การพัฒนารูปแบบการบริหารการเปลี่ยนแปลงที่มีคุณภาพตามหลัก พุทธธรรมของโรงเรียนเอกชน จังหวัดขอนแก่น

Main Article Content

จริญญาภรณ์ ศรีจันดารี
จุฬาพรรณภรณ์ ธนะแพทย์
พระมหาพิสิฐ วิสิฏฺฐปญฺโญ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพการบริหารการเปลี่ยนแปลงที่มีคุณภาพของโรงเรียนเอกชน จังหวัดขอนแก่น 2) พัฒนารูปแบบการบริหารการเปลี่ยนแปลงที่มีคุณภาพตามหลักพุทธธรรมของโรงเรียนเอกชน จังหวัดขอนแก่น และ 3) ประเมินผลรูปแบบการบริหารการเปลี่ยนแปลงที่มีคุณภาพตามหลักพุทธธรรมของโรงเรียนเอกชน จังหวัดขอนแก่น ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น การดำเนินการวิจัยแบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอน 1) การศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการบริหารการเปลี่ยนแปลงและการจัดการคุณภาพโดยรวม โดยใช้การสัมภาษณ์ผู้บริหารโรงเรียนที่มีคุณภาพ และนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์เพื่อพิจารณาคัดเลือกองค์ประกอบตามความเหมาะสม 2) การพัฒนารูปแบบการบริหารการเปลี่ยนแปลงที่มีคุณภาพตามหลักพุทธธรรมของโรงเรียนเอกชน จังหวัดขอนแก่น โดยการสนทนากลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิ และนำข้อมูลที่ได้จากขั้นตอนที่ 1 มายกร่างรูปแบบการบริหารการเปลี่ยนแปลงที่มีคุณภาพตามหลักพุทธธรรมของโรงเรียนเอกชน จังหวัดขอนแก่น และ 3) การประเมินผลรูปแบบการบริหารการเปลี่ยนแปลงที่มีคุณภาพตามหลักพุทธธรรมของโรงเรียนเอกชน จังหวัดขอนแก่นที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น โดยการสัมมนาอิงผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 10 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล เป็นแบบประเมินรูปแบบ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพการบริหารการเปลี่ยนแปลงที่มีคุณภาพของโรงเรียนเอกชน จังหวัดขอนแก่น มุ่งเน้นการพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณภาพทั้งในด้านความรู้และคุณธรรมบนพื้นฐานของอัตลักษณ์สถานศึกษาเอกชน ผู้บริหารโรงเรียนมีวิสัยทัศน์ สามารถพัฒนาโรงเรียนได้ทันต่อการเปลี่ยนแปลง มีการพัฒนาโรงเรียนให้มีคุณภาพสู่มาตรฐานสากล และมีการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการบริหารจัดการ  2) รูปแบบการบริหารการเปลี่ยนแปลงที่มีคุณภาพตามหลักพุทธธรรมของโรงเรียนเอกชน จังหวัดขอนแก่น ประกอบด้วยองค์ประกอบหลัก 9 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงตามหลักอิทธิบาท 4 2) การเตรียมการเปลี่ยนแปลงตามหลักอิทธิบาท 4 3) การมีส่วนร่วมตามหลักอิทธิบาท 4 4) การพัฒนาบุคลากรตามหลักอิทธิบาท 4 5) การมุ่งเน้นผู้รับบริการตามหลักอิทธิบาท 4 6) การวางแผนกลยุทธ์ตามหลักอิทธิบาท 4 7) การดำเนินการเปลี่ยนแปลงตามหลักอิทธิบาท 4 8) การประเมินผลการเปลี่ยนแปลงตามหลักอิทธิบาท 4 และ 9) การปรับปรุงอย่างต่อเนื่องตามหลักอิทธิบาท 4 3) การประเมินผลรูปแบบการบริหารการเปลี่ยนแปลงที่มีคุณภาพตามหลักพุทธธรรมของโรงเรียนเอกชน จังหวัดขอนแก่น ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น พบว่า มีความถูกต้อง ความเหมาะสม ความเป็นไปได้ และความเป็นประโยชน์ อยู่ในระดับมากที่สุด

Article Details

บท
Research Articles
Author Biographies

จุฬาพรรณภรณ์ ธนะแพทย์ , มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณาชวิทยาลัย

Mahachulalongkornrajavidyalaya University

พระมหาพิสิฐ วิสิฏฺฐปญฺโญ, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณาชวิทยาลัย

Mahachulalongkornrajavidyalaya University

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2546), เอกสารประกอบการพัฒนาหลักสูตรพัฒนาผู้นำการ

เปลี่ยนแปลงเพื่อรองรับการกระจายอำนาจสำหรับผู้บริหารสถานศึกษา. กรุงเทพฯ:

กระทรวงศึกษาธิการ.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2562), พุทธธรรม ฉบับปรับขยาย. พิมพ์ครั้งที่ 41.

กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ผลิธรรม

ผกา สัตยธรรม. (2544), คุณธรรมของครู. กรุงเทพฯ: สํานักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์

มหาวิทยาลัย.

สมชาย เทพแสง; อรจิรา เทพแสง; และอัจฉริยา เทพแสง. (2562), การบริหารจัดการ

สมัยใหม่: กุญแจสู่ความเป็นเลิศ. นนทบุรี: เกรท เอ็ดดูเคชัน.

สุทธิ ทองประดิษฐ. (2563), ทฤษฎีการบริหาร. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

มหาสารคาม.

สุเทพ พงศ์ศรีวัฒน์. (2550), ภาวะความเป็นผู้นํา. กรุงเทพฯ : เอ็ซเปอร์เน็ท.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชำติ. (2560), แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม แห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ.2560 -2564). กรุงเทพฯ.

สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน, (2562). ก้าวต่อไปด้วยอัตลักษณ์การศึกษาเอกชน แนวทางเบื้องต้นของการจัดการศึกษาแบบเอกชน (สิงหาคม 2019). กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน.

วิศิษฐ์ ศรีวิชัยรัตน์. (2560). ผู้นำทางการศึกษาของสถาบันการศึกษาเอกชน. ใน 336 ปีการศึกษาเอกชนไทย. กรุงเทพฯ: สมาคมสภาการศึกษาเอกชน.