การพัฒนาความสามารถด้านการอ่านเพื่อความเข้าใจกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบ 5 ขั้น (5 STEPs) ร่วมกับแผนผังความคิด

Main Article Content

ญาธิป อุปถัมภ์
ยาใจ พงษ์บริบูรณ์

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาความสามารถด้านการอ่านเพื่อความเข้าใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบ 5 ขั้น (5 STEPs) ร่วมกับแผนผังความคิด โดยให้มีคะแนนตั้งแต่ร้อยละ 80 และมีนักเรียนที่ผ่านเกณฑ์ ร้อยละ 80 ของนักเรียนทั้งหมด และ 2) พัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบ 5 ขั้น (5 STEPs) ร่วมกับแผนผังความคิด ให้นักเรียนมีคะแนนเฉลี่ยไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 และมีจำนวนนักเรียนที่ผ่านเกณฑ์ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของนักเรียนทั้งหมดกลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนดอนขิงแคงเหล่าน้อย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 11 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) ใช้รูปแบบการวิจัยเบื้องต้นแบบกลุ่มเดียว (One-group posttest only design) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย 1) แผนการจัดการเรียนรู้การอ่านเพื่อความเข้าใจกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบ 5 ขั้น (5 STEPs) ร่วมกับแผนผังความคิด จำนวน 6 แผนใช้เวลา 12 ชั่วโมง 2) แบบทดสอบอัตนัยวัดความสามารถด้านการอ่านเพื่อความเข้าใจด้วยการเขียนแผนผังความคิด 3) แบบทดสอบย่อยปรนัยวัดความสามารถด้านการอ่านเพื่อความเข้าใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จากเรื่องที่อ่านจำนวน 6 เรื่อง เรื่องละ 10 ข้อ ชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก รวมจำนวน 60 ข้อ และแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 แบบปรนัยชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย ()  ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และค่าร้อยละ ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการพัฒนาความสามารถการอ่านเพื่อความเข้าใจ โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบ 5 ขั้น (5 STEPs) ร่วมกับแผนผังความคิด พบว่า (1) ความสามารถด้านการอ่านเพื่อความเข้าใจ ด้วยการเขียนแผนผังความคิด มีค่าเฉลี่ยร้อยละ 82.48 และความสามารถด้านการอ่านเพื่อความเข้าใจ โดยใช้แบบทดสอบย่อยด้านการอ่าน มีค่าเฉลี่ยร้อยละ 82.04 มีจำนวนนักเรียนที่ผ่านเกณฑ์จำนวน 11 คน ผ่านเกณฑ์ทั้งคะแนนและจำนวนนักเรียน เป็นไปตามเกณฑ์มี่กำหนดไว้ 2) ผลการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนการอ่านเพื่อความเข้าใจ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โดยการจัดการเรียนรู้แบบ 5 ขั้น (5 STEPs) ร่วมกับแผนผังความคิด พบว่า นักเรียนมีคะแนนการทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนการอ่านเพื่อความเข้าใจของนักเรียนมีค่าเฉลี่ยร้อยละ  81.13 มีจำนวนนักเรียนที่ผ่านเกณฑ์จำนวน 11 คน ผ่านเกณฑ์ทั้งคะแนนรอบรู้และจำนวนนักเรียน เป็นไปตามเกณฑ์มี่กำหนดไว้

Article Details

บท
Research Articles
Author Biography

ยาใจ พงษ์บริบูรณ์ , มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

North eastern University

References

กนกวรรณ ขอบทอง. (2559). การศึกษาความสามารถด้านการวิเคราะห์ และผลสัมฤทธิ์

ทางการเรียนรายวิชาสังคมโดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบบันได 5 ขั้น (Big Five Learning) ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5, บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัย

ขอนแก่น.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2545). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และแก้ไข

เพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2545. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุ

ภัณฑ์.

______. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ.

โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

ธัญญา ผลอนันต์ และขวัญฤดี ผลอนันต์. (2550). Mind Mapping กับการศึกษาและการ

บริหารความรู้. กรุงเทพฯ: ขวัญข้าว.

อรุณ เชื้อสีดา. (2555). การพัฒนาความสามารถในการคิดวิเคราะห์และผลสัมฤทธิ์ทางการ

เรียนสาระภูมิศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้แผนผังมโนทัศน์.

บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ธันยกานต์ ใจบุญ. (2560) การพัฒนาความสามารถในการอ่านอย่างมีวิจารณญาณของ

นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่เน้นกระบวนการคิด

อย่างมีวิจารณญาณร่วมกับเทคนิคการสอนอ่านSQ4R. บัณฑิตวิทยาลัย :

มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

งานวัดและประเมินผล ฝ่ายวิชาการ โรงเรียนดอนขิงแคงเหล่าน้อย. (2561). รายงาน

ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนปีการศึกษา 2561. ชัยภูมิ: โรงเรียนดอนขิงแคงเหล่าน้อย

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 2. (เอกสารอัดสำเนา).