โปรแกรมการพัฒนาพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุ โรคความดันโลหิตสูงในชุมชน ตำบลนาฝาย อำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ

Main Article Content

ณัฐปภัสญ์ นวลสีทอง
ธัญรัศม์ ภุชงค์ชัย
กาญจนา สุขบัว

บทคัดย่อ

 


 การพัฒนาพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุ โรคความดันโลหิตสูง เป็นการวิจัยกึ่งทดลองมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมที่ส่งผลต่อความรู้ และพฤติกรรมในการส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุ ความดันโลหิตสูง และศึกษาระดับความดันโลหิตก่อน-หลังการทดลองในกลุ่มทดลอง และกลุ่มเปรียบเทียบ ผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูงในชุมชน ตำบลนาฝาย อำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ โดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีการส่งเสริมสุขภาพของเพนเดอร์ จำนวน 60 คน แบ่งเป็น 2 กลุ่มเท่า ๆ กัน กลุ่มทดลองเข้าร่วมกิจกรรมโปรแกรมจำนวน 5 ครั้ง ระยะเวลา 12 สัปดาห์ ประกอบด้วยกิจกรรม ทบทวนความรู้ สาธิตและฝึกทักษะการเลือกบริโภคอาหาร การออกกำลังกาย การงดสูบบุหรี่และงดดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ การจัดการความเครียด การรับประทานยา และการไปพบแพทย์ตามนัด อภิปรายกลุ่มแลกเปลี่ยนความคิดเห็น การตั้งเป้าหมายและบันทึกพฤติกรรม รวบรวมข้อมูลก่อนและหลังการทดลองด้วยแบบสัมภาษณ์ และแบบบันทึกพฤติกรรม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติจำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน Chi-square test, Paired sample t-test, Wilcoxon signed-rank test, Independent’s t-test และ Mann-Whitney U test


ภายหลังการทดลอง กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยด้านความรู้เรื่องโรคความดันโลหิตสูง และคะแนนเฉลี่ยด้านพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพ เพิ่มขึ้นมากกว่าก่อนการทดลอง และมากกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p< .05) ระดับความดันโลหิตลดลงกว่าก่อนการทดลอง และลดลงกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .05) ดังนั้น ตำบลที่มีบริบทคล้ายคลึงกันสามารถนำโปรแกรมไปใช้เพื่อส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุ โรคความดันโลหิตสูงได้


 

Article Details

บท
Research Articles
Author Biographies

ธัญรัศม์ ภุชงค์ชัย , มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ

Rajabhat Chaiyaphum University

กาญจนา สุขบัว, มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ

Rajabhat Chaiyaphum University

References

ชุลีกร ด่านยุทธศิลป์.(2561). แบบจำลองการส่งเสริมสุขภาพของเพนเดอร์และการประยุกต์

ใช้ในการปฏิบัติการส่งเสริมสุขภาพทางการพยาบาล.วารสารพยาบาลสงขลานครินทร์, 38(2),132-141.

ชุลีพร หีตอักษร และคณะ.(2560). การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการออกกำลังกาย: การ

ประยุกต์ทฤษฎีขั้นตอนการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม. วารสารการพยาบาลและการ

ดูแลสุขภาพ, 35(4), 25-33.

พีระ บูรณกิจเจริญ.(2563). โรคความดันโลหิตปฐมภูมิ. กรุงเทพฯ: หมอชาวบ้าน.

ไพโรจน์ ฉัตรานุกูลชัย.(2561). ภาวะแทรกซ้อนจาก โรคความดันโลหิตสูง. โรงพยาบาล

จุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย (ค้นเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน2563) https://chulalongkornhospital.go.th

วรรณวิมล เมฆวิมล.(2554).ภาวะสุขภาพและพฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพของบุคลากร

ในมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา. คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัย

ราชภัฏสวนสุนันทา.

ศศิกาญจน์ สกุลปัญญวัฒน์.(2557). พฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุชาวมุสลิม

กรณีศึกษา อ.องครักษ์ ตำบลองครักษ์ จ.นครนายก.วารสารพยาบาลทหารบก

,15 (3),353-360.

ศิริเนตร สุขดี.(2560). การพัฒนารูปแบบการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของกลุ่มเสี่ยงโรค

ไม่ติดต่อเรื้อรังด้วยการมีส่วนร่วมของชุมชน. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัย ศรีนครินทรวิโรฒ.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดชัยภูมิ.(2563). สถิติผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง. (ค้นเมื่อวันที่ 24

มิถุนายน 2563) http://cpho.moph.go.th/wp/?p=9253

Pender, N. J., Murdaugh, C. L., & Parsons, M. A. (2006). Health promotion

innursing practice (5th ed.). New Jersey: Pearson Education, Inc.

World Heath Organization. World Heath Statistics .(2012). All rights reserved.

Publications of the World Health Organization are available on the WHO web site (www.who.int).

Joint National Committee. (2003). The seventh report of the joint nation

committee on prevention, detection, evaluation and treatment of high blood pressure: The JNC 7 report. Journal of the American Medical Association, 289, 2560-2572.

______ .(1995). Nursing: Concepts of practice.St. Louis: Mosby.