนแอ ขาดจิตสำนึก และความตระหนัก เด็กและเยาวชน คึกคะนอง อยากรู้อยากลอง ต้องการให้เพื่อนฝูงยอมรับ ครอบครัวแตกแยก ขาดความรัก ความอบอุ่น ขาดที่ยึดเหนี่ยว 2) ตัวยา ฤทธิ์ในการมอมเมาของยาเสพติด ทำให้ผู้เสพหลงใหลในความสุข ความเคลิบเคลิ้ม จนไม่สามารถกลับมามีความสุขในชีวิตปกติได้ ต้องพึ่งพาใช้ยาเสพติดไปตลอด 3) สิ่งแวดล้อม ได้แก่ อบายมุขรอบตัว ครอบครัวบกพร่อง ไม่มีเวลา ห่างเหิน ขาดการปลูกฝังขัดเกลาในสิ่งที่ดี และหมู่บ้าน/ชุมชนอ่อนแอ ขาดแบบอย่างที่ดี ขาดความสามัคคี ต่างคนต่างอยู่ ไม่สนใจต่อกัน นอกจากนี้กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่รับข้อมูลการป้องกันและเฝ้าระวังปัญหายาเสพติดจากสื่อต่างๆ กิจกรรมในครั้งนี้ถือเป็นโอกาสที่สามารถช่วยให้ประชาชนในพื้นที่สามารถนำการสร้างจิตสำนึกเชิงพุทธไปช่วยปลูกฝังหรือกล่อมเกลาเยาวชนในพื้นที่ เพื่อให้เยาวชนหรือคนในชุมชนรู้จักผิดชอบชั่วดีและให้มีการศึกษาหลักธรรมคำสอนทางพระพุทธศาสนามาปรับใช้ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และฝึกฝนตนเองด้วย


 

Article Details

บท
Research Articles
Author Biographies

พัทธนันท์ นวลน้อย, นักวิชาการคอมพิวเตอร์. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณาชวิทยาลัย วิทยาลัยสงฆ์เลย

Mahachulalongkornrajavidyalaya University

เอกลักษณ์ คงทิพย์ , นักวิชาการการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณาชวิทยาลัย วิทยาลัยสงฆ์เลย

Mahachulalongkornrajavidyalaya University

จารุกิตติ์ พิริยสุวัฒน์, อาจารย์ ดร., สาขาวิชาพระพุทธศาสนา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณาชวิทยาลัย วิทยาลัยสงฆ์เลย

Mahachulalongkornrajavidyalaya University

References

สมิต วัฒนธัญญกรรม และคณะ. (2556). การแพร่ระบาดของสารเสพติดและปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการเสพสารเสพติดของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาในจังหวัดปทุมธานี, (กรุงเทพฯ : สถาบันธัญญารักษ์ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข).

สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด. (2552). แนวทางการดําเนินงานป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในสถานศึกษา. กรุงเทพ : อรุณการพิมพ์.

______. (2554). นโยบายและยุทธศาสตร์ 5 รั้วในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด. กรุงเทพฯ : อรุณการพิมพ์.

สัมภาษณ์, ร.ต.ท.ยรรยงค์ ศรีบุตร, รอง สว.(ป.) สภ. เชียงคาน อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย, 17 กรกฎาคม 2563.

สัมภาษณ์, นายอภินันท์ สุวรรณโค, ปลัดป้องกันอำเภอเชียงคาน ตำบลเชียงคาน อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย, 17 กรกฎาคม, 2563.

สัมภาษณ์, นายกฤติชฎา บุญล้อมรัตน์, ปลัดป้องกันอำเภอท่าลี่ ตำบลท่าลี่ อำเภอท่าลี่ จังหวัดเลย, 17 กรกฎาคม 2563.

สัมภาษณ์, ว่าที่ ร.ต.ชัยนันท์ สอนพรหม, นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ สำนักงานสาธารณสุขอำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย, 17 กรกฎาคม 2563.