แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำการเรียนรู้ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 3

Main Article Content

ภัทรสุดา ธีรชาญวิทย์
วสันต์ชัย กากแก้ว
ศุภธนกฤษ ยอดสละ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันภาวะผู้นำการเรียนรู้ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 3 2) เพื่อเปรียบเทียบภาวะผู้นำการเรียนรู้ของผู้บริหารสถานศึกษา จำแนกตามตำแหน่งและขนาดสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 3 3) เพื่อจัดทำแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำการเรียนรู้ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 3 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ สถานศึกษา โดยแบ่งตามขนาดสถานศึกษา ขนาดเล็ก 84 โรงเรียน ขนาดกลาง 57 โรงเรียน ขนาดใหญ่ 3 โรงเรียน รวม 144 โรงเรียน โดยมีผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (Key Informant) คือ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูหัวหน้าวิชาการ จำนวน 288 คน และจัดทำแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำการเรียนรู้โดยการสนทนากลุ่ม (Focus group) โดยผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 10 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐาน โดยใช้สถิติ t-test, F-test ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพปัจจุบันของภาวะผู้นำการเรียนรู้และเปรียบเทียบภาวะผู้นำการเรียนรู้ ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 3 พบว่า  สภาพปัจจุบัน เมื่อพิจารณาเป็นภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากทุกด้าน 2) ผลการเปรียบเทียบภาวะผู้นำการเรียนรู้ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 3 จำแนกตามขนาดสถานศึกษา พบว่าค่าเฉลี่ยสภาพปัจจุบัน โดยรวมเมื่อจำแนกตามสถานภาพระหว่างผู้บริหารสถานศึกษา และครูวิชาการ โดยมีความแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05  และผลการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยสภาพปัจจุบันภาวะผู้นำการเรียนรู้ของผู้บริหารสถานศึกษา จำแนกตามขนาดของสถานศึกษาเป็นรายคู่ พบว่า ค่าเฉลี่ยภาวะผู้นำการเรียนรู้ของผู้บริหาร ในโรงเรียนขนาดใหญ่ และขนาดกลางสูงกว่าค่าเฉลี่ยในโรงเรียนขนาดเล็ก ในขณะที่ค่าเฉลี่ยภาวะผู้นำการเรียนรู้ในโรงเรียนขนาดใหญ่และโรงเรียนขนาดกลางมีความแตกต่างอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ 3) จัดทำแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำการเรียนรู้ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 3 โดยมีแนวทางการพัฒนาดังต่อไปนี้ 1) ด้านนวัตกรรมการเรียนรู้ 2) ด้านความคิดสร้างสรรค์ 3) ด้านเทคโนโลยีการศึกษา 4) ด้านการเรียนรู้เป็นทีม 5) ด้านสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ แนวทาง คือ ผู้บริหารจะต้องศึกษาจากกรณีศึกษา (Case study) ในสถานศึกษาที่ภาวะผู้นำทางด้านสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ ได้แก่ โรงเรียนที่มี Best Practice เช่นห้องเรียนคุณภาพ นอกจากนั้นส่งเสริมและสนับสนุนให้ครูจัดกิจกรรม Active learning

Article Details

บท
Research Articles
Author Biographies

วสันต์ชัย กากแก้ว , มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์

Surindra Rajabhat University

ศุภธนกฤษ ยอดสละ, มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์

Surindra Rajabhat University

References

กนกอร สมปราชญ์. (2560). ภาวะผู้นำการเรียนรู้ของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพึ้น

ฐาน: การศึกษา ทฤษฎีฐานราก. วารสารวิชาการและวิจัยสังคมศาสตร์

มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 12 (34), 51-66.

กนกอร สมปราชญ์. (2560). ภาวะผู้นำและภาวะผู้นำการเรียนรู้สำหรับผู้บริหาร

สถานศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 2. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

จิรวัฒน์ วงษ์คง. (2560). ตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำการเรียนรู้ของผู้บริหาร สังกัดสำนักงาน

เขตพื้นที่ การศึกษามัธยมศึกษา เขต 25. วารสารศึกษาศาสตร์ ฉบับวิจัย

บัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 11(2),48-58.

จิราภรณ์พรหมทอง. (2559). การพัฒนาตนเองให้เป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้เพี่อเข้า

สู่ศตวรรษที่ 21.วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น, 10(2), 63-72.

อภิชา ธานีรัตน์. (2554). รูปแบบการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของคณะครุศาสตร์

มหาวิทยาลัยราชภัฏในกรุงเทพมหานคร. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัย

ราชภัฏสวนดุสิต.