การพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ด้านวินัยของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 โรงเรียนบ้านเมืองปัง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานีเขต 2

Main Article Content

ชญภิชา สุวรรณพรหม
พงษ์ศักดิ์ ศรีจันทร์
พัชรินทร์ ชมภูวิเศษ

บทคัดย่อ

 การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ด้านวินัยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 โรงเรียนบ้านเมืองปัง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานีเขต 2 กลุมเป้าหมายเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 โรงเรียนบ้านเมืองปัง จํานวน 55iiคน กลุมผูมีสวนเกี่ยวข้องไดแก ครูและผู้บริหารสถานศึกษา จํานวน 12iiคน กรรมสถานศึกษา จำนวน 7iiคน ผู้ปกครองของนักเรียน จํานวน 10กคน ภาคเรียนที่ 2iiปีการศึกษา 2561 เครื่องมือที่ใชในการวิจัยประกอบไปด้วย 1) แบบสัมภาษณ 2) แบบสอบถาม 3) แบบสังเกตพฤติกรรมนักเรียน 4) แบบประเมินพฤติกรรมของนักเรียนดานวินัย การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดย วิเคราะหเนื้อหา สถิติที่ใช้ในการวิจัยคือ ร้อยละ (Percentage) คาเฉลี่ย () และสวนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD.) ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพและปัญหาการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ด้านวินัยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 โรงเรียนบ้านเมืองปัง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 2 เกี่ยวกับคุณลักษณะอันพึงประสงค์ด้านวินัยนักเรียน การจัดโครงสร้างการดำเนินงานด้านวินัยยังไม่คลอบคลุมและไม่ได้เชื่อมโยงกับองค์กรภายนอก ครูยังไม่เข้าใจวิธีการออกแบบแผนการเรียนรู้ที่เน้นการจัดการเรียนเพื่อเสริมสร้างวินัยนักเรียน แต่ไม่เน้นเรื่องคุณธรรม จริยธรรม ทำให้นักเรียนมีปัญหาในด้านการตรงต่อเวลา การแต่งกายและความรับผิดชอบต่อหน้าที่ 2) แนวทางในการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ด้านวินัยของนักเรียน พบว่าความคาดหวังนักเรียนมีคุณลักษณะอันพึงประสงคดานวินัยประกอบด้วย 1) การจัดระบบโครงสร้าง ตองประสานกับผู้ช่วยผู้วิจัยให้เข้ามามีบทบาทให้มากยิ่งขึ้น 2) การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนของครูต้องเน้นกระบวนการคิดวิเคราะห บูรณาการไปกับการเรียนการสอนหลากหลายโดยเนนผูเรียนเป็นสําคัญ 3) ปฏิบัติตามโครงการต่างๆ ที่กำหนดอยางเครงครัด 4) ตองมีการระดมทรัพยากรในทองถิ่นเพื่อปรับปรุงสภาพแวดลอม 5) ผูบริหารตองกํากับติดตามนิเทศงาน   อยางสม่ำเสมอ 6) ครูปฏิบัติตนเปนแบบอยางที่ดี 3)ผลการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ด้านวินัยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (= 3.55, S.D.= 0.58) พบว่า 1) กลยุทธ์ที่ใช้ในการป้องกัน ให้เด็กฟังครูสอนตอนเข้าแถวตอนเช้า โดยครูอบรมเสริมวินัย ด้านตรงต่อเวลา ด้านการแต่งกาย ด้านความสะอาดบูรณาการเข้ากับวิชาสังคมศึกษา แทรกสอดคุณธรรมจริยธรรมให้กับเด็กk2)kกลยุทธ์ที่ใช้ในการแก้ไข กิจกรรมเพื่อนช่วยเพื่อน ผลการวิจัย พบว่า เด็กมีวินัยด้านการตรงต่อเวลา แต่งกายตามกฎของโรงเรียน เด็กมีความรับผิดชอบมากกว่าในวงรอบที่ 1 แผนการดำเนินกิจกรรม มีการแบ่งหน้าที่แบ่งงานที่ได้รับมอบหมายงานได้บรรลุวัตถุประสงค์และมีการชื่นชมผลงานของตนเอง 3) กลยุทธ์ที่ใช้ในการสนับสนุน ได้แก่กิจกรรมสร้างนิสัย กิจกรรมวินัยดีเด่น เด็กมีการวางแผนงานด้วยความเอาใจใส่ทุกคนให้ความร่วมมือในการดำเนินกิจกรรมเป็นอย่างดี เด็กทุก ๆ คนเคารพข้อตกลงที่ให้ไว้ ผลการพัฒนา พบว่าเด็กมีวินัยด้านการตรงต่อเวลาดีขึ้น เข้าเรียนเข้าแถวทำกิจกรรมหน้าชั้นเรียนตรงตามที่กำหนด มีความเอาใจใส่แต่งกายถูกที่ถูกสถานการณ์สามารถทำหน้าที่ของตนที่รับผิดชอบได้


 

Article Details

บท
Research Articles
Author Biographies

พงษ์ศักดิ์ ศรีจันทร์ , มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี

Udon Thani Rajabhat University

พัชรินทร์ ชมภูวิเศษ, มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี

Udon Thani Rajabhat University

References

กรมวิชาการ. (2560). การสังเคราะห์รูปแบบการพัฒนาศักยภาพของเด็กไทยด้านความรับผิดชอบและวินัยในตนเอง. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

จงกลณี ศิริสวัสดิ์. (2560). ปัญหาและแนวทางการพัฒนาวินัยในตนเองของนักเรียนโรงเรียนวัดหนองกรับ จังหวัดระยองสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 1. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยบูรพา.

ณพัฐอร เฮงสมบูรณ์. (2556).kการนำเสนอแนวทางการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียนจากการวิเคราะห์แนวปฏิบัติดี. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เต้ง ดาบภูเขียว. (2550). การพัฒนาการดำเนินงานเสริมสร้างวินัยนักเรียนด้านการรักษาความสะอาดโรงเรียนบ้านดงปอ อำเภอเพ็ญ จังหวัดบัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ธีระภาภรณ์ ดงอนนท์. (2552). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความมีวินัยของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเลย เขต 2. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย.

ประไพศิลป์ ศรีณรงค์ฤทธิ์.k (2552). การพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ด้านวินัยนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 โรงเรียนชุมชนบ้านด่านซ้าย. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย.

แผนปฏิบัติการโรงเรียนบ้านเมืองปัง. (2562). แผนปฏิบัติการโรงเรียนบ้านเมืองปัง ประจำปีการศึกษา 2562. โรงเรียนบ้านเมืองปัง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานีเขต 2.

พนมพร พรพนม. (2550). การพัฒนาการดำเนินงานเสริมสร้างวินัยในตนเองของนักเรียนโรงเรียนบ้านหนองแวงฮี อำเภอยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

พรศิริ เรืองโรจน์. (2547). การพัฒนาการดำเนินงานเสริมสร้างวินัยด้านความรับผิดชอบของนักเรียน โรงเรียนจักราชราษฎร์สามัคคี อำเภอจักราช จังหวัดนครราชสีมา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

พิชิต บุญสาร. (2550). การพัฒนาการดำเนินงานเสริมสร้างวินัยนักเรียนด้านความรับผิดชอบของนักเรียนโรงเรียนนานกชุมวิทยาคม อำเภอวังสามหมอ จังหวัดอุดรธานี. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

วิไล หินดำ. ( 2547).kการพัฒนาการดำเนินงานเสริมสร้างวินัยนักเรียนโรงเรียนหนองบัวไชยวารพิทยาสรรพ์อำเภอหนองกุงศรี จังหวัดกาฬสินธุ์. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

สงกรานต์ บุญมีเกียรติ. (2554). การนำเสนอแนวทางการจัดกิจกรรมเพื่อสร้างเสริมคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนโรงเรียนกีฬา สังกัดสถาบันการพลศึกษา กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สง่า ไตรมณี. (2547).การพัฒนาการดำเนินงานเสริมสร้างวินัยด้านความรับผิดชอบต่อตนเองโรงเรียนบ้านเหล่าฮก อำเภอเมืองสรวง จังหวัดร้อยเอ็ด. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

สุวรรณ ชาติโพธิ์จันทร์. (2547). การพัฒนาการดำเนินงานเสริมสร้างวินัยนักเรียนด้านความรับผิดชอบต่อตัวเองโรงเรียนบ้านดงเมืองจอกอำเภออาจสามารถจังหวัดร้อยเอ็ด. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

สุวิมล ว่องวาณิช. (2544). การวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: อักษรไทย.

______. (2552). การวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน. kพิมพ์ครั้งที่k12.กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุวิมล ว่องวาณิช และคณะ. (2553).k รายงานการวิจัยการวิเคราะห์กระบวนการพัฒนาการศึกษาของโรงเรียนภายหลังการประเมินภายนอกรอบแรก. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

แสงอุทัย ว่องไว. (2547). การพัฒนาการดำเนินงานเสริมสร้างวินัยในตนเองด้านความรับผิดชอบของนักเรียนโรงเรียนบ้านสวนมอญกอำเภอจตุรพักตรพิมานกจังหวัดร้อยเอ็ด. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

อรวรรณ พาณิชปฐมพงศ์. (2549).kการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยบางประการกับความมีวินัยในตนเองของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เขตตลิ่งชัน. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

Crow and Crow. (1962). Child Development - psychology. New York : Macmillan Company.