การวิเคราะห์เส้นทางการยอมรับเทคโนโลยีและพฤติกรรมตั้งใจของครู ที่มีต่อคุณภาพการเรียนออนไลน์
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาโครงสร้างการยอมรับเทคโนโลยีตามความเห็นของข้าราชการครูและผู้บริหารโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา 28 จังหวัดศรีสะเกษและยโสธร และ 2) วิเคราะห์เส้นทางระหว่างองค์ประกอบการยอมรับเทคโนโลยีของครูและพฤติกรรมตั้งใจที่มีต่อคุณภาพการเรียนออนไลน์ โดยผู้วิจัยรวบรวมความเห็นจากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 252 คนแล้วนำกลับมาวิเคราะห์ผลด้วยสถิติวิเคราะห์เส้นทาง ผลวิจัยพบว่า 1) โครงสร้างการยอมรับเทคโนโลยีมี 6 องค์ประกอบ ได้แก่ ความกังวลเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ความรอบรู้ด้านคอมพิวเตอร์ คุณภาพระบบ คุณภาพข้อมูล การรับรู้ประโยชน์ และการรับรู้ความสะดวกสบาย โดยแต่ละองค์ประกอบมีน้ำหนักระหว่าง .69-.89 และมีความสามารถในการอธิบายความแปรปรวนร่วมกันได้ร้อยละ 73.51 กับมีค่า KMO ที่ .90 และมีการแจกแจงโดยประมาณแบบ Chi-Square ที่ 3.174 (Sig. 000) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) ผลการวิเคราะห์เส้นทางขององค์ประกอบการยอมรับเทคโนโลยีและพฤติกรรมตั้งใจที่มีผลต่อคุณภาพการเรียนออนไลน์ นอกจากนั้น ความรอบรู้ด้านคอมพิวเตอร์ คุณภาพระบบ และการรับรู้ความสะดวกมีอิทธิพลทางตรงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ต่อพฤติกรรมตั้งใจและคุณภาพการเรียนออนไลน์ โดยมีสัมประสิทธิ์อิทธิพลทางตรงที่ R2 = .22, .32, .35 ตามลำดับ ความกังวลเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ คุณภาพข้อมูล และการได้รับประโยชน์โดยมีสัมประสิทธิ์อิทธิพลทางตรงต่อพฤติกรรมตั้งใจที่ R2 = .02, .32, .35 ตามลำดับ ในที่สุด พฤติกรรมตั้งใจมีอิทธิพลทางตรงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติต่อคุณภาพการเรียนออนไลน์ และมีสัมประสิทธิ์อิทธิพล R2 = .29 มีความคาดเคลื่อนที่ e = .58
Article Details
References
กมลพิพัฒน์ ธนสิทธิ์และประสพชัย พสุนนท์. (2561). การสุ่มตัวอย่างและการผสานข้อมูลตามแบบแผนการวิจัยแบบผสมวิธี, วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยธนบุรี, 12 (29), 147-158.
กัลยา วานิชย์บัญชา. (2551). การวิเคราะห์สถิติขั้นสูงด้วย SPSS, พิมพ์ครั้งที่ 6, กรุงเทพฯ : ศูนย์หนังสือแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ปรียานุช อภิบุญโยภาส. (2558). การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจในการวิจัยองค์การ, วารสารการจัดการสมัยใหม่, 13(2), 23-36.
ปุญญพัฒน์ ไชยเมล์. (2556). การกำหนดขนาดตัวอย่างสำหรับงานวิจัยเชิงพรรณนาในงานสาธารณสุข, วารสารมหาวิทยาลัยทักษิณ, 16(2), 9-18.
ยุทธ ไกยวรรณ. (2556). การวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้างด้วย AMOS, พิมพ์ครั้งที่ 1, กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วีระศักดิ์ จินารัตน์. (2564). ระเบียบวิธีวิจัยสมัยใหม่, พิมพ์ครั้งที่ 1; อุบลราชธานี, ยงสวัสดิ์ อินเตอร์กรุ๊ป จำกัด.
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย (2021) https://brandinside.asia/e-learning-challenge-in-covid/
Chuaychoocherd, N. (2020). The effect of online lessons by inquiry-based learning with module for matthayomsuksa 6 students, E-Journal of Media Innovation and Creative Electronic, 3(2), 52-64.
Intrara, P., & Deepanya, W. (2014). The development of computer assisted instruction lesson on electronic circuit multimedia for secondary school student (grade 9), RMUTP Research Journal Special Issue, the 5th Rajamangala University of Technology National Conference, 128-133.
Ngamkanok, S. (2015). The development teachers' capability in using information technology to administer educational institutions in Eastern region, Journal of Education and Social Development, 11(2), 282-292.
Phabpimjai, S., Suthanatphakchana & Thongsorn, P. (2018). The development of learning achievement in multimedia introduction to the technology for students in grade 3, Academic Journal of Burirum Rajabhat University, 10(1), 149-165.
Srisutsue, N., & Boonprasitt, D. (2018). The use of an information technology for learning management of secondary school teachers, Suan Dusit Graduate School Academic Journal, 15(1), 221-233.
Topitak, K. (2017). Research and development of teacher's potential for authentic learning management on school-based training, Phuget Rajabhat University Academic Journal, 13(1), 1-24.
Wayo, W., Charoennukul, Kankaynat, C., & Konyai, J. (2020). Online learning under the covid-19 epidemic: concepts and applications of teaching and learning management, Regional Health Promotion Center 9 Journal, 14(34), 285-298.
Yuennan, C., Eiamchai, K., & Niamhom, P. (2020). Authentic assessment in online learning: moving to multimodal assessment for learners' achievement, Journal of Nursing, Public Health, and Education, 21(3), 115-126.
Yuphram, N. (2015). Influence factors for acceptance of the eDLTV educational system in Chathaburi, thesis of Mahanakorn University of Technology.