การพัฒนาหลักสูตรส่งเสริมการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์โดยใช้เทคนิคเคดับเบิ้ลยูดีแอลสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5

Main Article Content

ภัทร์ธิดา ศรศิริ
ปริญญภาษ สีทอง

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อสร้างและหาประสิทธิผลหลักสูตรส่งเสริมการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์โดยใช้เทคนิคเคดับเบิ้ลยูดีแอล สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 2) เพื่อศึกษาผลการใช้หลักสูตรส่งเสริมการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์โดยใช้เทคนิคเคดับเบิ้ลยูดีแอล สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5  โดยมีกลุ่มเป้าหมาย คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านนาปลากั้ง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแพร่ เขต 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 9 คน ดำเนินการวิจัยโดยใช้แบบแผนการทดลองเบื้องต้น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ หลักสูตร คู่มือการใช้หลักสูตร และแบบทดสอบการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และร้อยละพัฒนาการสัมพัทธ์  


ผลการวิจัยพบว่า 1) หลักสูตรส่งเสริมการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์โดยใช้เทคนิคเคดับเบิ้ลยูดีแอล สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มี 7 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) ความเป็นมาและความสำคัญของหลักสูตร 2) หลักการของหลักสูตร 3) จุดมุ่งหมายของหลักสูตร 4) โครงสร้างเนื้อหาของหลักสูตร 5) กระบวนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ 6) สื่อ/แหล่งเรียนรู้ และ 7) การวัดและการประเมินผลหลักสูตร ซึ่งมีค่าเฉลี่ยความเหมาะสมของหลักสูตรในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (= 4.27, S.D = 0.65) คู่มือการใช้หลักสูตรในภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก (= 4.36, S.D = 0.58) และประสิทธิผลของการเรียนตามหลักสูตร เท่ากับ 0.7193 2.การศึกษาผลการใช้หลักสูตรฯ พบว่านักเรียนมีคะแนนพัฒนาการหลังเรียนสูงกว่าก่อนการจัดการเรียนรู้ตามหลักสูตรฯ โดยพัฒนาการสัมพัทธ์ของนักเรียนโดยเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 76.96

Article Details

บท
Research Articles
Author Biography

ปริญญภาษ สีทอง, มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง

Lampang Rajabhat University

References

กชพรรณ เขมเกื้อกูลและปริญญภาษ สีทอง. (2563). การพัฒนาหลักสูตรเสริมการแก้

โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 1. วารสารวิชาการ

เครือข่ายบัณฑิตศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือ, 10(1), 109-121.

ชญาณิศา เป็งจันทร์และคณะ (2560). การจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิค KWDL เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ เรื่องโจทย์ปัญหาของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. วารสารบัณฑิตวิจัย, 8(1), 71-82.

ไชยยศ เรืองสุวรรณ.(2533).เทคโนโลยีการศึกษาทฤษฎีและการวิจัย.กรุงเทพฯ:โอเดียนสโตร์.

ธํารง บัวศรี. (2542). ทฤษฎีหลักสูตร :การออกแบบหลักสูตรและพัฒนา.กรุงเทพฯ :ธนรัช

เบญจลักษณ์ ภูสามารถ,ณัฏฐชัย จันทชุมและธัญญลักษณ์ เขจรภักดิ์. (2564). การพัฒนาความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้เทคนิค KWDL ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด, 15(2),146-153.

ปกรณ์ ประจันบาน. (2552). ระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์. พิษณุโลก: รัตนสุวรรณ.

ปริญญภาษ สีทองและสุธาสินี ยันตรวัฒนา. (2564). การพัฒนาหลักสูตรการเตรียมความพร้อมด้านสุขภาพกายสาหรับวัยกลางคนเพื่อเข้าสู่วัยชรายุค 4.0.วารสารวิชาการและวิจัยสังคมศาสตร์, 16(1), 43-58.

พัทธมน วิริยะธรร, ภัทรภร ชัยประเสริฐ และสพลณภัทร์ ศรีแสนยงค์. (2561). ผลการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหา เรื่อง ปริมาณสารสัมพันธ์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้รูปแบบการสอน แบบวัฏจักรการเรียนรู้ 7E ร่วมกับเทคนิค KWDL.วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 20(1), 140-152.

มารุต พัฒผล. (2562). รูปแบบการพัฒนาหลักสูตรร่วมสมัย. กรุงเทพฯ: ศูนย์ผู้นำนวัตกรรมหลักสูตรและการเรียนรู้

โรงเรียนบ้านนาปลากั้ง. (2563). รายงานผลการประเมินตนเอง (SAR) ประจำปีการศึกษา 2563. แพร่ : โรงเรียนบ้านนาปลากั้ง.

โรงเรียนบ้านนาปลากั้ง. (2563). รายงานผลกิจกรรม PLC ครูผู้สอนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 ประจำปีการศึกษา 2563. แพร่ : โรงเรียนบ้านนาปลากั้ง.

วัชรา เล่าเรียนดี. (2548). เทคนิคและยุทธวิธีพัฒนาทักษะการคิดการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ. นครปฐม : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร.

วิชัย วงษ์ใหญ่. (2535). การพัฒนาหลักสูตรแบบครบวงจร. กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น.

ศิริชัย กาญจนวาสี. (2552). ทฤษฎีการทดสอบแบบดั้งเดิม. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์

มหาวิทยาลัย.

สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. (2560). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลางกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย

Taba, H.(1962). Curriculum Development Theory and Practice. (New York:

Harcourt, Brace and World.), p.10.