รูปแบบการบริหารตามหลักสัปปุริสธรรมในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดชัยภูมิ

Main Article Content

ปนัดดา สัพโส
เอกราช โฆษิตพิมานเวช

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์และความต้องการจำเป็นของการบริหารตามหลักสัปปุริสธรรมในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดชัยภูมิ 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารตามหลักสัปปุริสธรรมในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดชัยภูมิ 3) เพื่อประเมินรูปแบบการบริหารตามหลักสัปปุริสธรรมในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดชัยภูมิ วิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ เครื่องมือ คือ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ และแบบประเมินรูปแบบ เชิงปริมาณกลุมตัวอย่าง ไดแก ผูบริหารท้องถิ่นและพนักงานครู 226 คน สถิติที่ใช ไดแก คาความถี่ ค่าร้อยละ คาเฉลี่ย ค่าสวนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สภาพปจจุบันมีค่าความเชื่อมั่นเทากับ 0.954 สภาพที่พึงประสงคมีคาความเชื่อมั่นเทากับ 0.975 เชิงคุณภาพกลุ่มเป้าหมาย ไดแก 1) ผู้บริหารท้องถิ่นและพนักงานครู 5 รูป/คน เพื่อใชสัมภาษณ์ 2) ผูทรงคุณวุฒิ 9 คน เพื่อสนทนากลุม (Focus Group Discussion) 3) ผู้บริหารท้องถิ่น พนักงานครูและผูทรงคุณวุฒิ รวม 26 คน เพื่อประเมินรูปแบบ ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพปัจจุบันค่าเฉลี่ยระดับปานกลาง เรียงลำดับคือ การบริหารวิชาการ การบริหารทั่วไป การบริหารงบประมาณ และการบริหารงานบุคคล สภาพที่พึงประสงค์ค่าเฉลี่ยระดับมากที่สุด ความต้องการจำเป็นที่ควรพัฒนาก่อน คือ การบริหารงบประมาณ การบริหารทั่วไป การบริหารงานบุคคล และการบริหารวิชาการ 2) ผลการพัฒนารูปแบบการบริหารตามหลักสัปปุริสธรรมในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดชัยภูมิ พบว่า 1) การบริหารงบประมาณ 2) การบริหารทั่วไป 3) การบริหารงานบุคคล 4) การบริหารงานวิชาการ 3) ผลการประเมินรูปแบบการบริหารตามหลักสัปปุริสธรรมในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดชัยภูมิ พบว่า ความเหมาะสม ความเป็นไปได้ และความเป็นประโยชน์ ค่าเฉลี่ยระดับมากที่สุด

Article Details

บท
Research Articles
Author Biography

เอกราช โฆษิตพิมานเวช, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณาชวิทยาลัย

Mahachulalongkornrajavidyalaya University

References

จิราภรณ์ ผันสว่าง. (2562) ผู้นำกับการเป็นนักบริหารการศึกษามืออาชีพ Professional

Education Leadership. มหาสารคาม: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยราชภัฎมหาสารคาม.

ณัฐรฎา พวงธรรม, การมีส่วนร่วมของครูในการบริหารโรงเรียนประถมศึกษา สังกัด

กรุงเทพมหานคร สำนักงานเขตดุสิต กรุงเทพมหานคร, 2553 หน้า 14.

นฤมล ราชบุรี, (2557), สัปปุริสธรรม 7 :แนวคิดเชิงบูรณาการเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา

อย่างยั่งยืน, กรุงเทพฯ.

เนตร์พัณณา ยาวิราช, การจัดการสมัยใหม่ (Modern Management), 2546.

พระมหาบุญมี มาลาวชิโร, (2553) พุทธบริหารสู่สุดยอดนักบริหารผู้ทรงภูมิที่ลูกน้องรักและ

เทิดทูนอย่างจริงจัง, กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหิดล.

พิชิต อวิรุทธพารุทธพาณิชย์, (2560). การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์กับหลักสัปปุริสธรรม 7,

กรุงเทพฯ:

ศิริวรรณ เสรีรัตน์ และคณะ. (2545). องค์การและการจัดการ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์

ธรรมสาร.

สมคิด บางโม, (2546), การบริหารองค์กรสมัยใหม่, คณะรัฐประศาสนศาสตร์สถาบันบัณฑิต

พัฒนบริหารศาสตร์., กรุงเทพฯ:วิทยพัฒน์.

สุภาพร นามครรชิต, (2559). ภาวะผู้นำตามหลักสัปปุริสธรรม 7 ของผู้บริหาร,

เอกราช โฆษิตพิมานเวช, ความต้องการจำเป็นของผู้ปกครองในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน

โรงเรียนเอกศึกษาขอนแก่น, 2562, หน้า 1-5

Bartol, K. M., & Martin, D. C. (1997). Management. (2nd ed.). New York: McGraw

-Hill.