การพัฒนาความสามารถด้านการฟัง การพูดภาษาจีนและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โดยใช้วิธีการสอนแบบตอบสนองด้วยท่าทาง (Total Physical Response) ร่วมกับสื่อประสม ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5

Main Article Content

ฐิติพร แก้วดก
สมทรง สิทธิ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาความสามารถด้านการฟัง การพูดภาษาจีนโดยใช้วิธีการสอนแบบตอบสนองด้วยท่าทาง (TPR) ร่วมกับสื่อประสม ให้มีคะแนนเฉลี่ยตั้งแต่ร้อยละ 70 ขึ้นไปและมีนักเรียนผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70 ขึ้นไป จากจำนวนนักเรียนทั้งหมด 2) เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่เรียนด้วยการสอนแบบตอบสนองด้วยท่าทาง (TPR) ร่วมกับสื่อประสมหลังเรียนให้มีคะแนนเฉลี่ยตั้งแต่ร้อยละ 70 ขึ้นไปและมีนักเรียนทผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70 ขึ้นไป จากจำนวนนักเรียนทั้งหมด และ 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่มีต่อการเรียนรู้ด้วยการสอนวิธีการสอนแบบตอบสนองด้วยท่าทาง (TPR) ร่วมกับสื่อประสม กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5/1 โรงเรียนอนุบาลนครจัมปาศรี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 24 คน ผลการวิจัย พบว่า 1) ความสามารถด้านการฟังภาษาจีน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 หลังเรียนโดยใช้วิธีการสอนแบบตอบสนองด้วยท่าทาง (TPR) ร่วมกับสื่อประสม มีค่าเฉลี่ย 14.67 คิดเป็นร้อยละ 73.33 และมีจำนวนนักเรียนที่ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70 จำนวน 20 คน คิดเป็นร้อยละ 83.33 ของจำนวนนักเรียนทั้งหมด 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาจีน หลังเรียนโดยใช้วิธีการสอนแบบตอบสนองด้วยท่าทาง (TPR) ร่วมกับสื่อประสม มีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 22.88 คิดเป็นร้อยละ 76.25 และมีจำนวนนักเรียนที่ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70 จำนวน 20 คน คิดเป็นร้อยละ 87.50 ของจำนวนนักเรียนทั้งหมด 3) ความพึงพอใจ ของนักเรียนชั้นปรถมศึกษาปีที่ 5 ที่มีต่อการเรียนรู้ด้วยวิธีการสอนแบบตอบสนองด้วยท่าทาง (TPR) ร่วมกับสื่อประสม หลังจากได้รับการจัดการเรียนรู้ มีค่าเฉลี่ย () เท่ากับ 4.82 อยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่าทุกด้านมีความพึงพอใจระดับมากที่สุด โดยด้านการวัดประเมินผลมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.87 ด้านสื่อการเรียนการสอนมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.85 ด้านสื่อการเรียนการสอนมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.81 และด้านเนื้อหามีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 4.78

Article Details

บท
Research Articles
Author Biography

สมทรง สิทธิ, มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

North eastern University

References

เนธาน ซู. (2012). ความสำคัญของการศึกษาภาษาจีนกลางในประเทศไทย. สืบค้นเมื่อวันที่

สิงหาคม 2563.จาก https://www.gotoknow.org/posts/236881

พวงรัตน์ ทวีรัตน์. (2530). การสร้างและพัฒนาแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์.กรุงเทพฯ : สำนัก

ทดสอบทางการศึกษาและจิตวิทยา มหาวิทยาลยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร.

โรงเรียนอนุบาลนครจัมปาศรี. (2561). หลักสูตรสถานศึกษาสถานศึกษา โรงเรียนอนุบาล

นครจัมปาศรี. อำเภอนาดูน จังหวัดมหาสารคาม.

ศิริวรรณ มาลัย. (2549). การเปรียบเทียบความสามารถในการฟัง-พูด และความเชื่อมั่นใน

ตนเองต่อการใช้ภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยวิธีการสอบแบบ Total Physical Response (TPR) ประกอบสื่อในชีวิตประจำวันกับการสอนตามคู่มือครู. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2551). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง

กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษา

ขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551.กรุงเทพ ฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่ง ประเทศไทย.

สมสมร ที่ภูเวียง. (2552). ผลของการจัดการเรียนรู้แบบ CIRC ที่มีต่อความสามารถในการ

อ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจและความสามารถในการทำงานกลุ่มของนักเรียน

ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม.

สิริวิภา จอกลบ. (2553). ทักษะการฟังและการพูดภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษา

ปีที่ 2 ที่ได้รับการสอน แบบตอบสนองด้วยท่าทาง. ขอนแก่น :มหาวิทยาลัย

ขอนแก่น.

Asher, J. (1982). Learning Another Language Through Actions : The Complete

Teacher’s Guidebook. Los Gatos. Calif : Sky Oaks. Productions

Scott, A W., Ytreberg, HL. (1990). Teaching English to Children. New York.

Longman.