Soft Skills ของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิผล ของโรงเรียนขนาดกลาง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษามัธยมศึกษาหนองคาย

Main Article Content

สาวนีย์ สิทธิชัยจารุเมธี
สุชาดา บุบผา

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับ Soft Skills ของผู้บริหารสถานศึกษา โรงเรียนขนาดกลาง 2) เพื่อศึกษาระดับประสิทธิผลของโรงเรียนขนาดกลาง ตามความคิดเห็นของครู 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่าง Soft Skills ของผู้บริหารสถานศึกษากับประสิทธิผลของโรงเรียนขนาดกลาง และ 4) เพื่อสร้างสมการพยากรณ์ Soft Skills ของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิผลโรงเรียนขนาดกลาง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นครูผู้สอนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาหนองคาย จำนวน 217 คน ได้มาโดยการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามแบบมาตรส่วนประมาณค่า 5 ระดับ โดยค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถาม Soft Skills ของผู้บริหารสถานศึกษา เท่ากับ .954 และประสิทธิผลของโรงเรียนขนาดกลาง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาหนองคาย เท่ากับ .960 วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน (Pearson’s Product Moment Correlation Coefficient) และวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน (Stepwise Multiple Regression Analysis) ผลการวิจัยพบว่า 1) Soft Skills ของผู้บริหารสถานศึกษา โรงเรียนขนาดกลาง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาหนองคาย โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก 2) ประสิทธิผลของโรงเรียนขนาดกลาง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาหนองคาย โดยรวมและรายด้าน อยู่ในระดับมาก 3) Soft Skills ของผู้บริหารสถานศึกษากับประสิทธิผลของโรงเรียนขนาดกลาง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาหนองคาย มีความสัมพันธ์ทางบวก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.01 และ.05 4) การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณของ Soft Skills ของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนขนาดกลาง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาหนองคาย โดยมี Soft Skills ของผู้บริหารสถานศึกษาเป็นตัวแปรพยากรณ์ สามารถอธิบายความแปรปรวนของประสิทธิผลได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ .05 โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณ (R) เท่ากับ .735 และค่าสัมประสิทธิ์การตัดสินใจ (R2) เท่ากับ .540 หรือสามารถพยากรณ์ได้ร้อยละ 54.00 สามารถเขียนเป็นสมการพยากรณ์ในรูปคะแนนดิบและคะแนนมาตรฐานได้ดังนี้


          สมการพยากรณ์ในรูปแบบคะแนนดิบ


           = .998 + .123 (X1) + .239 (X5) + .148 (X2) + .113 (X3) + .111 (X4)


          สมการพยากรณ์ในรูปแบบคะแนนมาตรฐาน


           = .167 (ZX1) + .293 (ZX5) + .203 (ZX2) + .140 (ZX3) + .138 (ZX4)


 

Article Details

บท
Research Articles
Author Biography

สุชาดา บุบผา, มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี

Udonthani Rajabhat University

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2553). หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2545. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.

การศึกษาสํานกงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2549). กระทรวงศึกษาธิการ.

กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.

______. (2552ก). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2553. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.

ฐาปกรณ์ อ่วมสถิตย์. (2564). การพัฒนาทักษะซอฟต์สกิลด้วยการดำเนินโครงการจิตอาสา

ตามแนวทางจิตตปัญญาศึกษา. วารสารศิลปศาสตร์ราชมงคลสุวรรณภูมิ. 37-50.

ณฐกร วรรณวัตน์ และภาวิดา ธาราศรีสุทธิ. (2564). ทักษะของผู้บริหารสถานศึกษาใน ศตวรรษที่ 21ตามการรับรู้ของครู สังกัดสำนักงานเขตบางขุนเทียน เครือข่ายที่ 71

กรุงเทพมหานคร. สืบค้นเมื่อ 28 กันยายน 2564, จาก

https://so02.tcithaijo.org/index.php/ JRKSA/article/view/246976/167520.

บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

ไพฑูรย์ สินลารัตน์. (2559). ปรัชญาการศึกษาเชิงสร้างสรรค์และผลิตภาพ. กรุงเทพฯ :

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

รัตติกาล ทะแพงพันธ์. (2560). ทักษะการบริหารแบบ Soft Skills ของผู้บริหารที่ส่งผลต่อ ประสิทธิผลของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองคาย. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี.

วาริษา ประเสริฐทรง และวัลลภา อารีรัตน์. (2557). ทักษะภาวะผู้นำด้าน Soft Skills ของ

ผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 25

[Electronic version]. ศึกษาศาสตร์ ฉบับวิจัยบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น,

(2), 88-95.

วิจารณ์ พานิช. (2555). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ:มูลนิธิสดศรี-

สกฤษดิ์วงศ์, สืบค้นเมื่อ 25 กันยายน 2564, จาก https://www.edulpru.com/eu/21st/st-006.pdf.

วิไลพรรณ วิเวก. (2556). การพัฒนาบุคลากร. กรุงเทพฯ. [ม.ป.พ.]

ศรายุทธ เมืองคำ. (2563). คุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้บริหารสถานศึกษาในยุคประเทศ

ไทย 4.0 ที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 18 จังหวัดระยอง. สืบค้นเมื่อ 28 กันยายน 2564, จากhttp://www.etheses.rbru.ac.th/pdf-uploads/thesis-382-file06-2021-05-13-13-02-36.pdf.

Hoy, W. K., & Miskel, C. G. (2008). Educational administration: Theory,

research and practice. 8th ed.. New York: McGraw-Hill.

Tang K. N. (2012). Paper for seminar on Soft Skills Development for Higher Education Institute. Faculty of Education, Khon Kaen University.

Mott, P. E. (1972). The Characteristics of Effective Organizations. New York: Harper & Row.

WHO. (1993). Life Skills Education for Children and Adolescences in School.

Retrieved August 15, 2013, from http://www.unescap/org/esid/hds/pubs /2317/m7.pdf