การบริหารจัดการระบบนิเวศเชิงพุทธในสังคมไทย

Main Article Content

มาลินี เกลี้ยงล่ำ

บทคัดย่อ

การบริหารจัดการระบบนิเวศน์เชิงพุทธในสังคมไทยนำพระพุทธเจ้าทรงใช้สิ่งแวดล้อมตามธรรมชาติเป็นอุปกรณ์ในการสอนธรรมธรรมชาติและต้นไม้นั้นเป็นตัวอย่างในการใช้สอนธรรมะได้เป็นอย่างดีทั้งนี้เพราะธรรมชาติปราศจากมายาสามารถเปิดเผยให้เห็นความเป็นจริงได้รวดเร็ว เพราะพระพุทธศาสนามีความสัมพันธ์กับธรรมชาติอย่างใกล้ชิดนั้นมีเหตุผล เนื่องจากพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาที่มีความสัมพันธ์กับธรรมชาติ โดยที่ สิ่งทั้งหลายทั้งปวงเป็นธรรมชาติที่มีอยู่และเป็นไปตามธรรมดาในระบบความสัมพันธ์แห่งเหตุปัจจัย  และมนุษย์ก็เป็นส่วนหนึ่งในระบบความสัมพันธ์แห่งเหตุปัจจัยนั้น ชีวิตและการกระทำของมนุษย์ย่อมเป็นไปตามระดับความสัมพันธ์แห่งเหตุปัจจัย และทำให้เกิดผลตามระบบเหตุปัจจัยนั้นด้วยการทำให้คนสามารถทำ ให้ความขัดแย้งมีความหมายเป็นความประสานเสริม กลมกลืนซึ่งกันและกัน ทำให้เกิดความสมบูรณ์และดุลภาพ ซึ่งความสามารถของมนุษย์ที่พัฒนาแล้วจะประยุกต์เข้ากับปัญหาสภาพแวดล้อมทั้งหมดได้ ระบบการพัฒนาเศรษฐกิจ (Economic development)  ซึ่งท่านใช้คำว่าพัฒนา โดยมีการนำวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเข้ามาเป็นเครื่องมือในการพัฒนาเศรษฐกิจ เพื่อสนองความมุ่งหมายทางเศรษฐกิจ ด้วยการดำเนินการเชื่อมโยงกับการพัฒนามนุษย์ (Human   development) ระบบการพัฒนาคน ซึ่งท่านใช้คำว่า ภาวนา โดยการพัฒนาคนให้ครบทั้ง 3 ด้าน คือ ด้านพฤติกรรม ด้านจิตใจและด้านปัญญา การนำเอาปัญญา (Wisdom) กับศีล (Ethics) มาประสานกัน โดยมีจิตใจ (Mental qualities) เป็นตัวเชื่อม ซึ่งจะนำไปสู่การสร้างจริยธรรม (พระธรรมปิฎก ระบบการพัฒนาสิ่งแวดล้อม ซึ่งมีปัญหาที่เกิดจากปัจจัยสำคัญอันได้แก่ เรื่องประชากร ความร่อยหรอของทรัพยากรและเรื่องมลภาวะ  


 

Article Details

บท
Articles

References

จิรกิตต์ภณ พิริยสุวัฒน์ และคณะ. (2561). ข้าวบรมสุข.เลย: โรงพิมพ์บ้านนาอ้อหน้า.

พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต). (2546).พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม. กรุงเทพฯ: , มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. แผนพัฒนาเศรษฐกิจและ

สังคมแห่งชาติ ฉบับที่สิบสอง พ.ศ.2560–2564. กรุงเทพฯ: สำนักงาน คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี.