พระพุทธศาสนากับประชาธิปไตย

Main Article Content

พระอุดมปัญญาภรณ์

บทคัดย่อ

ประชาธิปไตยที่จะทำให้คนมีคุณภาพ พร้อมที่จะปกครองตนเอง หลักธรรมในทางพระพุทธศาสนา เป็นหลักประชาธิปไตย เพราะเป็นเรื่องของการพัฒนาคนให้มีคุณภาพและให้รู้จักปกครองตนเองได้ แต่จะต้องมองให้ถูกแง่และปฏิบัติให้ถูกตามหลักนั้น คือการที่จะนำหลักพระพุทธศาสนาเข้ามาใช้ในประชาธิปไตยคือว่าจะต้องนำธรรมมาใช้ให้ถูกต้องตามหลักธรรมที่ใช้ให้ถูกหลักก็คือ มองจากความรับผิดชอบของตน ว่าเป็นหลักที่ต้องปฏิบัติกันทุกคน ถึงแม้หลักธรรมอื่นๆ ก็เหมือนกัน เช่น ขันติ ความอดทนที่จะรับฟังความคิดเห็นของคนอื่น โสวจัสสตา ความเป็นผู้ว่าง่าย พูดกันง่าย หมายความว่า ยอมรับฟังเหตุผลความคิดเห็นของผู้อื่น เป็นต้น ถ้าเราทำได้อย่างนี้ ก็คือแนวทางแห่งประชาธิปไตย แต่ถ้าไปเรียกร้องสิ่งเหล่านี้จากผู้อื่น ก็เป็นลัทธิการปกครองที่ตรงกันข้าม ธรรมาธิปไตยคือ ถือธรรม ถือหลักการ เอาความถูกต้องเป็นประมาณ ถือตามความดีงาม นั่นคือการพิจารณาตัดสินด้วยสติปัญญา หมายความว่าให้แต่ละคนนี้ ถือหลักการพิจารณาตัดสินและกระทำการต่างๆด้วยอาศัยสติปัญญาบริสุทธิ์ พิจารณาว่าอะไรเป็นสิ่งที่ถูกต้องที่สุด ดีที่สุดเท่าที่มองเห็นด้วยการค้นคว้า รับฟัง แสวงหาความจริงอย่างถึงที่สุด ด้วยการคิดถึงที่สุดและอย่างจริงใจที่สุด เท่าไรก็เท่านั้น เช่น หลักกาลามสูตรก็อยู่ในข้อธรรมาธิปไตยนี้ ตามหลักนี้เมื่อมีการแสดงออก จะวินิจฉัยกระทำการอะไรต่างๆก็หมายความว่า เมื่อแต่ละคนมีแนวในการวินิจฉัยตัดสินความและกระทำการต่างๆ โดยยึดถือสติปัญญาที่วินิจฉัยโดยบริสุทธิ์ใจ มุ่งเอาความถูกต้องเป็นประมาณ หลักธรรมที่จะต้องพูดโดยตรงที่จะทำให้บุคคลปกครองตนเองได้ตามหลักของประชาธิปไตย


 

Article Details

บท
Articles

References

เกษฎา ผาทอง. (2559). ยุทธศาสตร์การพัฒนาประชาธิปไตยและกระบวนการประชา

สังคมไทย ภายใต้กระบวนทัศน์หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา. วารสารธรรม

ทรรศน์.16(2): กรกฎาคม-ตุลาคม, หน้า 263-264.

ทวีศักดิ์ ตั้งปฐมวงศ์. (2555). การเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475: การปฏิวัติที่ถูกนิยามใหม่

The Changing of the ruling in 1932 : The new definition revolution.

วารสารมหาวิทยาลัยมหาสารคาม. 31(3): พฤษภาคม-มิถุนายน, หน้า 39.

วิศิษฐ ทวีเศรษฐ, สุขุม นวลสกุลและวิทยา จิตนุพงศ์. (2554). การเมืองและการปกครอง

ไทย. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

สมปอง รักษาธรรม. (2552). ความตื่นตัวทางการเมืองของเยาวชนในพื้นที่ภาคใต้กับการ

พัฒนาวัฒนธรรม ทางการเมืองแบบประชาธิปไตยในประเทศไทยช่วงปี พ.ศ. 2549-

: ศึกษากรณีเปรียบเทียบนักศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา 5 จังหวัดภาคใต้. วิทยาลัยสื่อสารการเมือง: มหาวิทยาลัยเกริก.

สัญญา เคณาภูมิ. (2558). วิถีประชาธิปไตยของพลเมืองในระบอบประชาธิปไตย. วารสาร

วไลยอลงกรณ์ปริทัศน์. 5(2): กรกฎาคม-ธันวาคม, หน้า 195-196.

Bertrand, D. J. (1991). Defining and Measuring Political, In Democracy and

Human Rights in Developing Countries. London: Lynne Rienner.

Copelend, L. & Lawrence, L. (Eds.). (1985). The World’s Great Speeches.

(2nd ed.) New York:Dover.

Charnow, A. B. & Vallasi, G. A. (1993). “Democracy” in the Illustrated” The

Coliumbia Encyclopedia. (5th ed.). Edited by Babara A. Charnow, A.

and George Vallasi. Coliumbia: Coliumbia University.