พฤติกรรมการเลือกตั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นของบุคลากรทางการศึกษาโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา จังหวัดขอนแก่น ตามหลักโยนิโสมนสิการ

Main Article Content

ศิริกัลยา มานาดี
พระมหาวิรุจ วิโรจโน
พระครูสังฆรักษ์ทวี อภโย
ชนาธิป ศรีโท

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับพฤติกรรมการเลือกตั้งองค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่นของบุคลากรทางการศึกษาโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา จังหวัดขอนแก่นตามหลักโยนิโสมนสิการ 2) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล กับพฤติกรรมการเลือกตั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นของบุคลากรทางการศึกษาโรงเรียนพระ ปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา จังหวัดขอนแก่น ตามหลักโยนิโสมนสิการ 3) เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะพฤติกรรมการเลือกตั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นของบุคลากรทางการศึกษา โรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา จังหวัดขอนแก่น ตามหลักโยนิโสมนสิการ โดยใช้ แบบสอบถามเก็บข้อมูลจากกลุ่มประชากร 209 คน ที่เป็นบุคลากรทางการศึกษาโรงเรียน พระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา จังหวัดขอนแก่น ท าการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิง พรรณนา ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่าง ตัวแปรอิสระกับตัวแปรตามโดยใช้ค่าไคสแควร์ มีนัยส าคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ผลการวิจัย พบว่า 1) บุคลากรทางการศึกษาโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา จังหวัด ขอนแก่น มีพฤติกรรมการเลือกตั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยรวมทั้ง 10 ด้าน อยู่ใน ระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาในแต่ละด้าน พบว่า ด้านวิธีคิดแบบสืบสาวเหตุปัจจัยมีค่าเฉลี่ย สูงสุด และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ าที่สุด คือ ด้านวิธีคิดแบบอริยสัจ และด้านวิธีคิดแบบ อรรถสัมพันธ์ 2) ผลการทดสอบความสัมพันธ์ระหว่าง เพศ อายุ ต าแหน่ง ระดับการศึกษา ไม่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการเลือกตั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นของบุคลากรทาง การศึกษาโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา จังหวัดขอนแก่น ตามหลักโยนิโส มนสิการ 3) ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับพฤติกรรมการเลือกตั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นของ บุคลากรทางการศึกษาโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา จังหวัดขอนแก่น ตาม หลักโยนิโสมนสิการ คือ (3.1) ควรคิดถึงเหตุ และผล ก่อนจะตัดสินใจเลือกตั้ง โดยวิเคราะห์ เลือกนักการเมืองหรือพรรคการเมืองที่ไม่ใช้วิธีการซื้อสิทธิขายเสียง (3.2) ควรตัดสินใจอย่าง ถูกต้อง ในการใช้สิทธิเสรีภาพทางการเมืองเพื่อท าให้ระบอบประชาธิปไตยเกิดการพัฒนา ทางวัฒนธรรมทางการเมืองที่ดีงาม (3.3) ควรพิจารณาข่าวสารทางการเมือง ก่อนตัดสินใจ เลือกตั้ง โดยเลือกนักการเมืองหรือพรรคการเมือง ที่ถูกต้องตามหลักคุณธรรมจริยธรรมทาง การเมือง (3.4) ควรตัดสินใจในการเลือกตั้ง โดยเลือกนักการเมืองหรือพรรคการเมืองที่เน้น จุดมุ่งหมายเพื่อสร้างประโยชน์ให้แก่ส่วนรวมมากที่สุด เพื่อประโยชน์ที่ดีงามต่อสังคม (3.5) ควรส่งเสริมและแนะน าความรู้เกี่ยวกับการเลือกตั้ง ทางการเมืองควบคู่กับความรู้ทาง ศีลธรรมทางการเมือง


 

Article Details

บท
Research Articles