เรื่องเล่าความหลัง : รูปแบบการมีส่วนร่วมเพื่อช่วยบำบัดโรคซึมเศร้าของผู้สูงอายุที่อยู่ในภาวะพึ่งพิง อำเภอคอนสวรรค์ จังหวัดชัยภูมิ

Main Article Content

เกศสุดา โภคานิตย์
ณัฐปราย์ ชัยสินคุณานนต์
กีฬา หนูยศ
เพ็ญนภา สุขเสริม
ปาณิสรา หาดขุนทด

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเรื่องเล่า ความหลังและเพื่อหารูปแบบการมีส่วนร่วมเพื่อช่วยบำบัดโรคซึมเศร้าของผู้สูงอายุที่อยู่ในภาวะพึ่งพิง อำเภอคอนสวรรค์ จังหวัดชัยภูมิ โดยใช้ระเบียบการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Method)  เครื่องมือวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์เชิงลึก ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ได้แก่ ผู้นำชุมชน ผู้สูงอายุ ผู้ดูแลหรือคนในครอบครัวของผู้สูงอายุ องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น พระสงฆ์ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพสต.) เจ้าหน้าที่ภาครัฐ และเอกชน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการพรรณนา ผลการวิจัยพบว่าผู้สูงอายุมักเล่าเรื่อง ความหลัง เกี่ยวกับเรื่องราวต่างๆที่เกิดขึ้นสู่กันฟังกับเพื่อนบ้าน ในขณะเดียวกันก็จะนำอาหารมาร่วมรับประทานด้วยกัน กริยาอาการของแต่ละคนแตกต่างกันออกไปแล้วแต่เรื่องราวนั้นๆ บางคนก็แสดงสีหน้าเคร่งเครียด วิตกกังวล อาลัย โศกเศร้า รวมไปถึงสนุกสนาน แววตามีความหวัง รูปแบบการมีส่วนร่วมเพื่อช่วยบำบัดโรคซึมเศร้าของผู้สูงอายุที่อยู่ในภาวะพึ่งพิง มี 4 รูปแบบ คือ 1) การมีส่วนร่วมในการค้นหาและจัดลำดับความสำคัญของปัญหา พบว่า คนในชุมชนเป็นบุคคลที่เข้าใจสภาพปัญหาภายในชุมชนดีเป็นอย่างดี จะพิจารณาถึงสถานการณ์ปัญหา โดยให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมเพราะจะส่งผลถึงการดำเนินกิจกรรมต่างๆในชุมชน 2) การมีส่วนร่วมในการวิเคราะห์ถึงสาเหตุและที่มาของปัญหา พบว่า บางครอบครัวคนหนุ่มสาวต้องไปทำงานต่างจังหวัดเพื่อหาเงินมาจุนเจือภายในครอบครัวจำเป็นจะต้องปล่อยให้ผู้สูงอายุอยู่ตามลำพังหรืออยู่กับบุตรหลาน 3) การมีส่วนร่วมในการเลือกวิธีการและวางแผนในการแก้ปัญหา พบว่า มีการประชาคม เพื่อพูดคุย นำเสนอ อภิปราย ถกแถลงกัน นำไปสู่การได้ข้อตกลงหรือตกผลึกในเรื่องที่นำมาหารือ 4) การมีส่วนร่วมในการดำเนินตามแผน พบว่า ทุกคนจะเข้าร่วมดำเนินกิจกรรมด้วยกัน โดยเฉพาะผู้สูงอายุที่ไม่สามารถทำงานที่ต้องใช้แรงได้ แต่สามารถหยิบจับของหรือทำกิจกรรมเบาๆได้ ทั้งนี้คนในชุมชนจะให้ความสำคัญมากเพราะเป็นผู้ที่มีประสบการณ์สามารถคาดการณ์ได้ว่าในการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ผลจะออกมาอย่างไร ทำให้ผู้สูงอายุพึงพอใจเห็นค่าในตนเอง มีความสุขทั้งกาย ใจ


 

Article Details

บท
Research Articles
Author Biographies

ณัฐปราย์ ชัยสินคุณานนต์, มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ

Rajabhat Chaiyaphum University

กีฬา หนูยศ, มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ

Rajabhat Chaiyaphum University

เพ็ญนภา สุขเสริม , มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ

Rajabhat Chaiyaphum University

ปาณิสรา หาดขุนทด, มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ

มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ

References

กรมกิจกรรมผู้สูงอายุ. สถิติผู้สูงอายุ. (ออนไลน์) 2560 (อ้างเมื่อ 12 มกราคม 2565).

จาก https://www.dop.go.th/th/know/1

จรัญญา วงษ์พรหม. (2558). การมีส่วนร่วมของชุมชนเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ.

สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ ปีที่ 8 ฉบับที่ 3 เดือนกันยายน –

ธันวาคม 2558 หน้า 40-54. เฉลิมพล พลมุข, 3 พ.ค. 2561 มติชน

บุญชัย ภาละกาล (2557). การจัดลำดับความสำคัญของปัญหา ในกระบวนการ

ดำเนินงานอนามัยชุมชน บทเรียนในการนำทฤษฎีสู่การฝึกภาคปฏิบัติของ

นักศึกษาพยาบาลในชุมชน. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข. หน้า 1-11.

ไพรัตน์ เตชะรินทร์. (2527). นโยบายและกลวิธีการมีส่วนร่วมของชุมชนในยุทธศาสตร์

การพัฒนาปัจจุบันของประเทศไทย ในการมีส่วนร่วมของประชาชนในการ

พัฒนา. กรุงเทพฯ: ศักดิ์โสภาการพิมพ์.

ไพฑูรย์ พัชรอาภา. (2559). สถานการณ์ผู้สูงอายุ ผู้สูงอายุกับครอบครัว ชุมชน สังคม.

กรุงเทพฯ :กองส่งเสริมศักยภาพผู้สูงอายุ.

ยุวัตน์ วุฒิเมธี. (2526). หลักการพัฒนาชุมชนและการพัฒนาชนบท. กรุงเทพฯ : ไทย

อนุเคราะห์ไทย. ศรีเรือน แก้วกังวาน. (2549). จิตวิทยาพัฒนาการชีวิตทุกช่วงวัยวัยรุ่น-วัยสูงอายุ เล่ม 2.

พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สุภัททา ปิณฑะแพทย์. (2542). พฤติกรรมมนุษย์และการพัฒนาคน. กรุงเทพฯ: สถาบัน

ราชภัฎสวนสุนันทา.

อติยา คชภักดี. (2545). โครงการศึกษาเพื่อพัฒนาตัวชี้วัดครอบครัว อยู่ดีมีสุขรายงาน

การศึกษาขั้นสุดท้าย. กรุงเทพฯ: สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและ

ครอบครัว. มหาวิทยาลัยมหิดล.