การพัฒนานวัตกรรมการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุตามหลัก 3อ โดยนักศึกษาจิตอาสา มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ

Main Article Content

ปาริชาติ ปากชำนิ
ศิริวัฒน์ โพธิเวชกุล
ภาณุวัฒน์ ปากชำนิ
อดุลย์ สนั่นเอื้อเม็งไธสง
ฤทธิชัย ผานาค

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบสมรรถภาพทางกาย การปฏิบัติตัวด้านร่างกาย ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับพฤติกรรมสุขภาพตามหลัก 3 อ. และพฤติกรรมสุขภาพตามหลัก 3 อ. ในผู้สูงอายุบ้านซับสีทองตำบลซับสีทอง อำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ โดยใช้วิธีการวิจัยกึ่งทดลอง กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้สูงอายุ จำนวน 16 คน ได้มาโดยวิธีการสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสัมภาษณ์ด้านความรู้ พฤติกรรมสุขภาพตามหลัก 3 อ. แบบทดสอบสมรรถภาพทางกายและแบบทดสอบการปฏิบัติตัวด้านร่างกาย  สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ สถิติพรรณนา, สถิติอนุมาน Wilcoxon Signed Rank Text


ผลการวิจัยพบว่า สมรรถภาพทางกายรายการชีพจร ก่อนและหลังเข้าร่วมโปรแกรมอยู่ในระดับปานกลาง รายการความดันโลหิต หลังเข้าร่วมโปรแกรมอยู่ในระดับปกติ การทดสอบปฏิบัติตัวด้านร่างกายหลังเข้าร่วมโปรแกรมอยู่ในระดับดี ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับพฤติกรรมสุขภาพตามหลัก 3 อ. ก่อนเข้าร่วมโปรแกรมมีความรู้อยู่ในระดับปานกลาง หลังเข้าร่วมโปรแกรมมีความรู้อยู่ในระดับสูงและพฤติกรรมสุขภาพตามหลัก 3 อ. ก่อนเข้าร่วมโปรแกรมอยู่ในระดับดี คิดเป็นร้อยละ 93.75 หลังเข้าร่วมโปรแกรมอยู่ในระดับดี คิดเป็นร้อยละ 100.00  ผลจากการวิเคราะห์ข้อมูล ด้วยสถิติ Wilcoxon Signed Rank Test ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 พบว่า ก่อนรับโปรแกรม มีการปฏิบัติตัวด้านร่างกาย ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับพฤติกรรมสุขภาพตามหลัก 3 อ. และพฤติกรรมสุขภาพตามหลัก 3 อ. น้อยกว่าหลังรับโปรแกรมส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 (Z=-2.943, -3.256 และ -3.440 , p-value=0.003, 0.001 และ 0.001) ตามลำดับ

Article Details

บท
Research Articles
Author Biographies

ศิริวัฒน์ โพธิเวชกุล, มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ

Rajabhat Chaiyaphum University

 

ภาณุวัฒน์ ปากชำนิ , มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ

Rajabhat Chaiyaphum University

อดุลย์ สนั่นเอื้อเม็งไธสง , มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ

Rajabhat Chaiyaphum University

ฤทธิชัย ผานาค, มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ

Rajabhat Chaiyaphum University

References

กรัยรัชช์ นาคขํา. (2562). ผลของโปรแกรมการเสริมสร้างพลังอํานาจและการออกกําลังกาย

แบบต้านแรงต่อภาวะเปราะบางของผู้สูงอายุในชุมชน. วารสารแพทย์นาวี.

(1),149-164.

เจนจิรา เกียรติสินทรัพย์. (2562). ผลของการใช้โปรแกรมจัดการความเครียดต่อความ

สามารถจัดการความเครียดและระดับความเครียดของผู้สูงอายุในเขตอำเภอเมืองนนทบุรี. วารสารเกื้อการุณย์.26(2),66-77

ณัฐชัย พรมโม้ (2563). ผลของโปรแกรมการฝึกเต้นลีลาศด้วยหลักการฝึกหนักสลับเบาที่มีต่อ

สมรรถภาพทางกายของผู้สูงอายุเพศหญิง, วารสารวิชาการสาธารณสุขชุมชน.

(4).83-94.

ดวงใจ เปลี่ยนบํารุง. (2560). ผลของการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุโดยผ่านกลุ่มผู้นำชุมชน.

วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ.32(3),77-85.

อรุณ จิรวัฒน์กุล. (2553). สถิติทางวิทยาศาสตร์สุขภาพเพื่อการวิจัย. กรุงเทพฯ: วิทยพัฒน์