ความสัมพันธ์ของปัจจัยประชากรศาสตร์กับ 5M model ในพื้นที่ตำบลวังยาง อำเภอศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรี

Main Article Content

สุธาทิพย์ เลิศวิวัฒน์ชัยพร
มนชนก สุริยะ

บทคัดย่อ

บทความฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาข้อมูลประชากรศาสตร์ของเกษตรกรในตำบลวังยาง อำเภอศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรี 2) เพื่อศึกษาระดับความคิดเห็นของปัจจัย 5M Model ของเกษตรกร ในตำบลวังยาง อำเภอศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรี และ3) เพื่อเปรียบเทียบปัจจัยประชากรศาสตร์กับ 5M model ที่ส่งผลต่อปัจจัยการรู้ 5M Model การทำนาแห้วในพื้นที่ ตำบลวังยาง อำเภอศรีประจันต์ โดยใช้การวิจัยเชิงปริมาณ จากประชากรเกษตรกรชาวนาแห้ว จำนวน 3,652 คน  กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 361 คน การใช้เครื่องมือวิจัยจากแบบสอบถาม ในการวิเคราะห์ข้อมูลและหาค่าสถิติ ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบ ค่า T-Test สถิติทดสอบค่า F-Test ในการหาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยส่วนบุคคลประกอบด้วย เพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ สถานภาพ  และรายได้เฉลี่ยต่อเดือน ส่งผลต่อปัจจัยการรับรู้ (5M Model) ของการทำนาแห้ว ประกอบด้วย ด้านเกษตรกร (Man) มีพื้นที่ในการทำนาแห้วมากพอในการบริหารจัดการ ด้านเงินทุน (Money) เป็นการกู้ยืมเงินมาลงทุนเครื่องจักรการผลิต (Machine) มีการใช้วัสดุอุปกรณ์ในการปฏิบัติงานอย่างมีคุณภาพและความเหมาะสม และด้านการบริหารจัดการในการผลิต (Management) มีการติดตาม ตรวจสอบ และควบคุมการปฏิบัติงานในกระบวนการผลิต


 

Article Details

บท
Research Articles
Author Biography

มนชนก สุริยะ, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ

Rajamangala University of Technology Suvarnabhumi

References

กรมส่งเสริมการเกษตร. (2549).แนวความคิดเกี่ยวกับรัฐวิสาหกิจชุมชน.กรุงเทพฯ : สำนักงานเลขานุการคณะกรรมการส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน.

ขันติรักษ์ ตันติเฉลิม. (2549).ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานบรรเทาสาธารณภัยของข้าราชการสำนักโยธาธิการกลาโหม.วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา.

รายงานประจำปีสำนักงานเกษตรจังหวัดสุพรรณบุรี. (2563). ข้อมูลพื้นฐานและข้อมูลด้าน

การเกษตรและสหกรณ์จังหวัดสุพรรณบุรี ประจำปี 2563.สืบค้นข้อมูล

https://www.opsmoac.go.th/suphanburi-dwl-preview-421191791950

สำนักงานเกษตรอำเภอศรีประจันต์. (2557).สถิติการเกษตรของประเทศไทย ปี 2557.

กรุงเทพฯ.

อนุชา ยันตร์ปกรณ์. (2548).ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ในหน่วยงานพัฒนาการเคลื่อนที่ 11 จังหวัดกาญจนบุรี.มหาวิทยาลัยบูรพา:ชลบุรี.