การจัดการเรียนรวมของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน

Main Article Content

ญาณวรุตม์ ติระพัฒน์
มัทนา วังถนอมศักดิ์
วรกาญจน์ สุขสดเขียว

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อทราบการจัดการเรียนรวมของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ใช้เทคนิคการวิจัยอนาคตแบบ EDFR (Ethnographic Delphi Futures Research) ซึ่งอาศัยความคิดเห็น (Opinion) ของผู้เชี่ยวชาญ 17 คนประกอบด้วย 1) นักวิชาการ 2) ผู้อำนวยการสถานศึกษา 3) ศึกษาธิการจังหวัด และ 4) ผู้เชี่ยวชาญระดับนโยบาย เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้างและแบบสอบถาม สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลคือ มัธยฐาน ค่าฐานนิยม พิสัยระหว่างควอไทล์ ผลการศึกษพบว่า การจัดการเรียนรวมของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มี 6 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านนโยบายและการวางแผนส่งเสริมคุณภาพการจัดการศึกษาแบบเรียนรวม โดยการเตรียมความพร้อมด้านบุคลากร นโยบายและแผนยุทธศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาพิเศษ 2) ด้านการจัดสรรงบประมาณในการบริหารจัดการเรียนรวม โดยการหาแหล่งทุนสนับสนุนอย่างเพียงพอในการบริหารจัดการอย่างต่อเนื่อง 3) ด้านบริหารจัดการสภาพแวดล้อม อาคารสถานที่ โดยมีการออกแบบสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้อย่างเต็มศักยภาพและมีความปลอดภัย 4) ด้านหลักสูตรสถานศึกษา โดยมีการจัดทำแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล ที่เน้นทักษะพื้นฐานการนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ 5) ด้านความร่วมมือกับหน่วยงานต่างๆ ในการจัดการศึกษา โดยมีการบูรณาการความร่วมมือที่ดีกับชุมชน ผู้นำท้องถิ่น คณะกรรมการสถานศึกษา ผู้ปกครอง หน่วยงานภาครัฐและเอกชน และ 6) ด้านการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน โดยมีการจัดการศึกษาให้ครูผู้สอนควรมีความรู้เพื่อพัฒนาศักยภาพนักเรียนที่มีความต้องการพิเศษที่มีลักษณะเฉพาะบุคคล เพื่อร่วมวางแผนการให้ความช่วยเหลือนักเรียนที่มีความต้องการพิเศษรายบุคคลร่วมกันอย่างต่อเนื่อง


 

Article Details

บท
Research Articles
Author Biographies

มัทนา วังถนอมศักดิ์ , มหาวิทยาลัยศิลปากร

Silpakorn University

วรกาญจน์ สุขสดเขียว, มหาวิทยาลัยศิลปากร

Silpakorn University

References

ชมบุญ แย้มนาม. (2560). การศึกษารูปแบบการจัดการเรียนร่วมของผู้บริหารโรงเรียนการ

จัดการเรียนร่วมระดับประถมศึกษาในพื้นที่กรุงเทพและปริมณฑล. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชมงคลธัญบุรี.

พระราชบัญญัติการประถมศึกษาแห่งชาติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545, ราชกิจจานุเบกษา, เล่มที่ 119 ตอนที่ 123 ก 19 ธันวาคม 2545.

รดา ธรรมพูนพิสัย. (2556). สภาพปัญหาและแนวทางการจัดการเรียนร่วมในโรงเรียนแกนนำ

จัดการเรียนร่วม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานราธิวาส. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏ สงขลา.

สมจิต ทองเกต.(2559).กลยุทธ์การบริหารจัดการเรียนร่วมของโรงเรียนประถมศึกษา ในเขต

บริการศูนย์การศึกษาพิเศษเขตการศึกษา 3.บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยสงขลา

นครินทร.2559.

สุชาดา บุบผา.(2557).การศึกษาแบบเรียนรวม (Inclusive Education).คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี.

Alper and Ryndak . (2010), Long-term Outcomes of Services for Two Persons

with Significant Disabilities with Differing Educational Experiences: A Qualitative Consideration of the Impact of Educational Experiences.Education and Training in Autism and Developmental Disabilities, 45(3),323-338.

Desai, I (2007). Inclusive Education : Moving From Theory To Practice. A Paper Prepared for The First National Convention on Inclusive Education. Bangkok : Srinakharinwirot University..

Foreman, P &Dempsey. (1997) Trends in the educational placement of

students With disabilities in NSW. International Journal of Disability, Development and Education., 44(3), 207-216.1997.

Jessica L Buchalz. (2009). Creating a Warm and Inclusive Classroom

Environment : Planing for all Children to Fell Welcome. Electronic

Journal for Inclusive Education V.2 No 4 Spring Summer.

McGregor, G., & Vogelsberg, R (1998). T.Inclusive schooling practices:

Pedagogical and Research Foundations. A synthesis of the literature that I nforms best practices about inclusive schooling. University of Montana, Rural Institute on Disabilities..

Peterson, W. O (2007). Center Prayer for Women receiving Chemotherapy for

Recurrent Ovarian Cancer : Pilot Study. Oncology Nursing Forum. 36 : 424-428..

SERMSAP VORAPANYA . (2008). A Model for Inclusive Schools in Thailand.

Doctor of Philosophy University of Oregon Graduate School.