วิกฤตโควิด 19 ส่งผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงทางสังคมอย่างไร
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความฉบับนี้เพื่อศึกษาวิกฤตโควิด 19 ส่งผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงของโลกอย่างไร พบว่า วิกฤตการณ์ของเชื้อไวรัสผู้ป่วยที่มีการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ โดยจะแสดงอาการตั้งแต่ระดับความรุนแรงน้อย ได้แก่ คัดจมูก เจ็บคอ ไอ และมีไข้ โดยในบางรายที่มีอาการรุนแรงจะมีอาการปอดบวมหรือหายใจลำบากร่วมด้วย บางรายเสียชีวิตได้แต่พบไม่บ่อยนัก แต่หากผู้สูงอายุและผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น เบาหวาน และโรคหัวใจ จะเป็นกลุ่มที่เสี่ยงต่อการเจ็บป่วยรุนแรงหากได้รับเชื้อไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ที่กำลังแพร่ระบาดหนักทั่วโลกตอนนี้ และเมื่อปลายปี 2562 จนถึง ณ ปัจจุบัน สถานการณ์การแพร่ระบาดไวรัสโควิด-19 ได้กระจายไปทั่วโลก โดยอัตราการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 นั้น ส่งผลกระทบจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 นี้ จะส่งผลต่อเนื่องไปสู่ระดับความยากจนและความเหลื่อมล้ำที่จะเพิ่มสูงขึ้นได้ ซึ่งผลกระทบในระยะสั้นเหล่านี้อาจ ส่งผลไปสู่ผลกระทบระยะยาวได้ เช่น การที่ประเทศจะสูญเสียขีดความสามารถในการแข่งขันและการเจริญเติบโต ทางเศรษฐกิจในระยะยาว (Long-Term Economic Growth) เนื่องจากจะต้องใช้ทรัพยากรจำนวนมากในการ ป้องกันและรักษาเชื้อไวรัสโควิด-19 นี้ จนขาดแคลนทรัพยากรในการลงทุน ในโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็น นอกจาก นี้ยังเกิดการสูญเสียทางด้านทุนมนุษย์ (Human Capital) ของประเทศ ที่จะต้องเจ็บไข้ได้ป่วยเรื้อรัง (เช่นโรค ที่เกี่ยวข้องกับปอด) หรือการที่เด็ก นักเรียนนักศึกษาจะต้องหยุดเรียน โดยเฉพาะในประเทศที่มีฐานะยากจนที่ระบบการพัฒนาทุนมนุษย์อย่าง ระบบสาธารณสุขและระบบการศึกษายังไม่ครอบคลุมทั่วถึงนัก เมื่อคนไม่สามารถเดินทางออก จากบ้านได้ ธุรกิจจำนวนมากจึงได้ รับผลกระทบโดยตรง ไม่ว่าจะเป็น ธุรกิจร้านอาหาร ธุรกิจค้าขาย ธุรกิจ ท่องเที่ยว ฯลฯ ในช่วงไม่กี่เดือนที่ ผ่านมา บริษัทและห้างร้านจำนวนมาก ต้องทยอยปิดตัว และในยุคที่มีการเปลี่ยนแปลงทั้งสภาพแวดล้อม โรคอุบัติใหม่ และพฤติกรรมการใช้ชีวิตอย่างฉับพลัน ความหมายของ “New Normal เป็นการเรียนรู้วิถีชีวิตปกติรูปแบบใหม่เพื่อป้องกันตนเองและผู้อื่น คนที่ยังไม่ติดก็จะระวังตัว มีการใส่หน้ากากอนามัย ล้างมือให้ถูกต้อง ไม่เอามือไปสัมผัสบริเวณใบหน้า มีระยะห่างทางสังคม (Social Distancing) ใช้ชีวิตในพื้นที่ส่วนรวม มีระยะห่างประมาณ 2 เมตร สิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งสำคัญและจะเป็นมาตรฐานในการดำเนินชีวิตของเราไปอีกนาน หรืออาจเป็นพฤติกรรมที่ต้องทำตลอดไป เพื่อไม่ให้เกิดการแพร่ระบาดโรคทางเดินหายใจอื่นๆ ไม่เฉพาะโควิด-19 แม้ว่าสถานการณ์แพร่ระบาดโควิด-19 ในประเทศไทยจะควบคุมได้ดี ซึ่งอาจจะเกิดหลังจากที่เริ่มผ่อนปรนทุกอย่าง แล้วละเลยการป้องกันตนเอง ไม่ใส่หน้ากากอนามัย ไม่ล้างมือ เพราะจะมีกลุ่มหนึ่งที่ไม่มีใครทราบว่าอาจเป็นพาหะและมีเชื้ออยู่มากหรือน้อยทั้งในประเทศไทย หรือแม้กระทั่งต่างประเทศ ซึ่งคนกลุ่มนี้สามารถแพร่เชื้อให้คนอื่นได้เหมือนกัน หากเรายังปฏิบัติตามมาตรการการป้องกันเหมือนเดิม ก็จะช่วยยับยั้งการระบาดได้
Article Details
References
กรมควบคุมโรค.(2563). https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/index.php. สืบค้น
เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2563.
กรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม.(2558). รายงาน
สถานการณ์มลพิษของประเทศไทย ปี 2558. กรุงเทพฯ .บริษัท เท๊กซ์ แอน เจอร์นัล พับบลิเคชั่น จำกัด.
เจษฎา มีบุญลือ. (2553). เอกสารทางวิชาการ เรื่อง ความมั่นคงแห่งชาติ : การสร้างชาติไทย
ให้ยั่งยืน”.กรุงเทพฯ.ศูนย์ศึกษายุทธศาสตร์ สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ
บุญเติม แสงดิษฐ.(2559). คู่มือสร้างเสริมสุขภาพและวันสำคัญในการรณรงค์ส่งเสริมสุขภาพ
พิมพ์ครั้งที่ 2 กรุงเทพฯ : พลสยามปริ้นติ้ง.
ศิริวรรณ เสรีรัตน์และคณะ. (2541). การวิจัยธุรกิจ. กรุงเทพฯ: เพชรจรัสแสงแห่งโลก.
สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ. (2557).การขับเคลื่อน ธรรมนูญว่าด้วยระบบ
สุขภาพแห่งชาติ รากฐานการจัด วางอิฐก้อนแรกของระบบสุขภาพพึงประสงค์.
กรุงเทพฯ.บริษัท มาตา จำกัด.
สำนักข่าวไทยพีบีเอส. (2563). https://news.thaipbs.or.th/content/290365.สืบค้นเมื่อ
วันที่ 7 พฤษภาคม 2563.
กระทรวงอุตสาหกรรม.(2559). ยุทธศาสตร์การพัฒนาอุตสาหกรรมไทย 4.0 ระยะ 20 ปี
(พ.ศ. 2560-2579). กรุงเทพฯ. กระทรวงอุตสาหกรรม.
The Statista Portal.(2018). Natural disasters - statistics & facts”. (Online).
Available : http :www statista.com/topics/2155/natural-disasters/, 2018.