รูปแบบการจัดการวัตถุดิบแบบครบวงจรของอาหารพื้นถิ่นเพื่อรองรับการท่องเที่ยวชุมชนบ้านโคกเมือง ตำบลจรเข้มาก อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์

Main Article Content

ปิติวรรณ ฝ้ายโคกสูง
วิษณุ ปัญญายงค์
คคนางค์ ช่อชู
จตุพัฒน์ สมัปปิโต
วณิชา แผลงรักษา

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพของแหล่งวัตถุดิบในชุมชนของอาหารพื้นถิ่น เพื่อศึกษาการบริหารจัดการของกลุ่มผู้ประกอบอาหารพื้นถิ่น และศึกษาแนวทางการเชื่อมโยงแหล่งวัตถุดิบอาหารพื้นถิ่นกับกลไกทางการตลาดในชุมชนบ้านโคกเมือง ตำบลจรเข้มาก อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์ กลุ่มเป้าหมายแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ซึ่งเป็นกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการจัดการแหล่งวัตถุดิบในชุมชนของอาหารพื้นถิ่นโดยตรง จำนวนทั้งสิ้น 210 คน และ กลุ่มผู้ประกอบอาหารพื้นถิ่น จำนวนทั้งสิ้น 22 คน เครื่องมือที่ใช้ แบบสำรวจข้อมูลและสัมภาษณ์ ผลการวิจัยพบว่าสภาพของแหล่งวัตถุดิบมี 3 แหล่ง ได้แก่ แหล่งอาหารธรรมชาติ แหล่งอาหารผลิตเอง และแหล่งอาหารซื้อขาย ผลการศึกษาบริหารจัดการของกลุ่มผู้ประกอบอาหารพื้นถิ่น พบว่ามีการบริหารจัดการ ทั้ง 6 ด้าน ได้แก่ การบริหารจัดการด้านคน บริหารจัดการด้านเงิน การบริหารจัดการด้านสินค้า การจัดการเครื่องมือ การบริหารจัดการวิธีการ การบริหารจัดการด้านตลาด และแนวทางการเชื่อมโยงแหล่งวัตถุดิบอาหารพื้นถิ่นกับกลไกทางการตลาดในชุมชนบ้านโคกเมือง การเชื่อมโยงของแหล่งวัตถุดิบในชุมชน เป็นลักษณะการพึ่งพาอาศัยกัน เป็นชุมชนที่ปลูกผักสวนครัวทุกครัวเรือน มีตลาดชุมชนเป็นศูนย์กลางในการซื้อขาย และตัวเชื่อมสินค้าไปหาผู้บริโภค ผู้ประกอบอาหาร และนักท่องเที่ยวที่เข้ามาท่องเที่ยวในชุมชนบ้านโคกเมือง โดยระบบงานเริ่มต้นตั้งแต่การวางแผนการเพาะปลูกชนิดพืชพันธุ์ วัตถุดิบ มีการสรุปยอดนักท่องเที่ยวเพื่อปลูกวัตถุดิบให้รองรับจำนวนนักท่องเที่ยว และประสานไปยังผู้ประกอบอาหาร ปฏิทินวัตถุดิบ ปฏิทินอาหารจากธรรมชาติ เพื่อสร้างจุดเด่นของวัฒนธรรมอาหารของชุมชนบ้านโคกเมืองให้มีความยั่งยืนต่อไป

Article Details

บท
Research Articles
Author Biographies

วิษณุ ปัญญายงค์, มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์

Buriram Rajabhat University

คคนางค์ ช่อชู, มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์

Buriram Rajabhat University

จตุพัฒน์ สมัปปิโต , มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์

Buriram Rajabhat University

วณิชา แผลงรักษา, มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์

Buriram Rajabhat University

References

กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ (2548) ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน โอกาสทางการค้าและการลงทุนของไทย. นนทบุรี: สำนักเอชียตะวันออก.

จอมขวัญ ชุมชาติ. (2558). ความมั่นคงทางอาหารของชุมชนโคกพะยอม ตำบลละงู อำเภอละงู จังหวัดสตูล. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. สงขลา

ทรงสิริ วิชิรานนท์ ทรงสิริ วิชิรานนท์, พจนีย์ บุญนา จงทิพย์ (2555). วิถีชีวิตและความมั่นคงทางอาหารท้องถิ่นใต้. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยแม่โจ้

ธนวรรธน์ พลวิชัย (2558, ธันวาคม 26) นับถอยหลัง AEC. ไทยรัฐ, หน้า 4.

ธิดา พาหอม. (2544). องค์การและการจัดการ. คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา

พัชนี นนทศักดิ์ (2557) การศึกษาภูมิปัญญาและวัฒนธรรมท้องถิ่น: การอนุรักษ์และพัฒนาข้าวหลามหนองมน. รายงานการวิจัย. มหาวิทยาลัยบูรพา

ไพรินทร์ ศรีราจักร์ (2555) ความคิดเห็นที่มีต่อบทบาทและสมรรถนะของผู้จัดการฝ่ายทรัพยากรมนุษย์เพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยบูรพา.

เยาวลักษณ์ เอกไพฑูรย์ (2562) โมเดลเชิงสาเหตุของส่วนประสมการตลาดบริการ และความเชื่อเรื่องสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่มีต่อความตั้งใจใช้บริการการท่องเที่ยวแบบดีงาม : กรณีศึกษาผู้สูงวัยในเขตกรุงเทพมหานคร.วารสารการจัดการธุรกิจ, 8(1), 81-94.

วิภาดา มุกดา (2557) แนวทางการบริหารจัดการของกลุ่มผู้ผลิตสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ จังหวัดตาก. SDU Res J.10 : Jan-Apr 2014

ศจินทร์ ประชาสันติ์ (2552) การพัฒนาดัชนีชี้วัดความมั่นคงทางอาหาร.กรุงเทพฯ: สำนักงาน คณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ.

ศิรินันท์ กิตติสุขสถิต (2555) คุณภาพชีวิตการทำงานและความสุข. สืบค้นเมื่อ 23 ธันวาคม 2563, สืบค้นจาก

http://www.happinometer.ipsr.mahidol.ac.th/pdf/EBOOKqwh.pdf.

องค์การบริหารส่วนตำบลจรเข้มาก (2560) แผนพัฒนาตำบลจรเข้มากสามปี [เอกสารสำเนา] บุรีรัมย์

องค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (2559) ความมั่นคงทางอาหาร. http://arm-mi-ta-put19.blogspot.com/2009/07/fao.html. (สืบค้นเมือ 17 พฤษภาคม 2563).

อังคณา มหายศนันท์. 2542. ความหลากหลายทางพืชอาหารและการใช้ประโยชน์ของชาวลัวะในจังหวัดน่าน. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

Department of Trade Negotiations, Ministry of Commerce (2005) ASEAN Economic Community Trade and investment opportunities in Thailand. Nonthaburi: Department of East Asian Affairsof East Asian Affairs.

Hall, C. M., & Mitchell, R (2000) We are what we eat. Food, Tourism and Globalization. Tourism, Culture and Communication, 2(1), 29-37

Yaowaluk Aekphitoon (2019) A Causal Model of Service Marketing Mix and Sanctity Belief on Purchase Intention of Well-Travel Services: A Case Study of the Aging in Bangkok. Burapha Journal of Business Management, Burapha University, (8)1. 81-84.