การใช้สื่อออนไลน์และความรู้ทางการเมืองที่ส่งผล ต่อการมีส่วนร่วมภาคพลเมือง

Main Article Content

ธมกร ทยาประศาสน์
ธรรมนิตย์ วราภรณ์
ชัยยศ จินารัตน์

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อสำรวจและศึกษาระดับปัจจัยส่วนบุคคล การใช้สื่อออนไลน์ ความรู้ทางการเมืองและการมีส่วนร่วมภาคพลเมือง 2) เพื่อศึกษาถึงความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล การใช้สื่อออนไลน์ ความรู้ทางการเมืองและการมีส่วนร่วมภาคพลเมือง และ 3) เพื่ออธิบายและพยากรณ์การใช้สื่อออนไลน์ ความรู้ทางการเมืองและการมีส่วนร่วมภาคพลเมือง กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ประชาชน นักเรียน นักศึกษา ที่อาศัยอยู่ในเขตจังหวัดอุบลราชธานี ยโสธร ร้อยเอ็ด และอำนาจเจริญ จำนวน 318 คน เครื่องมือที่ใช้ได้แก่แบบสอบถาม สถิติที่ใช้คือ ความถี่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ความแปรปรวน ความสัมพันธ์ และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า 1) กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุระหว่าง 18-25 ปี กำลังศึกษาอยู่ในระดับ ปวส. และมีอาชีพรับจ้างไปพร้อมกัน ลักษณะการใช้สื่อออนไลน์ ไม่เคยทำกิจกรรมสาธารณะหรือการกุศลมาก่อนเลย และนิยมใช้ Facebook รวมถึง ใช้ครั้งละไม่เกิน 30 นาที อีกทั้งยังไม่เคยส่งข้อความทางการเมือง หรือ Upload ข่าวการเมือง หรือข้อมูลการเมือง ตลอดจนถึงไม่เคยแสดงความเห็นทางการเมืองผ่านสื่อออนไลน์ และไม่เคยได้รับความรู้ทางการเมืองผ่านสื่อออนไลน์เลย 2) ปัจจัยส่วนบุคคลที่ส่งผลกระทบต่อการใช้สื่อออนไลน์ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ประกอบด้วย อายุและการศึกษา โดยมีผลกระทบต่อการทำกิจกรรมสาธารณะ ร้อยละ 14 ต่อเวลาในการใช้แต่ละครั้ง ร้อยละ 11 และต่อการส่งต่อความข้อความหรือภาพการเมือง ร้อยละ 8 โดยการใช้สื่อออนไลน์ประเภทการทำกิจกรรมสาธารณะ มีอิทธิพลต่อความรอบรู้ทางการเมืองที่ร้อยละ 10 และมีอิทธิพลต่อการมีส่วนร่วมภาคพลเมืองร้อยละ 7 เวลาในการใช้สื่อออนไลน์มีผลกระทบต่อความรู้ทางการเมือง ร้อยละ 2 และกระทบต่อการมีส่วนร่วมภาคพลเมือง ร้อยละ 4 การส่งต่อข้อความ หรือภาพการเมือง มีอิทธิพลต่อความรู้ทางการเมือง ร้อยละ 9 และส่งผลต่อการมีส่วนร่วมภาคพลเมือง ร้อยละ 12  3)ความสามารถส่วนบุคคล อธิบายความแปรปรวนร่วมกันกับ ความรอบรู้ภายนอก และกระบวนการทางการเมืองมีอิทธิพลต่อการมีส่วนร่วมทางการเมืองภาคพลเมืองได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยมีสัมประสิทธิ์พยากรณ์ร่วมกันได้ที่ร้อยละ 92


 

Article Details

บท
Research Articles
Author Biographies

ธรรมนิตย์ วราภรณ์ , มหาวิทยาลัยการจัดการและเทคโนโลยีอีสเทิร์น

The Eastern University of Management and Technology

ชัยยศ จินารัตน์, มหาวิทยาลัยการจัดการและเทคโนโลยีอีสเทิร์น

The Eastern University of Management and Technology

References

นุกูล ชิ้นฟีก วรลักษณ์ ลลิตศศิวิมล อันดุลเลาะมัน มอลอ และสามารถ วราดิศัย. (2562). การใช้สื่อสังคมออนไลน์ ในการสื่อสารทางการเมือง และการตัดสินใจเลือกตั้งของนักศึกษา ระดับอุดมศึกษา ในจังหวัดสงขลา, การประชุมหาดใหญ่วิชาการ ระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 10, 921-929.

พรอัมรินทร์ พรหมเกิด (2563). นักเรียน นักศึกษา กับการฟื้นตัวกลับมาชี้นำการเปลี่ยนแปลงการเมืองไทยใหม่อีกครั้ง. 22 สิงหาคม 2563.

แพรวพรรณ ปานนุช. (2562). ความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการเปิดรับสื่อสังคม และการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน ในจังหวัดสุราษฎร์ธานี, วารสารวิทยาการจัดการ, 6(1), 157-175.

Brady et al. (1995). “Social network sites: Definition, history, and scholarship”. Journal of Computer Mediated Communication, vol. 13, no. 1, pp. 210-230.

Bouza, L. (2014). Addressing youth absenteeism in European elections. League of Young Voters in Europe.

Cho, J.,Shah, D.V., Mcleod, J./M., Mcleod, Dm., Sholl, R.M. & Gotlieb R.M. (2009). Campaigns, reflection, and deliberation: Advancing an O-S-R-O-R model of communication effects. Communication Theory, 19(1), 66.

Coleman, R.,Lieber, P., Mendelson, A.L. and Kurpius, D.D. (2008). “Public life and the internet: if you build a better website, will citizens become? New Medial and Society, Vol. 10 No.2, 179-201.

Gastil, J. & Xenos, M. (2010). Of Attitudes and engagement: Clarifying the reciprocal relationship between civic attitudes and political participation. Journal of communication, 60(2): 318-343.

Gerbaudo, P.(2018). The Digital Party: Political Organization and Online Democracy. Pluto Press, London and New York, NY.

Gerber. (2008). The mediating path to a stronger citizenship: Online and offline networks, weak ties, & civic engagement. Communication Research, 38(3), 397-421.

Marx & Nguyen. (2016). Deliberation, democratic decision -making and internal political efficacy. Political Behavior, 27 (1). 49-69.

Miller, W. E., Miller, A. H., & Schneider, E. J. (2014). American National Election Studies Data Sourcebook. Cambridge: Harvard.

Norris, P. (2001). Digital Divide: Civic engagement, information poverty, and the Internet. Cambridge, UK: Cambridge University Press.

Penteado, C.L.C., Santos, M.B.P., Araujo, R. and de, P.A. (2014), “Democracia, sociedade civil organizada internat: estrategias de articulacao online da rede nossa Sao Paulo”, Sociologies, Vol.16 No.36,pp. 206-235.

Pentland, A. (2014). Social Physics: How Good Ideas Spread – the Lessons from a New Science. The Penguin Press, New York, NY.

Valenzuela, S., Park, N., & Kee, K F. (2009). Is there social capital in a social network site:? Facebook use and college students’ life satisfaction, trust, and participation. Journal of Computer-Mediated Communication, 14(4), 875-901.

Xenos, M., & Moy. P. (2007). Direct and differential of the Internet on political and civic engagement. Journal of Communication, 57(4), 704-718.