กาลมสูตรกับทางรอดของสังคมไทยในยุคออนไลน์

Main Article Content

ธำรงเกียรติ อุทัยสาง

บทคัดย่อ

หลักกาลามสูตร หรือหลักความเชื่อ 10 ประการ ในพระพุทธศาสนา ปรากฏในเกสปุตติสูตร ภัททิยสูตร และสาฬหสูตร ทั้งสามพระสูตร มีเนื้อหาใกล้เคียงกัน ดังข้อความที่พระพุทธเจ้าได้ทรงตรัสนำในเกสปุตติสูตรว่า“สมควรที่ท่านทั้งหลายสมควรที่จะสงสัย สมควรที่จะลังเลใจ ท่านทั้งหลายเกิดความสงสัยลังเลใจในฐานะที่ควรสงสัยอย่างแท้จริง” โดยมีเนื้อหาของหลักธรรม จำนวน 10 ข้อคือ 1) อย่าปลงใจเชื่อด้วยการฟังตามๆ กันมา 2) อย่าปลงใจเชื่อด้วยการถือสืบ ๆ กันมา 3) อย่าปลงใจเชื่อด้วยการเล่าลือ 4) อย่าปลงใจเชื่อด้วยการอ้างตำราหรือคัมภีร์ 5) อย่าปลงใจเชื่อเพราะตรรกะ 6) อย่าปลงใจเชื่อเพราะอนุมาน 7) อย่าปลงใจเชื่อด้วยการคิดไตร่ตรองตามแนวเหตุผล 8) อย่าปลงใจเชื่อเพราะเข้าได้กับทฤษฎีที่พินิจไว้แล้ว 9) อย่าปลงใจเชื่อเพราะมองเห็นรูปลักษณะน่าจะเป็นไปได้ 10) อย่าปลงใจเชื่อเพราะนับถือว่าท่านสมณะนี้เป็นครูของเรากาลามาสูตรสามารถใช้เป็นฐานะเครื่องมือตรวจสอบความจริงแบบพุทธ องค์ประกอบ 3 ประการ คือ (1) สิ่งนั้นต้องเป็นจริง (2) เราต้องเชื่อว่าสิ่งนั้นเป็นจริง (3) เราต้องมีหลักฐานยืนยันว่าสิ่งนั้นเป็นจริง มีการนำเอาหลักการ ปรโตโฆสะ คือ การฟังหรือรับรู้ข่าวสารใดๆจากผู้อื่น จากสื่อ การรับรู้รับฟังมาจากผู้อื่น พร้อมกับการใช้โยนิโสมนสิการ คือ แกนกลางสำคัญ ที่จะทำให้รับรู้ข่าวสารแยกแยะและคัดสรรเฉพาะปรโตโฆสะฝ่ายดีได้ โดยมีปัญญากำกับอย่างสมเหตุสมผล

Article Details

บท
Articles

References

ธนันต์ชัย พัฒนะสิงห์และคณะ. (2561). “กระบวนการสร้างความสัมพันธ์ในครอบครัวตามหลัก

พุทธธรรมเพื่อลดพฤติกรรมการสื่อสารโซเซียลเน็ตเวิร์ค”. รายงานวิจัย. สถาบันวิจัย

พุทธศาสตร์: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2555) พุทธธรรม ฉบับปรับขยาย. พิมพ์ครั้งที่ 34. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์ผลิธัมม์.

วริศ ข่ายสุวรรณ. พระมหาศิวกร ปญฺญาวชิโร. กรนิษฐ์ ชายป่า. (2562). “กาลามสูตร:หลักความ

เชื่อในยุคดิจิทัล”. วารสารบัณฑิตแสงโคมคำ. ปีที 4. ฉบับที่ 2. กรกฎาคม-ธันวาคม.

อลิชา ตรีโรจนานนท์. (2560). “การใช้กระบวนการทางปัญญาตามแนวพระพุทธศาสนาเพื่อการ

รู้เท่าทันสื่อของพระสงฆ์ไทย”.บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราช

วิทยาลัย.