รูปแบบการเสริมสร้างจิตวิญญาณเพื่อการดับทุกข์ของผู้พิการตามหลักพระพุทธศาสนาในสังคมไทย

Main Article Content

นคร จันทราช

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ คือ 1) รูปแบบการเสริมสร้างจิตวิญญาณเพื่อการดับทุกข์ของผู้พิการในสังคมไทย 2) การเสริมสร้างพลังทางจิตวิญญาณเพื่อการดับทุกข์ของผู้พิการตามหลักพระพุทธศาสนาในสังคมไทย 3) วิเคราะห์ผลการเสริมสร้างจิตวิญญาณเพื่อการดับทุกข์ของผู้พิการตามหลักพระพุทธศาสนาในสังคมไทย การวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสานทั้งวิจัยในเชิงเอกสารและการวิจัยเชิงคุณภาพ ในภาคสนามมีกลุ่มเป้าหมายคือองค์กร 4 แห่ง ตามหน่วยงานในพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานี เชียงใหม่ นครราชสีมาและชลบุรี โดยมีผู้บริหาร เจ้าหน้าที่จำนวน 8 คน และผู้พิการจำนวน 29 คน รวมทั้งสิ้น 37 คน ส่วนเครื่องมือการวิจัยเป็นแบบสัมภาษณ์ ผลการวิจัยพบว่า จาการศึกษาเรื่องการเสริมสร้างจิตวิญญาณเพื่อการดับทุกข์ของผู้พิการตามหลักพระพุทธศาสนาในสังคมไทยจากศูนย์คนพิการทั้ง 4 ศูนย์พบว่าทั้ง 4 องค์กรมีรูปแบบการเสริมสร้างจิตวิญญาณดับทุกข์ผู้พิการ 4 ด้าน คือ 1) ด้านการแพทย์ 2) ด้านการศึกษา 3) ด้านสังคม และ 4) ด้านอาชีพ การดับทุกข์ทั้ง 4 ด้านเป็นการดับทุกข์ของผู้พิการในสังคมไทย ส่วนการเสริมสร้างจิตวิญญาณเพื่อการดับทุกข์ของผู้พิการตามหลักพระพุทธศาสนามี 2 ระดับตามหลักภาวนา 4 ประการมี 2 ระดับ คือ 1) การดับทุกข์ระดับร่างกายมี 2 อย่าง คือ (1) กายภาวนา คือ การพัฒนากาย (2) สีลภาวนา คือ การพัฒนาความประพฤติ และ 2) การดับทุกข์ระดับจิตใจมี 2 อย่าง คือ (1) จิตภาวนา คือ การฝึกอบรมจิตใจ และ (2) ปัญญาภาวนา คือ การฝึกอบรมปัญญาให้รู้เข้าใจโลกและชีวิตตามเป็นจริงเป็นการพัฒนาผู้พิการครบทั้ง 4 ด้านคือ กาย จิตใจ ศีล และปัญญาตามหลักพระพุทธศาสนา

Article Details

บท
Research Articles

References

ประเวศ วสี, (2547), สุขภาวะ คุณค่า ศักดิ์ศรี คนพิการ, กรุงเทพฯ : มูลนิธิคนพิการไทย.

นฤมล มารคแมน, (2543), มนุษย์และความเป็นจริงของชีวิตในทัศนะของพุทธศาสนา,

พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

มั่นเกียติ โกศลนิรัติวงษ์, (2541), ทฤษฎีและเทคนิคในการให้คำปรึกษาพุทธธรรม, กรุงเทพฯ

: สุวีริยาสาส์น.

รังสรรค์ แสงสุขและคณะ, (2544), ความรู้คู่คุณธรรม, พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ :

มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

พระธรรมปีฏก (ปอ.ปยุตฺโต), (2546), พจนานุกรมุทธศาสน์ฉบับประมวลศัพท์, พิมพ์ครั้งที่ 9,

กรุงเทพฯ: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.