ภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อองค์การแห่งความสุขของโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ

Main Article Content

อมรรัตน์ ศรีบุญเรือง
สุชาดา บุบผา

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษากับองค์การแห่งความสุข ของโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ  2) เพื่อสร้างสมการพยากรณ์ภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อองค์การแห่งความสุข ของโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ กลุ่มตัวอย่างเป็นครูผู้สอน จำนวน 322 คน โดยใช้การสุ่มแบบแบ่งชั้น เครื่องมือเป็นแบบสอบถาม แบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สอบถามเกี่ยวกับปัจจัยด้านภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษา 4 ปัจจัย ซึ่งมีค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง .475 -.830 ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .98 และสอบถามเกี่ยวกับองค์การแห่งความสุข ของโรงเรียนประถมศึกษา  ซึ่งมีค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง .415 - .776 ค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ .95 วิเคราะห์หาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการวิจัยพบว่า 1) ภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษามีความสัมพันธ์ทางบวกกับองค์การแห่งความสุข ของโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ 2) ภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษา ปัจจัยการคิดสร้างสรรค์ ปัจจัยการมีความยืดหยุ่น และปัจจัยการมีจินตนาการ เป็นตัวแปรพยากรณ์สามารถร่วมกันพยากรณ์องค์การแห่งความสุข ของโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ สามารถพยากรณ์ได้ร้อยละ 70.40 เขียนเป็นสมการณ์พยากรณ์ได้ ดังนี้


          สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนดิบ


                    = 8.732+2.144(X3)+1.081(X4)+.683(X2)


          สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนมาตรฐาน


                    = .510 (X3)+.244 (X4)+.141 (X2)


 

Article Details

บท
Research Articles
Author Biography

สุชาดา บุบผา, มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี

Udon Thani Rajabhat University

References

กิ่งนภาภรณ์ ปลัดกอง. (2557). ความสัมพันธ์ภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานการศึกษากับการเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย จังหวัดเลย. บัณฑิตวิทยาลัย:มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย.

จันทร์จีรา วงษ์ชัยบุตร. (2559). ความสัมพันธ์ระหว่างความผูกพันของครูกับประสิทธิผลของโรงเรียนเอกชนในกำกับของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 1. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.

ชาญวิทย์ วสันต์ธนารัตน์ และธีร์ธรรม วุทฒิวัตรชัยแก้ว. (2560) . องค์กรแห่งความสุข 4.0. กรุงเทพฯ แอทโฟร์พรินท์.

นิวุธ มีพันธ์. (2559: 3). ตัวแบบภาวะผู้นำของผู้บริหารโรงเรียนที่ได้รับรางวัลพระราชทาน ระดับมัธยมศึกษาในเขตภาคเหนือตอนบน. บัณฑิตวิทยาลัย :มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.

บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

ประทุมทิพย์ เกตุแก้ว (2551). ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้คุณลักษณะงาน ความสามารถในการเผชิญและฟันฝ่าอุปสรรคกับความสุขในการทำงานของพยาบาล งานการพยาบาลผ่าตัด กรณีศึกษาโรงพยาบาลรัฐแห่งหนึ่ง. บัณฑิตวิทยาลัย:มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ปวีณา เกษเดช. (2553). ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยในการทำงานกับความสุขของข้าราชการตำรวจฎธร จังหวัดปทุมธานี. บัณฑิตวิทยาลัย :มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ปีลันธน์ วีรภัทรกุล. (2560). รูปแบบพัฒนาภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

วรรณศิริ เชื่อมวราศาสตร์. (2553). ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยในการทำงานกับความสุขของข้าราชการสำนักงานสรรพากรภาค 6. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สำนักกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. (2559). คู่มือมาสร้างองค์กรแห่งความสุขกันเถอะ.สืบค้น จาก www.Happy8workplace.com โดยข้อมูล ณ วันที่ 1 พฤศจิกายน 2564.

สำนักกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. (2564). คู่มือมาสร้างองค์กรแห่งความสุขกันเถอะ.สืบค้น จาก www.Happy8workplace.com โดยข้อมูล ณ วันที่ 1 พฤศจิกายน 2564.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ. (2564). แผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564. สืบค้นเมื่อ 1 พฤศจิกายน 2564. จาก https://www3.bkn.go.th/?p=3844.

สุภาวดี ขุนทองจันทร์. (2559). การบริหารทรัพยากรมนุษย์อย่างบูรณาการ. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.

สุวีณา ชัยแสน. (2558). องค์กรแห่งความสุขขององค์การบริหารส่วนตำบลในเขตอำเภอ แกดำ จังหวัดมหาสารคาม. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

Celep, C., & Yilmazturk, O. E. (2012). The relationship among organizational trust, multidimensional organizational commitment and perceived organizational support in educational organizations. Procedia-Social and Behavioral Sciences, 46, 5763-5776.

Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970), Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.

Likert, R., (1976). New patterns of management. New York: MecGraw - HILl.