การพัฒนาทักษะการอ่านออกและทักษะการเขียนได้ของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้การจัดการเรียนรู้ ด้วยเทคนิคบันได 5 ขั้นร่วมกับเกม

Main Article Content

เปรมบุรฉัตร สีนุย
ยาใจ พงษ์บริบูรณ์

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) การพัฒนาทักษะการอ่านออกและทักษะการเขียนได้ของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้การจัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิคบันได 5 ขั้นร่วมกับเกมและ 2) พัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชาภาษาไทย เรื่องมาตราตัวสะกด ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ด้วยเทคนิคบันได 5 ขั้น ร่วมกับเกม ให้นักเรียนมีคะแนนเฉลี่ยไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 และมีจำนวนนักเรียนที่ผ่านเกณฑ์ไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 ของนักเรียนทั้งหมด กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนมนตรีศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 4 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 8 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) ใช้รูปแบบการวิจัยเชิงปฏิบัติการ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย แบ่งออกเป็น 3 ประเภท ประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้รายวิชาภาษาไทย เรื่องมาตราตัวสะกด จำนวน 9 แผน 2) แบบสังเกตพฤติกรรมการจัดการเรียนการสอนของครู และ 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาไทย เรื่อง มาตราตัวสะกด จำนวน 30 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าร้อยละ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ ผลการวิจัยพบว่า 1) การพัฒนาทักษะการอ่านของนักเรียน มีคะแนนทักษะการอ่านเฉลี่ยทั้งหมดเท่ากับ 18.40 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 86.23  และมีจำนวนนักเรียนที่ผ่านเกณฑ์ จำนวน 8 คน คิดเป็นร้อยละ 100.00 ของจำนวนนักเรียนทั้งหมด ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 2) การพัฒนาทักษะการเขียนชองนักเรียน มีคะแนนทักษะการเขียนเฉลี่ยทั้งหมดเท่ากับ 13.96 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 87.24 และมีจำนวนนักเรียนที่ผ่านเกณฑ์ จำนวน 8 คน คิดเป็นร้อยละ 100.00 ของจำนวนนักเรียนทั้งหมด ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 3) ผลการทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์วิชาภาษาไทย เรื่อง มาตราตัวสะกดของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 หลังจากที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามเทคนิคบันได 5 ขั้นร่วมกับเกม พบว่า นักเรียนมีคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเฉลี่ยทั้งหมดเท่ากับ 22.25 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 74.17 และมีจำนวนนักเรียนที่ผ่านเกณฑ์  8 คน คิดเป็นร้อยละ 100.00  ของจำนวนนักเรียนทั้งหมด ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้


 

Article Details

บท
Research Articles
Author Biography

ยาใจ พงษ์บริบูรณ์ , มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) การพัฒนาทักษะการอ่านออกและทักษะการเขียนได้ของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้การจัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิคบันได 5 ขั้นร่วมกับเกมและ 2) พัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชาภาษาไทย เรื่องมาตราตัวสะกด ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ด้วยเทคนิคบันได 5 ขั้น ร่วมกับเกม ให้นักเรียนมีคะแนนเฉลี่ยไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 และมีจำนวนนักเรียนที่ผ่านเกณฑ์ไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 ของนักเรียนทั้งหมด กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนมนตรีศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 4 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 8 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) ใช้รูปแบบการวิจัยเชิงปฏิบัติการ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย แบ่งออกเป็น 3 ประเภท ประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้รายวิชาภาษาไทย เรื่องมาตราตัวสะกด จำนวน 9 แผน 2) แบบสังเกตพฤติกรรมการจัดการเรียนการสอนของครู และ 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาไทย เรื่อง มาตราตัวสะกด จำนวน 30 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าร้อยละ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ ผลการวิจัยพบว่า 1) การพัฒนาทักษะการอ่านของนักเรียน มีคะแนนทักษะการอ่านเฉลี่ยทั้งหมดเท่ากับ 18.40 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 86.23  และมีจำนวนนักเรียนที่ผ่านเกณฑ์ จำนวน 8 คน คิดเป็นร้อยละ 100.00 ของจำนวนนักเรียนทั้งหมด ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 2) การพัฒนาทักษะการเขียนชองนักเรียน มีคะแนนทักษะการเขียนเฉลี่ยทั้งหมดเท่ากับ 13.96 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 87.24 และมีจำนวนนักเรียนที่ผ่านเกณฑ์ จำนวน 8 คน คิดเป็นร้อยละ 100.00 ของจำนวนนักเรียนทั้งหมด ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 3) ผลการทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์วิชาภาษาไทย เรื่อง มาตราตัวสะกดของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 หลังจากที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามเทคนิคบันได 5 ขั้นร่วมกับเกม พบว่า นักเรียนมีคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเฉลี่ยทั้งหมดเท่ากับ 22.25 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 74.17 และมีจำนวนนักเรียนที่ผ่านเกณฑ์  8 คน คิดเป็นร้อยละ 100.00  ของจำนวนนักเรียนทั้งหมด ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้

 

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2545). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และแก้ไข

เพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2545. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุ

ภัณฑ์.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). แนวทางการปฏิรูปการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ.

-2550.กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551.

กรุงเทพฯ. : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

______. (2551). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยตาม

หลักสูตร แกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์ การเกษตรแห่งประเทศไทย.

กาญจนา โพธิลักษณ์. (2554). การใช้เกมเสริมทักษะการอ่านคำที่มีตัวสะกดสำหรับนักเรียน

ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนเทศบาลวัดศรีปิง. บัณฑิตวิทยาลัย :มหาวิทยาลัย

เชียงใหม่.

ชุลี อินมั่น. (2533). การอ่านสู่การพัฒนาคุณภาพชีวิต. กรุงเทพฯ: กรมการศึกษานอก

โรงเรียนกระทรวงศึกษาธิการ.

ถนอม ยนต์ชัย. (2553). การพัฒนาทักษะการเขียนสะกดคำโดยใช้แบบฝึกทักษะ กลุ่มสาระ

การเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏ

มหาสารคาม.

ทองพูน ศิริมนตรี. (2549). การพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้ เรื่องการเขียนสะกดคำตาม

มาตรตัวสะกด โดยใช้แบบฝึกทักษะการเขียนและกระบวนการเรียนภายา กลุ่ม

สาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนบ้านเมืองเสือ.สำนักงาน

เขตพื้นที่การศึกษามหาสารคาม เขต 2. บัณฑิตวิทยาลัย :มหาวิทยาลัยราชภัฏ

มหาสารคาม.

นิภาพร ปวนสุรินทร์. (2542). ผลของการใช้แบบฝึกเกมทางภาษาเพื่อเพิ่มทักษะการอ่านคำ

พื้นฐานสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัย

ราชภัฏบุรีรัมย์.

พัชรีวัลย์ เกตุแก่นจันทร์. (2539). ความหมายของความบกพร่องทางสติปัญญา. เอกสารการ

อบรมระยะสั้นการฟื้นฟูสมรรถภาพทางด้านอาชีพ และจ้างงานบุคคลปัญญาอ่อน.

กรุงเทพฯ : คณะศึกษาศาสตร์ เอกสารการศึกษาพิเศษเด็กบกพร่องทางสติปัญญา

มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ยาใจ พงษ์บริบูรณ์. (2537). การวิจัยเพื่อการเรียนการสอน. ในเอกสารประกอบการสัมมนา

เชิงปฏิบัติการเรื่องการวิจัยเชิงปฏิบัติการรูปแบบการสอนเพื่อพัฒนาการเรียนการ

สอน. ขอนแก่น : คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

วิภา ตัณฑลพงษ์. (2549). เกมภาษาสื่อความคิดพิชิตการอ่าน. นทบุรี: ศูนย์ส่งเสริมวิชาการ.

วรรณี โสมประยูร. (2539). การสอนภาษาไทยในระดับประถมศึกษา. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนา

พานิช.

เสถียร ยอดคดี. (2554). การเรียนรู้สู่ครูมืออาชีพ. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ: ที.พี. พริ้นท์.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 4. (2557). แนวทางการดำเนินงาน

แก้ปัญหานักเรียนที่อ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ด้วยรูปแบบการพัฒนาทักษะภาษาไทยด้วยบันได 5 ขั้น (ภาษาพาเพลิน). ขอนแก่น : สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 4. (เอกสารอัดสำเนา).

อภิชญา สวัสดี. (2546) . การศึกษาความสามารถการอ่านคำภาษาไทยของนักเรียนที่มีความ

บกพร่องทางสติปัญญาระดับเรียนได้ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 จากการสอนอ่านคำ

ภาษาไทยโดยใช้เกมฝึกทักษะ. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

ประสานมิตร.