การพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักพุทธธรรมของผู้ต้องขังในเรือนจำ

Main Article Content

วราพร องคะลอย

บทคัดย่อ

การนำหลักพุทธธรรมมาใช้ในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้ต้องขังนั้นการพัฒนาชีวิตตามหลักคำสอนของพระพุทธศาสนาที่เริ่มจากหลักของการศึกษาเพราะการภาวนาหรือการพัฒนานั้นแท้จริงก็คือสิ่งเดียวกับการศึกษาหรือสิกขา สิ่งที่ต้องศึกษาหรือสิ่งที่ต้องพัฒนา แยกออกไปเป็น 3 ด้าน คือพฤติกรรม จิตใจและปัญญา เรียกว่า “ไตรสิกขา” ประกอบด้วย ศีล คือ การควบคุมกาย และวาจานั้นถือว่าเป็นสิ่งสำคัญ สมาธิคือจิตมีอารมณ์เป็นหนึ่ง อยู่กับความว่างปราศจากกิเลส ผลการของการฝึกสมาธิมีผลตั้งแต่ระดับโลกิยะคือมีสมาธิในการทำงาน เรียนหนังสือ มีจิตจดจ่อกับการงานนั้นๆ มีจิตใจมั่นคงไม่ลุ่มหลงอบายมุข การพัฒนาปัญญา มีความสำคัญสูงสุดเพราะปัญญาเป็นตัวนำทางและควบคุมพฤติกรรมทั้งหมด คนเราจะมีพฤติกรรมอะไร อย่างไร และแค่ไหน ก็อยู่ที่ว่าจะมีปัญญาชี้นำหรือบอกทางให้เท่าใด และปัญญาเป็นตัวปลดปล่อยจิตใจ ให้ทางออกแก่จิตใจ เช่นเมื่อจิตใจอึดอัดมีปัญหาติดตันอยู่พอเกิดปัญญารู้ว่าจะทำอย่างไร จิตใจก็โล่งเป็นอิสระได้ แม้เป็นผู้กระทำผิดก็ยังมีสิทธิได้รับสวัสดิการในระดับหนึ่งตามสิทธิขั้นพื้นฐานแห่งรัฐ ตามหลักสิทธิมนุษยชน เช่น การคุ้มครองให้ผู้ต้องขังมีสิทธิในการติดต่อสื่อสารและได้รับการเยี่ยมจากบุคคลภายนอกสิทธิในการนับถือศาสนาสิทธิการได้รับอาหาร เสื้อผ้า ที่จำเป็นต่อการยังชีพ   

Article Details

บท
Articles

References

สัญญา สัญญาวิวัฒน์. (2533). ทฤษฎีสังคมวิทยา เนื้อหาและแนวการใช้เบื้องต้น. กรุงเทพฯ:

เจ้าพระยาการพิมพ์.

พระธรรมปิฎก. (2541). การศึกษาทางเลือก: สู่วิวัฒน์หรือวิบัติในยุคโลกไร้พรหมแดน.กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

บุญทัน ดอกไธสง. (2551). การจัดการทุนมนุษย์. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ตะวัน.

สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ. (2516). จามเทวีวงศ์ พงศาวดารเมืองหริภุญไชย. พระนคร : ห้างหุ้นส่วนจำกัดบรรณกิจเทรดดิ้ง.

พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต). (2537). การพัฒนาที่ยั่งยืน. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มูลนิธิพุทธธรรม.

พิรญาณ์ โคตรชมภู. (2661).“การพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้ต้องขังเชิงพุทธบูรณาการ”.บัณฑิตวิทยาลัย:

มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.