รูปแบบการบริหารจัดการตามหลักสัปปุริสธรรม 7 ของโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา เขต 7

Main Article Content

พระครูวินัยธรวรวุฒิ เตชธมฺโม (เฮียงเหี่ย),
เอกราช โฆษิตพิมานเวช
ประจิตร มหาหิง

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์และความต้องการจำเป็นของการบริหารจัดการโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา เขต 7  2) เพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการตามหลักสัปปุริสธรรม 7 ของโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา เขต 7  3) เพื่อประเมินรูปแบบการบริหารจัดการตามหลักสัปปุริสธรรม 7 ของโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา เขต 7 การวิจัยวิธีวิทยาแบบผสมระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์  แบบกึ่งโครงสร้าง และแบบประเมินความเหมาะสม ความเป็นไปได้ และความเป็นประโยชน์  การวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน จำนวน 175 รูป/คน สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน         ผลการวิจัย พบว่า 1) สภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์และความต้องการจำเป็นของการบริหารจัดการโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา เขต 7 มีค่าเฉลี่ยของสภาพที่พึงประสงค์สูงกว่าสภาพปัจจุบันในทุกด้านและทุกประเด็น โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อเรียงลำดับตามความสำคัญของความต้องการจำเป็นเร่งด่วนที่ต้องได้รับการพัฒนาก่อน ซึ่งพิจารณาจากค่า PNI ได้ดังนี้ (1)ด้านการบริหารบุคคลตามหลักสัปปุริสธรรม 7 (2)ด้านการบริหารทั่วไปตามหลักสัปปุริสธรรม 7 (3)ด้านการบริหรงบประมาณตามหลักสัปปุริสธรรม 7 (4) ด้านการบริหารวิชาการตามหลักสัปปุริสธรรม 7  2) ผลการพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการตามหลักสัปปุริสธรรม 7 ของโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา เขต 7 ควรประกอบด้วย หลักสัปปุริสธรรม 7 คือ (1) หลักธัมมัญญุตา (รู้จักเหตุ) (2) หลักอัตถัญญุตา (รู้จักผล) (3)หลักอัตตัญญุตา (รู้จักตน) 4)หลักมัตตัญญุตา 5)หลักกาลัญญุตา (รู้จักกาล) (6)หลักปริสัญญุตา (รู้จักชุมชน) (7)หลักปุคคลัญญุตา (รู้จักบุคคล) 3) ผลการประเมินรูปแบบการบริหารจัดการตามหลักสัปปุริสธรรม 7 ของโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา เขต 7 พบว่า มีความเหมาะสม ความเป็นไปได้ และความเป็นประโยชน์ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และสามารถนำไปใช้ในการพัฒนาได้จริง

Article Details

บท
Research Articles
Author Biographies

เอกราช โฆษิตพิมานเวช , มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณาชวิทยาลัย

Mahachulalongkornrajavidyalaya University

ประจิตร มหาหิง, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณาชวิทยาลัย

Mahachulalongkornrajavidyalaya University

References

พระมหาปัญญา ปญฺาสิริ (ลักษณะจันทร์). (2557) ประสิทธิผลการบริหารจัดการโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา ในเขตปกครองคณะสงฆ์ภาค 2. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย,

พระครูปลัดจักรพันธ์ ปญฺาธโร.(2559) ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสาเร็จในการบริหารโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย,

พระครูศรีสุธรรมนิวิฐ (ธานี สุขโชโต) (2560).กระบวนการการบริหารงานบุคคลของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยตามหลักพุทธบริหารการศึกษา”. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย,

พระครูโกศลอรรถกิจ.(2559) “รูปแบบการบริหารจัดการโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษาในจังหวัดนครศรีธรรมราช ตามแนวพุทธปรัชญาเถรวาท”. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย,

พระมหาภาณุวัฒน์ แสนคา และ สมชาย บุณศิริเภสัช. (2558) “การบริหารตามหลักสัปปุริสธรรม 7 ของผู้บริหารโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษา จังหวัดลาปาง”. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏลาปาง,

พระมหาอานนท์ ชวนาภิภู (แสนแป้). (2560) “รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะหลักของบุคลากรตามหลักพุทธธรรม ของโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา”. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย,

โรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา จังหวัดขอนแก่น. (2563).รายงานประจำปี 2561. อ้างใน พระครูวินัยธรสุวรรณ สุวรรณโณ(เรืองเดช) และวิเชียร รู้ยืนยง. “แนวทางการบริหารงานบุคคลของโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา จังหวัดขอนแก่น”. วารสารพุทธปรัชญาวิวัฒน์ ปี่ที่ 4 ฉบับที่ (กรกฎาคม – ธันวาคม

วันทนา เนาว์วัน. (2557) “การพัฒนาภาวะผู้นำตามหลักพุทธธรรมของบุคลากร โรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษากลุ่ม 3”. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย,