ภาวะผู้นำยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อสมรรถนะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศในศตวรรษที่ 21 ของครูโรงเรียนเอกชน จังหวัดอุบลราชธานี
##plugins.themes.bootstrap3.article.main##
摘要
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับภาวะผู้นำยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา โรงเรียนเอกชนจังหวัดอุบลราชธานี 2) สมรรถนะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศในศตวรรษที่ 21 ของครูโรงเรียนเอกชนจังหวัดอุบลราชธานี และ 3) ภาวะผู้นำยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อสมรรถนะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศในศตวรรษที่ 21 ของครูโรงเรียนเอกชนจังหวัดอุบลราชธานี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือ ครูโรงเรียนเอกชนจังหวัดอุบลราชธานี จำนวน 332 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลในการวิจัยครั้งนี้คือ แบบสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับภาวะผู้นำยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อสมรรถนะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศในศตวรรษที่ 21 ของครูโรงเรียนเอกชนจังหวัดอุบลราชธานี สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สันและการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการวิจัยพบว่า 1) ภาวะผู้นำยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนเอกชนจังหวัดอุบลราชธานีโดยรวมอยู่ในระดับมาก 2) สมรรถนะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศในศตวรรษที่ 21 ของครูโรงเรียนเอกชนจังหวัดอุบลราชธานี โดยรวมอยู่ในระดับมาก และ 3) ภาวะผู้นำยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา ที่ส่งผลต่อสมรรถนะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศในศตวรรษที่ 21 ของครูโรงเรียนเอกชนจังหวัดอุบลราชธานี ในภาพรวมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ได้แก่ ด้านการส่งเสริมและผลักดันการใช้ดิจิทัลในการสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ ๆ และด้านการสร้างวัฒนธรรมองค์กรและบรรยากาศการใช้ดิจิทัล สามารถอธิบายความแปรปรวนของสมรรถนะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศในศตวรรษที่ 21 ของครูโรงเรียนเอกชนจังหวัดอุบลราชธานีในภาพรวมได้ร้อยละ 71.90 (R2 = .719)
##plugins.themes.bootstrap3.article.details##
参考
ชัญญาภัค ใยดี. (2561) การศึกษาแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำด้านเทคโนโลยีของผู้บริหาร
สถานศึกษา สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา. วารสารดุษฎีบัณฑิตทางสังคมศาสตร์, 8(1), 150-164.
ณัฏฐณิชา พรปทุมชัยกิจ, อุดมพันธุ์ พิชญ์ประเสริฐ และพงษ์ศักดิ์ ทองพันชั่ง. (2564) ภาวะ
ผู้นำยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา ศรีสะเกษ ยโสธร. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ, 15(2), 50-64
ดวงเดือน ตั้งประเสริฐ. (2557). การศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยี
สารสนเทศและการสื่อสารของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานระดับมัธยมศึกษา ในจังหวัดนครราชสีมา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา.
ต้องลักษณ์ บุญธรรม. (2559). การเป็นผู้นำยุคเศรษฐกิจยุคดิจิทัลกับการพัฒนาที่ยั่งยืนของ
องค์กรทางการศึกษา. วารสารวิชาการครุศาสตร์อุตสาหกรรม พระจอมเกล้าพระนครเหนือ. 7(1), 217-225
ทิวัตถ์ มณีโชติ. (2559). ตำราวิทยาการวิจัยทางการศึกษา. กรุงเทพ: มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร.
นัทธีรัตน์ พีระพันธุ์, อิทธิพัทธ์ สุวทันพรกุล และ แจ่มจันทร์ ศรีอรุณรัศมี. (2559).
แนวทางการพัฒนาและส่งเสริมสมรรถนะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการ
สื่อสารของครูในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนจำกัดคอนพริ้นติ้ง.
นภาภรณ์ ยอดสิน. (2563). การศึกษาสมรรถนะตามมาตรฐานวิชาชีพครูของผู้ประกอบ
วิชาชีพครูในเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม. วารสารสังคมศาสตร์วิจัย, 10(1), 116-128
บุญชม ศรีสะอาด. (2560) การวิจัยเบื้องต้น. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.
พรทิพย์ พลประเสริฐ และ รชฏ สุวรรณกูฏ. (2559). ทักษะของผู้บริหารสถานศึกษาใน
ศตวรรษที่ 21 สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 2. รายงานสืบเนื่องการประชุมวิชาการและการนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติครั้งที่ 1 (น. 1258-1264). มหาวิทยาลัยนครพนม.
พิทักษ์ แก้วสืบ. (2560). สมรรถนะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของครูใน
สถานศึกษา สังกัดเทศบาลเมืองพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยบูรพา.
พรพรรณ บุตตะวงศ์. (2552). การเปรียบเทียบประสิทธิภาพการสอนของครูตามรูปแบบ
พฤติกรรมการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ศรีสะเกษ เขต 4. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
ภัทราพร ธัญกิจเจริญสิน, ศรุดา ชัยสุวรรณและอลงกต ยะไวทย์. (2561). ภาวะผู้นำ
ทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 7.สิกขาวารสารศึกษาศาสตร์. 3(1).
รัตติกรณ์ จงวิศาล. (2556) ภาวะผู้นำ : ทฤษฎี การวิจัยและแนวทางสู่การพัฒนา. กรุงเทพฯ:
สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ศิวพร ศรีมังคละ,จำนง วงษ์ชาชม และละมัย ร่มเย็น. (2561). สมรรถนะด้านการใช้
เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารพื้นฐานของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 3. วารสารบัณฑิตศึกษา, 15(70), 189-197
สุวิมล ทองจำรัสและ สจีวรรณ ทรรพวสุ. (2563) ทักษะผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่
สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 2. วารสารการวิจัยการบริหารการพัฒนา, 10(3), 168-178
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579.
กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.
Yamane, T.. (1967). Elementary sampling theory. Englewood Cliffs: Prentice Hall.